รีเซต

เปรียบเทียบเที่ยวบินอวกาศ จากบริษัทเอกชน 3 แห่ง

เปรียบเทียบเที่ยวบินอวกาศ จากบริษัทเอกชน 3 แห่ง
TNN ช่อง16
4 พฤศจิกายน 2565 ( 11:35 )
61
เปรียบเทียบเที่ยวบินอวกาศ จากบริษัทเอกชน 3 แห่ง

เพียงแค่มีเงินทุนมากพอ ใคร ๆ ก็สามารถเดินทางไปท่องอวกาศได้แล้ว โดย 3 บริษัท ที่เปิดให้บริการเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ ได้แก่ บลู ออริจิ้น (Blue Origin), เวอร์จิ้น กาแลคติก (Virgin Galactic) และสเปซเอ็กซ์ (SpaceX)

บลู ออริจิ้น (Blue Origin) 

บริษัทที่ก่อตั้งโดยเจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ซีอีโอของแอมะซอน (Amazon) ซึ่งเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ของบลู ออริจิ้นใช้เวลาประมาณ 10 นาที ดำเนินการด้วยจรวดนิวเชพเพิด (New Shepard) ที่มีส่วนหัวของจรวดเป็นแคปซูลห้องโดยสารขนาด 6 ที่นั่ง 


โดยสิ่งที่ผู้โดยสารจะได้รับก่อนเที่ยวบินก็คือ การฝึก 2 วัน, ทริปสำรวจจรวดนิวเชพเพิด, สัมผัสประสบการณ์ปล่อยตัวแบบจำลอง และบทเรียนการปฏิบัติตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงต่ำ มีราคาต่อเที่ยวบินที่ 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 พันล้านบาท


เวอร์จิ้น กาแลคติก (Virgin Galactic) 

บริษัทที่ก่อตั้งโดยริชาร์ด แบรนสัน (Richard Branson) ซึ่งเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ของเวอร์จิ้น กาแลคติกใช้เวลา1 ชั่วโมง 30 นาที และบินสูงที่สุดเหนือพื้นดินในระยะ 53 ไมล์ หรือประมาณ 85 กิโลเมตร ด้วยเครื่องบินยานกึ่งยานอวกาศวีเอสเอส ยูนิตี้ (VSS Unity) ที่บินในลักษณะพาราโบลิก (Parabolic) ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสัมผัสกับแรงโน้มถ่วงต่ำเป็นเวลา 4 นาที ในจุดต่ำสุดของพาราโบลิก


โดยสิ่งที่ผู้โดยสารจะได้รับก่อนเที่ยวบินก็คือ การฝึก 1 ปี และชุดผู้โดยสารและรองเท้าจากอันเดอร์ อาร์เมอร์ (Under Armour) มีราคาต่อเที่ยวบินที่ 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 17 ล้านบาท


สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) 

บริษัทที่ก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอของเทสลา (Tesla) ซึ่งเที่ยวบินอวกาศเชิงพาณิชย์ของสเปซเอ็กซ์ใช้เวลา 3 วัน ดำเนินการด้วยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) และยานดรากอน (Dragon) ขนาด 3 ที่นั่ง


โดยสิ่งที่ผู้โดยสารจะได้รับก่อนเที่ยวบินก็คือ การฝึก 6 เดือน มีราคาต่อเที่ยวบินที่ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 พันล้านบาท


สำหรับข้อแตกต่างของทั้ง 3 บริษัท ก็คือ เที่ยวบินของบลู ออริจิ้นและเวอร์จิ้น กาแลคติกเป็นลักษณะเพื่อการท่องเที่ยวอวกาศระดับต่ำกว่าวงโคจร ส่วนของสเปซเอ็กซ์เป็นระดับวงโคจรรอบโลก ยานสามารถเทียบท่าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้


ข้อมูลจาก www.afar.com

ภาพจาก  gettyimage.com และ unsplash.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง