รีเซต

ญี่ปุ่นพัฒนาแอปฯ ตรวจสุขภาพแมว CatsMe! เช็กร่างกายน้องเหมียว

ญี่ปุ่นพัฒนาแอปฯ ตรวจสุขภาพแมว CatsMe! เช็กร่างกายน้องเหมียว
TNN ช่อง16
17 มิถุนายน 2567 ( 01:40 )
79

บริษัทในประเทศญี่ปุ่นพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสุขภาพแมวในชื่อ Catme! เพื่อให้บรรดาทาสแมวทั้งหลายสามารถใช้ตรวจหาสัญญาณความเจ็บปวดเบื้องต้นของบรรดาเจ้านายขนปุยได้ เพื่อช่วยลดการคาดเดาว่าควรต้องพาแมวไปพบสัตวแพทย์เมื่อไหร่ ทำให้เตรียมตัวรับมือได้ดียิ่งขึ้น


ภาพจากรอยเตอร์ 

แอปพลิเคชัน Catme! ป็นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนสมาร์ตโฟน ตัวแอปพลิเคชันขับเคลื่อนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งทางผู้พัฒนาอ้างว่าตัวแอปฯ สามารถระบุได้ว่าแมวกำลังรู้สึกเจ็บปวดอยู่หรือไม่ 


แอปพลิเคชันตัวนี้พัฒนาโดยบริษัท Carelogy สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิฮอน (Nihon) ด้วยการให้ AI ฝึกกับรูปภาพแมวกว่า 6,000 รูป ซึ่งนักพัฒนากล่าวว่าตัวแอปฯ สามารถทำงานได้ด้วยความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 95 และคาดว่าจะแม่นยำมากขึ้นไปอีก เมื่อ AI ได้โอกาสในการฝึกฝนกับใบหน้าแมวที่มีจำนวนมากขึ้น 


ภาพจากรอยเตอร์ 

ทั้งนี้ คาซูยะ เอดามูระ (Kazuya Edamura) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนิฮอนกล่าวว่า สัตวแพทย์สามารถบอกได้ในระดับหนึ่งว่าสัตว์เจ็บปวดหรือไม่ แต่มันเป็นงานที่ยากกว่าสำหรับเจ้าของ ทำให้จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าแมวสูงอายุมากกว่าร้อยละ 70 เป็นโรคข้ออักเสบหรือกำลังอยู่ในอาการเจ็บปวด จะมีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ได้ไปโรงพยาบาล


โดยหลังจากแอปพลิเคชันเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา ก็มีผู้ใช้งานแล้วว่า 230,000 ราย หนึ่งในนั้นคือ มายูมิ คิตะกาตะ (Mayumi Kitakata) หญิงชาวญี่ปุ่น และหนึ่งในผู้ใช้งานรายแรก ๆ ที่กล่าวว่าการใช้งานแอปพลิเคชันตัวนี้ ช่วยให้เธอสามารถสังเกตอาการของแมวสูงอายุในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น 


แม้ว่าสัตว์เลี้ยงอย่างเช่นน้องแมว อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกครอบครัว ที่พบเห็นได้ทั่วโลก แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ มีบทบาทที่สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเกิดที่ลดลง โดยสมาคมอาหารสัตว์เลี้ยงแห่งญี่ปุ่นประเมินว่าปีที่แล้ว ในญี่ปุ่นมีสัตว์เลี้ยงอย่างแมวและสุนัขเกือบ 16 ล้านตัว ซึ่งมากกว่าจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี


ดังนั้นการมาถึงของแอปพลิเคชันตัวนี้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้เหล่าทาสแมวสามารถสังเกตสัญญาณความเจ็บปวดเบื้องต้นของแมวได้ช่วยลดการคาดเดาว่าควรต้องพาแมวไปพบสัตวแพทย์เมื่อไหร่ เพิ่มโอกาสในการตรวจพบโรคหรืออาการเจ็บปวดในระยะเริ่มต้นได้ไวขึ้น


ข้อมูลจาก reutersreutersconnect

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง