ลาออกจากงาน (ม.33) ต้องการรักษาสิทธิ ผู้ประกันตนต้องทำอย่างไร?
NewsReporter
24 พฤศจิกายน 2565 ( 11:45 )
156
ลาออกจากงาน (ม.33) ต้องการรักษาสิทธิ ผู้ประกันตนต้องทำอย่างไร? หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 วันนี้เราไปดูกันว่าต้องทำอย่างไรหากลาออกจากผู้ประกันตนมาตรา 33
ลาออกจากงาน (ม.33) ต้องการรักษาสิทธิ ผู้ประกันตนต้องทำอย่างไร?
อันดับแรกผู้ประกันตนที่ลาออกจาก ม.33 ต้องสมัครมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง เพื่อรักษาสิทธิ 6 กรณี
Getty / Tanaonte
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิ
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน (นับเงินสมทบทุกครั้งของการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 ในระบบประกันสังคมรวมกันจะทำงานกับนายจ้างกี่บริษัทก็ตาม)
- ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
สิทธิที่จะได้รับ จะได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีเสียชีวิต
- กรณีสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ
เอกสารการสมัคร
- แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
- บัตรประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้
- กรณีต้องการนำส่งเงินสมทบหักผ่านบัญชีธนาคารให้ถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี ของผู้ประกันตน
การยื่นใบสมัคร
- ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
- สถานที่ยื่นใบสมัคร ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<