รีเซต

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (26 พ.ค. 2565)

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (26 พ.ค. 2565)
TeaC
26 พฤษภาคม 2565 ( 11:39 )
135
เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (26 พ.ค. 2565)

ข่าววันนี้ สถานการณ์วิกฤต "รัสเซียยูเครน" ล่าสุด ประธานาธิบดี “เซเลนสกี” ไม่พอใจแนวคิดให้ยูเครนยอมเสียดินแดนเพื่อยุติปฏิบัติการรัสเซีย ระบุ ทำให้หวนนึกถึงการยอมจำนนต่อนาซีเยอรมนี ด้านรัสเซียระบุ แผนสันติภาพที่เสนอโดยอิตาลี เป็นเรื่องเพ้อฝัน อ่าน : เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (25 พ.ค.2565)

 

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (26 พ.ค.2565)

 

ประธานาธิบดี “เซเลนสกี” ไม่พอใจแนวคิดให้ยูเครนยอมเสียดินแดนเพื่อยุติปฏิบัติการรัสเซีย ระบุ ทำให้หวนนึกถึงการยอมจำนนต่อนาซีเยอรมนี ด้านรัสเซียระบุ แผนสันติภาพที่เสนอโดยอิตาลี เป็นเรื่องเพ้อฝัน

 
ประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวเมื่อวานนี้ (25 พฤษภาคม) แสดงความไม่พอใจแนวคิดที่เสนอให้ยูเครนยอมเสียดินแดนบางส่วนและยอมสูญเสียสิ่งอื่น ๆ เพื่อแลกกับการให้รัสเซียยอมยุติปฏิบัติการในยูเครน
 
 
เซเลนสกีกล่าวว่า แนวคิดเช่นนั้น ทำให้หวนคิดถึงความเจ็บปวดในการพยายามเอาอกเอาใจนาซีเยอรมนีเมื่อปี 1938 ทั้งนี้ ความไม่พอใจของผู้นำยูเครนเกิดขึ้น หลังจากเริ่มมีความเห็นเซ็งแซ่ขึ้น เสนอให้ยูเครนต้องยอมสูญเสียดินแดน
 
 
โดยบทบรรณาธิการใน New York Times เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เขียนว่า ในการเจรจาสันติภาพนั้น ยูเครนอาจจำเป็นต้องกระทำการตัดสินใจที่ยากลำบากมาก ถ้าหากว่า ยูเครนไม่ได้ชัยชนะทางทหารอย่างเด็ดขาด และโอกาสที่ยูเครนจะชนะปฏิบัติการของรัสเซียนั้น ก็ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
 
ส่วน เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เพิ่งกล่าวที่การประชุม เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัมที่เมืองดาวอสในสัปดาห์นี้ว่า ยูเครนควรยอมให้รัสเซียยึดไครเมียต่อไป หลังรัสเซียผนวกไครเมียไปจากยูเครนตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อน
 
 
ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน กล่าวตอบโต้ทั้ง New York Times และคิสซิงเจอร์ว่า ทั้งคู่อาจคิดว่ายังอยู่ในปี 1938 แต่นี่คือปี 2022
 
 
ทั้งนี้ ในปี 1938 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนี ลงนามข้อตกลงในเมืองมิวนิกของเยอรมนี ยอมให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการนาซี เข้าไปในประเทศเชคโกสโลวะเกียในขณะนั้นได้ หลังจากล้มเหลวในการชักจูงฮิตเลอร์ ให้ละทิ้งความต้องการขยายดินแดน
 

ก่อนหน้านั้น อิตาลีและฮังการีได้ร่วมกันเรียกร้องให้สหภาพยุโรป หรือ อียู เปิดเจรจาสันติภาพกับรัสเซียอย่างไม่อ้อมค้อม และให้หยุดยิงในยูเครน ทำให้ขณะนี้ทั้ง 2 ประเทศกำลังขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในอียู ที่ล้วนแต่ต้องการให้ใช้ไม้แข็งกับรัสเซีย 
นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ลุยจี ดี ไมโอ รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี ได้เสนอแผนสันติภาพแบบกว้าง ๆ แต่รัสเซียระบุเมื่อวันอังคาร (24 พฤษภาคม) ว่า ยังไม่ได้เห็นแผนสันติภาพของอิตาลี แต่ทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียระบุว่า แผนสันติภาพที่อิตาลีเสนอดังกล่าว เป็นเรื่องเพ้อฝัน 
 

พร้อมกล่าวว่า คุณไม่อาจทำเช่นนี้ได้ คือ มือหนึ่งส่งอาวุธให้ยูเครน ส่วนอีกมือหนึ่งเสนอแผนสันติภาพแก้ไขปัญหาอย่างสันติ และถ้าคิดว่า รัสเซียจะยอมรับแผนสันติภาพที่ฝ่ายตะวันตกเสนอมา ก็แสดงว่าตะวันตกไม่เข้าใจอะไรเลย 
 

ด้าน โอเลคซี อเรสโตวิช ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเซเลนสกี กล่าวหาประเทศยุโรปบางประเทศ แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้ยูเครนยอมตามความต้องการของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แต่ยูเครนจะไม่ยอมเสียอธิปไตยหรือดินแดนแม้แต่มิลลิเมตรเดียว
 

เสียงความเห็นที่ดังขึ้นให้ยูเครนยอมสละดินแดนนี้ เกิดขึ้นในขณะที่สถานการณ์ล่าสุดในยูเครน ทหารยูเครนกำลังถูกโจมตีครั้งใหม่ใน 2 จังหวัดทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งกลุ่มแบ่งแยกดินแดนยูเครนที่นิยมรัสเซีย ยึดครองพื้นที่บางส่วนตั้งแต่ปี 2014 และประกาศเอกราชจากยูเครนไปแล้ว
 
 
 
ข้อมูลจาก TNN World
ภาพ Reuters
 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง