รีเซต

สบน.เผย ปีงบ 68 วางแผนออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน 1.3 แสนล้าน

สบน.เผย ปีงบ 68 วางแผนออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน 1.3 แสนล้าน
ทันหุ้น
4 พฤศจิกายน 2567 ( 17:06 )
16

สบน.เผย ปีงบ 68 วางแผนออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน 1.3แสนล้าน โดยจะเริ่มออกในเดือนพ.ย.นี้ราว 2-3 หมื่นล้าน รุ่นอายุ 15 ปี คาดบริษัทประกันและสหกรณ์ จะให้ความสนใจในพันธบัตรรุ่นนี้

 

#ทันหุ้น นายพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)เปิดเผยว่า สบน.วางแผนออก Sustainability-Linked Bond (SLB) หรือ พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ในปีงบประมาณ 2568 จำนวน1.3แสนล้านบาท โดยในเดือนพ.ย.นี้ จะออกก่อน 2-3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ จะเป็นพันธบัตรรุ่น SLB406A อายุ 15 ปี โดยจะขายให้นักลงทุนสถาบัน ซึ่งคาดว่า บริษัทประกันและสหกรณ์ จะให้ความสนใจในพันธบัตรรุ่นนี้

 

ทั้งนี้ สบน.จะขายผ่านผู้จัดจำหน่าย 4 ราย คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคาร กรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) และสแตนดาร์ดชาร์เตอรด(ไทย)จำกัด ทั้งนี้ สบน.จะสำรวจความต้องการซื้อตราสารหนี้ในวันที่ 19พ.ย.นี้ และจะเสนอขายจริงในวันที่ 25 พ.ย.นี้

 

นายพชรยังกล่าวภายหลังการประชุมสถาบันการเงินเพื่อออกพันธบัตรดังกล่าวว่า พันธบัตรที่ออกนี้จะผูกกับตัวชี้วัดของประเทศใน 2 ประการ คือ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3.88 แสนตันคารบอน ( ktCo2e) ภายในปี2573และการใช้รถยนต์ BEV ไม่ต่ำกว่า 4.4แสนคัน/ปี ภายในปี 2573ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย มีการใช้รถ BEV ปีละประมาณ 7หมื่นคัน/ปี

 

เขากล่าวว่า หากประเทศไทย ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ จะถูกปรับด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ SLB ขึ้นอีก 2.5 basic point ต่อ 1ตัวชี้วัด หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทั้งสองตัวชี้วัด จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นรวม 5 basic point เช่น หากอัตราดอกเบี้ยของ SLB อยู่ที่ 2 % และไทยไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายทั้งสองเป้าหมายดังกล่าว จะถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 2.05% แต่หากสามารถบรรลุเป้าหมาย อัตราดอกเบี้ยก็จะลดลง 2.5 bps เช่นกัน

 

ปัจจุบัน พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของสบน.คงค้างอยู่ที่ 4.8แสนล้านบาท

 

เขากล่าวว่า หลังจากที่ได้ชี้แจงให้นักลงทุนในประเทศถึงแผนการออก SLB ในปีนี้แล้ว ในสัปดาห์หน้า สบน.จะทำการโรดโชว์พันธบัตรดังกล่าวให้นักลงทุนต่างชาติ โดยจะเดินทางไปโรดโชว์ที่ฮ่องกงและสิงคโปร์

 

ทั้งนี้ พันธบัตรดังกล่าวของสบน.เป็นไปตามมาตรฐานสากล ของ International Capital Market Association (ICMA) และ ASEAN Capital Market Forum (ACMF) โดยได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก DNV ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้ความเห็นอิสระระดับสากล ( Second Party Opinion)

 

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้ผูกพันตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ว่าภายในปี 2573 จะลดการปลป่อยคารบอนลง 30-40% จากคารบอนที่ปล่อยอยู่ในปัจจุบันที่ 555 ล้านตัน ดังนั้นหากต้องการลดการปล่อยคารบอนลง 30 % ในปี 2573จะต้องลดการปล่อยคารบอนลงเป็นจำนวน 222 ล้านตัน นอกจากนี้ภายในปี 2593 จะต้องเป็นกลางทางคารบอน ( Carbon Neutral) และภายในปี 2608 จะต้องเป็น Net Zero Carbon

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง