รีเซต

โควิด-19 พ่นพิษ! เด็กหลุดนอกระบบการศึกษากว่า 3,000 คน

โควิด-19 พ่นพิษ! เด็กหลุดนอกระบบการศึกษากว่า 3,000 คน
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2563 ( 19:39 )
405
1

วันนี้ (22 มิ.ย.63) สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และธนาคารโลกประจำสำนักงานประเทศไทยจัดเวทีเสวนา “จับชีพจรความเสมอภาครับเปิดเทอมสู้วิกฤตให้น้องได้กลับโรงเรียน”

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรงเรียนต้องปิดเทอมยาวนานขึ้นกว่าปกติ สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลให้เด็กนักเรียนยากจนพิเศษ ต้องประสบปัญหาทุพโภชนาการ เพราะอาหารกลางวันที่โรงเรียนถือเป็นมื้อสำคัญ ซึ่งช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา กสศ.ได้จัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือค่าอาหารให้นักเรียนทุนเสมอภาคให้สามารถสู้วิกฤตให้น้องอิ่มท้อง ในช่วงการเลื่อนเปิดเทอมไปแล้วจำนวนกว่า  7 แสนคน ในสถานศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสถานศึกษา 3 ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

แต่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ในวันที่ 1 กรกฏาคมนี้ มีนักเรียนยากจนพิเศษ จำนวน 3,180 คน ที่ยังไม่ได้สมัครเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน ร้อยละ  57 ไม่มีค่าที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ร้อยละ 10 มีปัญหาทางการเรียน ครอบครัว สุขภาพ และขาดแคลนทุนทรัพย์ ร้อยละ 31 ไม่มีค่าเดินทางไปสมัครเรียน ร้อยละ 2 พ่อแม่ขาดรายได้ และขาดทุนทรัพย์ โดยตัวเลข 3,000 กว่าคน เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ยังมีเด็กเยาวชนจำนวนมากที่อาจหลุดออกจากระบบการศึกษาในช่วงต้นปีการศึกษานี้ด้วยผลกระทบจากโควิด-19 

และในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กสศ.ยังได้จัดทำโครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ แบบมีเงื่อนไขต่อเนื่อง  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนต้น ในสังกัด สพฐ. อปท.และตชด. ทั่วประเทศ โดยมอบอุดหนุนเงินเพิ่มเติมให้กับเด็กยากจนพิเศษ จำนวนกว่า 7 แสนคน ในภาคเรียนที่ 1 เดือนกรกฏาคมนี้ จำนวนเงิน 1,400 ล้านบาท เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19  

ขณะที่ ดร.ชนะ สุ่มมาตย์ ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สพฐ. กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า เด็กประสบปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น ทาง สพฐ.สร้างหลักสูตร เพื่ออบรมครูประจำชั้นให้เป็นนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน เนื่องจากมีความใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด โดยให้นำหลักจิตวิทยาดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียน และให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา พัฒนาอารมณ์ สติปัญญา และสามารถให้การคุ้มครองช่วยเหลือเด็กนักเรียนในภาวะวิกฤติรุนแรงได้  

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง