รีเซต

ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง

ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง
TNN ช่อง16
15 พฤษภาคม 2567 ( 15:40 )
62

เป็นเรื่องที่น่าตกใจและหดหู่ใจ สำหรับประเด็นที่ญี่ปุ่นนั้นมีอัตราบ้านร้างมากถึง “9 ล้านหลัง” ในปี 2024 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต


สถิติของกระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารแห่งญี่ปุ่น ที่ทำการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน จนถึงปี 2018 ชี้ชัดว่า ภายหลังช่วงสงคราม (Postwar Era) จำนวนบ้านร้างของญี่ปุ่น มีอัตราที่พุ่งทะยานขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด 


บ้านร้างทะยานจากอัตราร้อยละ 7.6 ในช่วงปี 1978 สู่อัตราร้อยละ 13.6 ในปี 2018 นั่นหมายความว่า ภายในระยะเวลาประมาณ 40 ปี อัตราบ้านร้างเพิ่มสูงเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว


แน่นอน สื่อมวลชนส่วนมากมักให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และอัตราการเกิดน้อย จึงทำให้ไม่มีอุปสงค์มากพอในการมีบ้าน แต่หากพิจารณาข้อมูลจะพบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยกลับมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ไม่เพียงแค่บ้านร้าง


ในงานศึกษา Why Is Japan’s Housing Vacancy Rate So High? A History of Postwar Housing Policy ได้ให้ข้อเสนออย่างชัดเจนว่า อัตราจำนวนที่อยู่อาศัยไม่ได้สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุ แต่สัมพันธ์กับ “นโยบายอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) เป็นที่ตั้ง


ในช่วงหลังพ่ายแพ้สงคราม อัตราจำนวนที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น จากการที่รัฐบาลพยายามอัดฉีดเงินอุดหนุน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเช่าซื้อ เพื่อรองรับการขยายตัวของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยให้เงินให้เปล่าหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่บริษัทสร้างบ้าน ดังนั้น บ้านร้างจึงมากขึ้นตามไปด้วย


เหตุผลเพราะ เมื่อการก่อสร้างบ้านเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยอุดหนุนของรัฐบาล แต่จำนวนผู้อยู่อาศัยไม่ได้เพิ่มตามจำนวนบ้าน ทำให้ประชากรเริ่มหดตัว นั่นจึงทำให้ปริมาณบ้านมีมากกว่าผู้ต้องการอยู่ อีกทั้ง ราคาบ้านในทำเลทองญี่ปุ่น ก็แพงจนประชาชนทั่วเข้าไม่ถึง เป็นเหตุให้บ้านร้างเพิ่มสูงขึ้น 


พอมายุค 70s-80s เป็นช่วงที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาสวัสดิการแก่ประชาชน โดยเฉพาะการอยากให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเอง ดังนั้น รัฐบาลจึงลดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน หรือการเปิดอิสระทางภาคการเงินแก่ธนาคารและสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถสะสมทุนผ่านการลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาอุดหนุนการซื้อบ้านภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ผลคือ บ้านร้างมีจำนวนลดลง


และในปัจจุบัน ญี่ปุ่นกำลังเผชิญสภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรง รัฐบาลจึงอัดฉีดเงินกลับสู่ระบบ โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะเงินกู้ระยะยาว ผลจึงมาตกที่การซื้อบ้านที่ต้องผ่อนยาวนาน ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากยิ่งขึ้น


สรุปง่าย ๆ เรื่องของบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากนโยบายอสังหาฯ ของรัฐบาล มากกว่าปัจจัยสังคมสูงวัย 


แหล่งอ้างอิง


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง