รีเซต

โซเชียล ไม่เอา "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ชี้สิทธิไม่เท่าเทียมคู่สมรส

โซเชียล ไม่เอา "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ชี้สิทธิไม่เท่าเทียมคู่สมรส
TNN ช่อง16
9 กรกฎาคม 2563 ( 10:40 )
640

วันนี้ (9 ก.ค.63) ชาวโซเชียลพากันติดแฮชแท็ก #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต จนติดอันดับในทวิตเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องที่ ครม.มีมติเห็นชอบร่าง "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" เพื่อคุ้มครองกลุ่มหลากหลายทางเพศ แต่งงานได้ จดทะเบียนสมรสได้ โดยมองว่า ไม่ได้มีความเท่าเทียมจริงๆ สิทธิไม่เท่ากับคู่สมรส นามสกุลเปลี่ยนไม่ได้ สวัสดิการอย่างคู่สมรสก็ไม่ได้ด้วย

ขณะที่ นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ พร้อมด้วย นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ระบุว่า ขอให้ประชาชนอย่าเกิดความสับสน และขอทำความเข้าใจว่า ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นคนละฉบับกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 (สมรสเท่าเทียม) เพื่อการสมรสเท่าเทียมที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอนั้น มีสาระสำคัญ คือ "คู่ชีวิตไม่เท่ากับสมรสเท่าเทียม"

การที่เราแก้ไขสมรสเท่าเทียม คำว่า "คู่สมรส" นั้น ถูกบัญญัติอยู่แล้วในกฎหมายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของราชการ สวัสดิการเอกชน ที่จะให้สิทธิกับคำว่าคู่สมรส และการสมรสเท่าเทียมจะปกป้องและดูแลคู่สมรสให้ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม เป็นการยืนอยู่อย่างเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายของประเทศ

ทั้งนี้ คำว่า "คู่ชีวิต" ไม่ได้ถูกบัญญัติมีอยู่ในกฎหมายอื่นๆ เป็นคำใหม่ จึงทำให้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่สามารถทำให้คู่ชีวิตได้รับการปกป้องดูแล และรับสิทธิเหมือนคู่สมรส 

การสมรสเท่าเทียม คือ การสร้างความเท่าเทียม สร้างคนให้เท่ากันในสังคม ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ถ้าผ่านและใช้เป็นกฎหมาย จะทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศแปลกและแตกต่าง ตอกย้ำอคติทางเพศในสังคมไทย เพราะเมื่อเราต้องการจดทะเบียนสมรสแล้วทำไมถึงต้องใช้กฎหมายคนละตัว ซึ่งถ้าใช้สมรสเท่าเทียมจะทำให้คนไทยทุกคนได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก "หนูน้อยบนยอดเขาอันหนาวเหน็บ" ระบุเกี่ยวกับการรับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่มีข่าวในวันนี้ โดยขอย้ำว่าไม่ใช่ #สมรสเท่าเทียม ที่เพิ่งไปลงแสดงความคิดเห็นกัน และที่สำคัญยังคงเป็นแค่การ #รับร่าง เท่านั้น ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดคิดว่ามีการลงนามผ่านแล้ว และ “คู่ชีวิต” มีสิทธิไม่เท่า “คู่สมรส” ซึ่งสิทธิของ พ.ร.บ.คู่ชีวิต คร่าวๆ คือ 

- ไม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของคู่ชีวิตได้

- การลดหย่อนภาษี ไม่เทียบเท่าคู่สมรสชายหญิง

- ไม่มีสิทธิในการตัดสินใจหรือเซ็นอนุญาตในการรักษาพยาบาลฉุกเฉินของคู่ชีวิต ฯลฯ 

ส่วน "สมรสเท่าเทียม" ยังคงเปิดให้ทุกคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นอยู่ หมดเขต 17 ก.ค.63 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดสาระสำคัญ! ครม.อนุมัติร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คู่รักเพศเดียวกัน จดทะเบียนได้

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง