รีเซต

ครม.รับทราบ เพิ่มสำนักงานงบประมาณเขตอีก 7 เขต ปรับหน้าที่ให้ดูแล-หนุน อปท.ด้านงบ

ครม.รับทราบ เพิ่มสำนักงานงบประมาณเขตอีก 7 เขต ปรับหน้าที่ให้ดูแล-หนุน อปท.ด้านงบ
มติชน
15 มีนาคม 2565 ( 15:10 )
45
ครม.รับทราบ เพิ่มสำนักงานงบประมาณเขตอีก 7 เขต ปรับหน้าที่ให้ดูแล-หนุน อปท.ด้านงบ

ครม.รับทราบ เพิ่มสำนักงานงบประมาณเขตอีก 7 เขต พร้อมปรับอำนาจ-หน้าที่ให้สามารถดูแลสนับสนุน-ให้คำปรึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีขึ้น

 

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. … ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญคือการจัดตั้ง สำนักงานงบประมาณเขตเพิ่ม จำนวน 7 เขต ได้แก่ สำนักงานงบประมาณเขตที่ 12-18 และปรับชื่อจากกองจัดทำงบประมาณเขตที่ 1-11 เป็นสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1-11 และได้ปรับหน้าที่และอำนาจสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1-18 และส่วนราชการภายในสำนักงบประมาณให้สอดคล้องกัน

 

ประกอบด้วย ปรับหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในสำนักงบประมาณ ให้มีอำนาจและหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยรับงบประมาณในการจัดทำงบประมาณ รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่าย การควบคุมงบประมาณ ที่คำนึงถึงความจำเป็น ภารกิจ สถานะเงินนอกงบประมาณ ความสามารถในการหารายได้ การใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพัน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยรับงบประมาณ ตลอดจนการวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่าย และงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รวมทั้งวิเคราะห์เงินนอกงบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยรับงบประมาณ และมีบทบาทในการประสานงานกับราชการส่วนกลาง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดเตรียมข้อมูลและคำชี้แจงประกอบงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อรัฐสภา และปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนี้ ยังปรับหน้าที่และอำนาจของสำนักงานงบประมาณเขต ให้สามารถดูแลสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการด้านงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีขึ้น โดยให้สำนักงานงบประมาณเขตมีหน้าที่และอำนาจในการให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยรับงบประมาณระดับพื้นที่ในการจัดทำงบประมาณ การบริหารงบประมาณรายจ่าย การควบคุมงบประมาณ รวมถึงการจัดทำงบประมาณของแผนพัฒนาในระดับพื้นที่

 

โดยให้มีการบูรณาการงบประมาณกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยรับงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำงบประมาณในพื้นที่ความรับผิดชอบ และยังได้ปรับบทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจ เพื่อให้สอดรับกับบทบาทภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของหน่วยงานในสังกัดสำนักงบประมาณ เช่น กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 3 แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและแรงงาน จากเดิมเฉพาะด้านแรงงาน เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง