รีเซต

'นวดจัดกระดูก' ต้องเลือกให้ปลอดภัย ได้ประโยชน์ปรับสมดุลร่างกาย

'นวดจัดกระดูก' ต้องเลือกให้ปลอดภัย ได้ประโยชน์ปรับสมดุลร่างกาย
TNN Health
11 พฤศจิกายน 2564 ( 19:31 )
495

ข่าววันนี้ การนวด เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีบทบาทในการบำบัดอาการปวดเมื่อย และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ประวัติการนวดมีมาอย่างยาวนาน ตำราแพทย์แผนโบราณยกให้  หมอชีวก โกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ต้นแบบทางศาสตร์แพทย์แผนโบราณ ที่รวมไปถึงศาสตร์เรื่องการนวดเอาไว้ด้วย 


ส่วนการนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย เป็นศาสตร์และศิลปะที่มีการสืบทอดกัน มาจากรุ่นสู่รุ่น หลายชั่วอายุคนมาแล้ว ศาสตร์การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายนี้ ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายจากอาการที่เป็นอยู่ แต่เป็นการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ 


การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายหรือการนวดเพื่อปรับจัดกระดูก สามารถป้องกันและช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อเส้นเอ็น-กระดูก ของอาการปวดศีรษะ ปวด ไหล่ ปวดสะบักปวดข้อศอก ปวดข้อมือ ปวดข้อนิ้ว ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดข้อเท้าแพลง ปวดหลัง ชาลงขา กระดูกทับเส้นประสาท ยอกหลัง หายใจไม่เข้า 


ประโยชน์การนวดสัมผัสบำบัดปรับจัดกระดูกไทย 


1. ป้องกันการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ของร่างกายและใบหน้า

2. ป้องกันโรคหัวใจตีบ หัวใจโต

3. ป้องกันอาการไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว

4. ป้องกันโรคเท้าชา มือชา นิ้วล็อก

5. ป้องกันอาการหลังงูเห่า (หลังค่อม)

6. ป้องกันการปวดหัวเข่า ขาโก่ง ขางอ แขนงอ

7. ปรับสมดุลข้อต่างๆ ไม่ให้เกิดอาการผิดปกติ

8. ปรับระบบเลือด และน้่าเหลืองให้เป็นปกติ

9. ปรับอาการกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อน  

10. ปรับความดันโลหิตให้เป็นปกต

 

ข้อควรระวัง

การนวดจัดกระดูกโดยบุคคลที่มิใช่แพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้สูญเสียทรัพย์สิน และเป็นอันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้

 

นวดโดยไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า การนวดจัดกระดูกโดยบุคคลที่มิใช่แพทย์ที่ให้บริการไคโรแพรกติก (Chiropractic) หรือได้รับอนญาตประกอบโรคศิลปะ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้สูญเสียทรัพย์สิน และเป็นอันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ 


ส่วนผู้ที่ดำเนินการนวดจัดกระดูกโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ.2542 ฐานประกอบโรคศิลปะศาสตร์ไคโรแพรกติกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม จะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ.2525 ฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต (แพทย์เถื่อน) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 


ส่วนผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฐานปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



อ้างอิง :  

  • สมคิด เริงวิจิตรา, การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย(ปรับจัดกระดูกไทย), กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยฯ
  • สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข

 

ติดตาม TNN Health ได้ที่นี่ FB https://www.facebook.com/TNNHealth

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง