รีเซต

Into the past (8ส.ค.) : อาเซียน ก่อตั้งที่กรุงเทพฯ , Graf Zeppelin เริ่มบินรอบโลก

Into the past (8ส.ค.) : อาเซียน ก่อตั้งที่กรุงเทพฯ  , Graf Zeppelin เริ่มบินรอบโลก
TrueID
4 สิงหาคม 2563 ( 07:07 )
468

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ (8ส.ค.) กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

 

Into the past : ประเทศไทย

 

พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานคร

 

 

ภาพประกอบจาก : AFP

 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510.

 

 

 

=====

 

 

Into the past : รอบโลก

 

พ.ศ. 2472 (ค.ศ.1929) - เรือเหาะเยอรมัน Graf Zeppelin เริ่มบินรอบโลก

 

 

ภาพประกอบจาก: AFP

 

 

เรือเหาะกราฟ เซ็พเพอลีน (Graf Zeppelin) สร้างขึ้นตามคำสั่งของด็อกเตอร์ฮูโก เอ็กเคนเนอร์ ผู้จัดการบริษัท ลุฟชิฟบาว เซ็พเพอลีน โดยในช่วงเริ่มแรกบริษัทได้ขอทุนสร้างจากรัฐบาลสาธารณรัฐไวมาร์แต่ถูกปฏิเสธ เอ็กเคนเนอร์จึงหันไประดมเงินทุนจากผู้ลงทุนทั่วประเทศเยอรมนี เขายังรับหน้าที่เป็นผู้บังคับการเรือเหาะในการเดินทางครั้งสำคัญหลายครั้ง เรือเหาะมีขนาดความยาว 236.53 เมตร (776 ฟุต) เส้นผ่านศูนย์กลาง 30.48 เมตร (100 ฟุต) มีปริมาตร 105,000 ลบ.ม. ภายในบรรจุก๊าซไฮโดรเจน ใช้เครื่องยนต์มายบาคขนาด 550 แรงม้า 5 เครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ 128 กิโลเมตร/ชั่วโมง

 

ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุของเอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค(Hindenburg) ในปี ค.ศ. 1937 เรือเหาะไฮโดรเจนทุกลำของบริษัทไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์อีกเลย เนื่องจากผู้โดยสารไม่มั่นใจในความปลอดภัย หลังจากปลดประจำการกราฟ เซ็พเพอลีนถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ และถูกรื้อถอนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ตามคำสั่งของแฮร์มันน์ เกอริง พร้อมกับเอ็ลเซ็ท 130 กราฟ เซ็พเพอลีน 2 เพื่อนำวัสดุไปใช้สร้างเครื่องบินรบใช้งานในสงครามโลกครั้งที่สอง.

 

 

 

=====

 

 

 

 

 

 

 

Into the past : เรื่องราวในวันวาน 7 สิงหาคม

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข้อมูล : wikipedia , history

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง