รีเซต

จีนเตรียมใช้เรดาร์ตรวจสอบความอันตรายของดาวเคราะห์น้อย

จีนเตรียมใช้เรดาร์ตรวจสอบความอันตรายของดาวเคราะห์น้อย
TNN ช่อง16
19 กรกฎาคม 2565 ( 10:00 )
66

สถาบันเทคโนโลยีแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Technology) ได้เริ่มโครงการไชน่า ฟูยา (China Fuya) หรือคอมพาวด์ อาย (Compound Eye) ด้วยการสร้างเสาสัญญาณเรดาร์มากกว่า 20 ต้น ซึ่งสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลมากถึง 93 ล้านไมล์ หรือราว 150 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ 


เสาสัญญาณจะทำการส่งสัญญาณไปตกกระทบบนผิวดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ในระยะเรดาร์ เพื่อให้สัญญาณสะท้อนกลับมายังโลก โดยข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ก็คือ ระยะห่างระหว่างโลกและดาวเคราะห์น้อยดวงนั้น พร้อมกับขนาดของดาวเคราะห์น้อย หลังจากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาทำการสร้างแผนที่ ติดตามการเคลื่อนที่ และคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการพุ่งชนโลก พร้อมระบุระดับความอันตราย


ปัจจุบันได้มีการสร้างเสาสัญญาณจำนวน 2 ต้น แล้ว ที่นครฉงชิ่ง (Chongqing) ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยมีรายงานจากไซแอ้น แอนด์ เทคโนโลยี ไดอารี (Science and Technology Daily) ว่าเสาสัญญาณคู่นี้จะได้รับการทดสอบและคาดว่าน่าจะพร้อมใช้งานในเดือนกันยายน 2022 ที่จะถึงนี้


ลอง เทง (Long Teng) ประธานสถาบันเทคโนโลยีแห่งปักกิ่งกล่าวกับสำนักข่าวโกลบอล ทามส์ (Global Times) ของปักกิ่ง ว่าโครงการจะเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศในด้านความสามารถในการป้องกันภัยใกล้โลกและการตรวจจับอวกาศ ตลอดจนการศึกษาแนวชายแดนเกี่ยวกับการก่อตัวของดาวเคราะห์น้อย  นอกจากนี้ ระบบยังสามารถนำไปใช้ในการติดตามดาวเทียมและเศษซากในวงโคจรของโลกได้อีกด้วย


อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่าระบบนี้จะมีเสาสัญญาณทั้งหมดมากกว่า 20 ต้น โดยแต่ละต้นจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 82-98 ฟุต หรือ 25-30 เมตร ซึ่งคาดว่านี่จะเป็นระบบเรดาร์ที่สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลที่สุดในโลก


โดยการสำรวจจากสถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. National Academies of Sciences, Engineering and Medicine) พบว่าเรดาร์ภาคพื้นดินอาจเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับมนุษยชาติการปกป้องโลกจากภัยดาวเคราะห์น้อย


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก pixabay.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง