รีเซต

ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐร่วง แต่จีนขึ้นต่อ

ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐร่วง แต่จีนขึ้นต่อ
ทันหุ้น
2 กรกฎาคม 2567 ( 14:46 )
22

#PMI #ทันหุ้น - บล.บัวหลวงออกบทวิเคราะห์ระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ยังอยู่ในโซนหดตัวและปรับตัวลงมาที่ 48.5 ในเดือนมิถุนายน จาก 48.7 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 49.1 โดยมาจากดัชนีการผลิต (48.5 เทียบกับ 50.2) และการจ้างงาน (49.3 เทียบกับ 51.1) ที่ปรับตัวลงแรงมาอยู่ในโซนหดตัว ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลัง (45.4 เทียบกับ 47.9) และยอดคำสั่งซื้อที่ยังไม่ได้ดำเนินการ (41.7เทียบกับ 42.4) ที่อยู่ในโซนหดตัวก็ปรับตัวลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวขึ้น แต่ยังอยู่ในโซนหดตัว (49.3 เทียบกับ 45.4) และแรงกดดันด้านราคาเริ่มผ่อนคลายลง (52.1 เทียบกับ 57)

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้น นำโดยหุ้นขนาดใหญ่อย่าง Apple และ Tesla ส่งผลให้ Nasdaq ซึ่งเป็นดัชนีที่มีหุ้นเทคโนโลยีมากปรับตัวขึ้นแรง ทั้งนี้นักลงทุนยังรอข้อมูลตลาดแรงงานของสหรัฐฯ

 

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปิดที่ 4.469% ปรับตัวขึ้นจาก 4.392%เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

 

ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น เนื่องจากตลาดคาดว่าความต้องการที่พีคในฤดูขับขี่ จะทำให้เกิดการขาดแคลนอุปทาน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 1.42ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลไปอยู่ที่ 86.31 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

 

ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน Caixin ปรับตัวขึ้นเป็น 51.8ในเดือนมิถุนายนจาก 51.7 ในดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 51.2 และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 และถือเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่แปด โดยดัชนีการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่แตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี ระดับการซื้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 3 ปี และดัชนียอดคำสั่งซื้อที่ยังไม่ได้ดำเนินการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ยอดขายต่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 6 เดือน การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานยังคงที่

 

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 36.4 ในเดือนมิถุนายน จาก 36.2 ในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับที่ตลาคดคาด ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโตของรายได้และความเต็มใจในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ในด้านการจ้างงานและความเป็นอยู่โดยรวมปรับตัวลงเล็กน้อย

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง