รีเซต

ศูนย์จีโนมฯเผยข้อมูล "เดลตาครอน VS BA.1+ BA.2" สายพันธุ์ลูกผสมใดน่ากังวลกว่ากัน?

ศูนย์จีโนมฯเผยข้อมูล "เดลตาครอน VS BA.1+ BA.2" สายพันธุ์ลูกผสมใดน่ากังวลกว่ากัน?
TNN ช่อง16
20 มีนาคม 2565 ( 10:26 )
72
ศูนย์จีโนมฯเผยข้อมูล "เดลตาครอน VS BA.1+ BA.2" สายพันธุ์ลูกผสมใดน่ากังวลกว่ากัน?

วันนี้( 20 มี.ค.65) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19

โดยระบุว่า "สายพันธุ์ลูกผสม “เดลตา+โอมิครอน (เดลตาครอน)” VS สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.1+ BA.2”สายพันธุ์ใดน่ากังวลกว่ากัน

องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้แจ้งเตือนหลายประเทศที่มีผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดและหันไปใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด แม้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศยังไม่ลดลงหรือกำลังพุ่งขึ้นก็ตาม ให้ระมัดระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใหม่ที่พบการระบาดถี่ขึ้น

ขณะนี้ (19/3/2565) จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในเกาหลีใต้ ฮ่องกง สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่เยอรมนียังคงรักษาสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 250,000 รายต่อวัน ที่อื่นๆ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ก็พบว่าการติดเชื้อโควิดเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งอันสืบเนื่องมาจากการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2  ซึ่งกำลังเข้ามาแทนที่ BA.1 

WHO ได้ขอร้องบรรดาห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ใหญ่น้อยในทุกประเทศให้ร่วมด้วยช่วยกันสุ่มถอดรหัสพันธุกรรม“ไวรัสโคโรนา 2019” ทั้งจีโนมจากตัวอย่างที่มีผล PCR ต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นผลบวก  สายพันธุ์ย่อยที่ WHO ได้ขอให้ทั่วโลกเฝ้าติดตามโดยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมคือ 

1. โอมิครอน BA.2 ซึ่งกำลังเข้ามาแทนที่ โอมิครอน BA.1 และอาจก่อให้เกิดเป็นการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยหลายฝ่ายกำลังจับตาว่าการระบาดของ BA.2 

จะทำให้เกิดระบาดใหญ่ระลอกที่ 6 หรือไม่  

**อ่านเพิ่มเติม ธรรมชาติการกลายพันธุ์และการระบาดใหญ่ 5 ระลอกของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย จาก https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4864527283655013

2. โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย(sub lineage) ของ BA.2 เช่น BA.2.1, BA.2.2, BA.2.3  ซึ่งขณะนี้เริ่มพบ “BA.2.2” ระบาดมากที่สุดในฮ่องกง โดยต้องสงสัยว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งหรือไม่ที่ทำให้ฮ่องกงมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงที่สุดในโลก โดยในช่วงพีก สูงถึง 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 น้อยกว่า 1 คนต่อประชากร 1 ล้านคน 

BA.2.2 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นประมาณ  80 ตำแหน่ง จากการคำนวณในเบื้องต้นพบว่า BA.2.2  มี  “growth advantage” หรือความสามารถในการแพร่ระบาดเหนือกว่า BA.2 ประมาณ 0.53 เท่า (53%) (ภาพ2) โดย BA. 2 มี “growth advantage” หรือความสามารถในการแพร่ระบาดได้เร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.5 เท่า (150%) 

3. สายพันธุ์ลูกผสมที่ควรเฝ้าระวังขณะนี้มีสองกลุ่มคือ 

I. สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “เดลตา (AY.4) + โอมิครอน (BA.1)” (Delta/Omicron Recombinant Lineage) โดยเดลตาสายพันธุ์ย่อย “AY.4” 

ได้รับเอายีน Spike ที่สร้างหนามแหลมจากโอมิครอนสายพันธุ์ ย่อย BA.1 เข้ามาผสมในสายจีโนม เกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม “AY.4+BA.1” โดยพบว่าไม่ฟิตกับสิ่งแวดล้อม 

ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนไม่มาก และไม่สามารถขยายตัวแพร่ติดต่อเป็นวงกว้างได้ 

II. สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “โอมิครอน BA.1 + โอมิครอน BA.2” (BA.1/BA.2 Recombinant Lineage) โดยโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.1” รับเอายีน Spike ที่สร้างหนามแหลมจาก BA.2 เข้ามาผนวกในสายจีโนม เกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม “BA.1+BA.2” มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นถึง 90 ตำแหน่ง จากการคำนวณพบว่ามี  “growth advantage” หรือความสามารถในการแพร่ระบาดได้เหนือกว่า BA.2 ประมาณ 1.26 เท่า (126%) 

จากนี้ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ต้องจับตามองสายพันธุ์ลูกผสม “โอมิครอน BA.1 + โอมิครอน BA.2” ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากอู่ฮั่นสูงสุดถึง 90 ตำแหน่ง และมีความสามารถในการแพร่ระบาดที่เหนือกว่า BA.2 ประมาณ 1.26 เท่า (126%) ว่าผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงแตกต่างจาก BA.2 หรือไม่

ที่สำคัญสายพันธุ์ลูกผสมที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศมีสัดส่วนการแลกเปลี่ยนหรือการผสมสารพันธุกรรมบนสายจีโนมที่แตกต่างกัน 

แม้ลูกผสมที่ตรวจพบในขณะนี้ได้ส่วนจีโนมที่สร้างหนาม (spike gene) จาก BA.1 หรือ BA.2 ก็ยังไม่อาจคาดคะเนได้ว่าจะก่อให้เกิดอาการความรุนแรงเหมือนการติด

เชื้อโอมิครอนทั่วไปหรือไม่

https://github.com/cov-lineages/pango-designation/issues/445

https://github.com/cov-lineages/pango-designation/issues/454

https://cov-spectrum.org/.../AllSamples/Past6M/variants..."





ข้อมูลจาก Center for Medical Genomics

ภาพจาก AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง