รีเซต

ยาสั่นหลอกสมองว่าท้องอิ่ม เทคโนโลยีใหม่จาก MIT ช่วยลดความอ้วน

ยาสั่นหลอกสมองว่าท้องอิ่ม เทคโนโลยีใหม่จาก MIT ช่วยลดความอ้วน
TNN ช่อง16
28 ธันวาคม 2566 ( 13:53 )
50
ยาสั่นหลอกสมองว่าท้องอิ่ม เทคโนโลยีใหม่จาก MIT ช่วยลดความอ้วน

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) ได้พัฒนายาเม็ดแคปซูลที่ไม่สามารถย่อยได้ แต่มีความสามารถในการกระตุ้นความรู้สึกอิ่มและช่วยลดการกินอาหาร ยาเม็ดนี้ถูกทำไปทดสอบกับสัตว์ และพบว่าลดการกินอาหารลงได้ 40% หลังจากการทดลอง นักวิจัยคาดว่าจะนำยาเม็ดนี้ไปใช้เป็นวิธีการรักษาโรคอ้วน


ทั้งนี้ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐฯ พบว่าในปี 2017 - 2020 ชาวอเมริกา 41.9% เป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลต่อค่ารักษาพยาบาลสูงว่าคนน้ำหนักปกติ 1,861 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 64,000 บาท และภาวะนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิดด้วย


ทั้งนี้วิธีการรักษาโรคอ้วนอย่างเช่น การลดอาหารหรือการออกกำลังกายอาจไม่ได้ผลเสมอไป ในขณะที่ยาลดน้ำหนักอาจมีราคาแพงหรือต้องใช้วิธีฉีดเข้าร่างกาย ในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดที่ซับซ้อน ดังนั้น ยาที่สามารถกินเข้าไปได้จึงเป็นวิธีที่ง่ายกว่า



ชริยา ศรีนิวาสัน (Shriya Srinivasan) นักศึกษาปริญญาเอกจาก MIT ได้ทำงานร่วมกับทีมนักวิจัยเพื่อออกแบบยาเม็ดแคปซูลขนาดเท่าวิตามินรวมแต่สามารถสั่นได้ ยานี้สามารถกินได้ มันประกอบด้วยเยื่อที่เป็นวุ้น ซึ่งจะละลายด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เมื่อเยื่อหุ้มละลายแล้วก็จะเกิดการเชื่อมต่อวงจรของซิลเวอร์ออกไซด์ในเม็ดยา ซึ่งจะทำให้เม็ดยานี้สั่นเป็นการเปิดการใช้งาน 


นักวิจัยได้นำยาเม็ดแคปซูลไปทดลองกับสัตว์และพบว่าการสั่งสะเทือนกระตุ้นกระบวนการปล่อยฮอร์โมนย่อยอาหารในปริมาณเดียวกับที่ปล่อยออกมาตอนกินอาหารปกติ แม้ว่าความจริงแล้วจะไม่ได้กินอะไรไปเลยก็ตาม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มขึ้นเพราะการสั่นทำให้ระดับฮอร์โมนเกรลิน (ฮอร์โมนที่ทำให้หิว) ถูกระงับ นักวิจัยพบว่าหลังจากเปิดใช้งานยานี้ 20 นาที จากนั้นให้อาหารสัตว์ตามปกติ การกินของสัตว์ทดลองจะลดลงมากถึง 40% 


ยาเม็ดแคปซูลถูกออกแบบมาให้สั่นประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นประมาณ 4 - 5 วันก็จะถูกขับออกจากร่างกาย ส่วนการใช้งานในมนุษย์ นักวิจัยกำลังศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ยาอยู่ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้น 


งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารไซเอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2023


ที่มาข้อมูล InterestingEngineering, Science

ที่มารูปภาพ Eurekalert

ข่าวที่เกี่ยวข้อง