คลายข้อสงสัย! ทำไมต้องลงทะเบียน www.ไทยชนะ.com

คลายข้อสงสัย! ทำไมต้องลงทะเบียน www.ไทยชนะ.com ถาม-ตอบ “คลายข้อสงสัย” ทำไมต้องลงทะเบียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่วันนี้ (17พ.ค.63) เป็นวันแรกของการเปิดให้ร้านค้าทั่วประเทศ ทำ การลงทะเบียน www.ไทยชนะ.com หลังได้รับการผ่อนคลายล็อกดาวน์ หรือ ผ่อนปรนมาตรการตามพรก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ในประเทศไทย ทาง www.ไทยชนะ.com จึงได้เปิดหน้า “คำถามที่พบบ่อย” เพื่อถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ต่างๆเกี่ยวกับการลงทะเบียน สำหรับกิจกรรม/กิจการ และ ผู้ใช้บริการ โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กิจกรรม/กิจการ และ ผู้ใช้บริการ
โดยในส่วนของ กิจกรรม/กิจการ
ถาม : ทำไมร้านค้าจึงต้องลงทะเบียน ร้านค้าที่ไม่ลงทะเรีบนจะเปิดบริการได้หรือไม่
ตอบ : ผู้ใช้บริการจะมีความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยของร้านค้าที่มีการลงทะเบียนและปฎิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
ถาม : ทำไมร้านค้า ห้างร้านต้องเข้ามาตรการนี้
ตอบ : เป็นการสร้างมาตรฐานสุขอนามัยและความน่าเชื่อถือให้กับกิจการ/กิจกรรมนั้น ๆ ว่ามีความปลอดภัยต่อการเข้าใช้บริการของลูกค้า ซึ่งทำให้กิจการ/กิจกรรมนั้น ๆ สามารถกลับเข้าสู่การทำธุรกิจแบบปกติได้เร็วขึ้น
ถาม : เบอร์มือถือ 1 เครื่อง สามารถลงทะเบียนได้กี่คน
ตอบ : เบอร์โทรศัพท์มือถือ 1 เบอร์สามารถลงทะเบียนได้ 1 ร้านค้า/สาขา (1 ร้านค้า ต่อ 1 เบอร์ ต่อ 1 QR)
ถาม : ถ้าร้านค้ามีหลายสาขา ต้องลงทะเบียนทุกสาขาหรือไม่ แล้วการประเมิน Rating ผลประเมินรวมหรือแยก
ตอบ : กรณีร้านค้ามีหลายสาขา ให้ตัวแทนเจ้าของกิจการที่ดูแลร้านเป็นผู้ลงทะเบียน และการประเมินแยกรายสาขาตาม QR ที่แสดงไว้ ณ สาขานั้นๆ
ถาม : ใบรับรองการประเมินตามมาตรการมีหลักเกณฑ์การทบททวนคุณภาพอย่างไร
ตอบ : ผู้ที่มาใช้บริการร้านค้าจะเป็นผู้ประเมินคุณภาพของกิจการผ่านแบบประเมินหลังการ check-out
ถาม : ร้านค้าสามารถตรวจสอบมาตรฐานจาก Rating ของลูกค้าจากที่ไหน
ตอบ : กิจการสามารถตรวจสอบ Rating ได้จาก website ที่ใช้ลงทะเบียน (www.ไทยชนะ.com) โดยให้คลิ๊กปุ่ม “ค้นหาร้านค้า”
ในส่วนของ “ผู้ใช้บริการ”
ถาม : ประชาชนสามารถเช็คเรตติ้งของร้านค้าที่จะไปใช้บริการได้ Real Time หรือไม่
ตอบ : ประชาชนสามารถตรวจสอบ rating ได้จาก website www.ไทยชนะ.com โดยให้คลิ๊กปุ่ม “ค้นหาร้านค้า”
ถาม : ถ้ากิจกรรม/กิจการ ไม่ให้ผู้เข้ารับบริการ Check in – out ได้หรือไม่
ตอบ : ไม่ควรกระทำ และสถานประกอบการควรให้ผู้มาใช้บริการ check in/check out ทุกคน เนื่องจาก หากกิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรการแล้ว อาจเกิดกรณีที่มีผู้ติดเชื้อเข้ามาใช้บริการ สถานประกอบการจะได้ทราบทันทีและทำความสะอาดร้าน/สถานที่ ให้ถูกสุขอนามัย
ถาม : ผู้เข้าใช้บริการ Check in แต่ไม่ Check out จะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ : กิจการ/กิจกรรมนั้น ๆ จะมียอดสะสมของผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งอาจเกินกว่ากำหนด ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการหนาแน่นได้ ซึ่งนำไปสู่การไม่อนุญาตให้เปิดบริการได้
ถาม : หากผู้ใช้บริการไม่มีเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ Check in/Check out สถานที่ให้บริการควรทำอย่างไร
ตอบ : กิจการจะต้องขอจดบันทึกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ของผู้เข้าใช้บริการที่สถานประกอบการหากลูกค้าไม่มี smartphone
ถาม : การบันทึกข้อมูล CHeck in – out ของผู้เข้าใช้บริการ ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
ตอบ : ข้อมูลที่ถูกเก็บของผู้เข้าใช้บริการจะเป็นข้อมูลแบบมีรหัส ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานและผู้ได้รับอนุญาติเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ อีกทั้งได้กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียง 60 วัน