รีเซต

กมธ.ดีอีเอส ควง 'กสทช-โอเปอเรเตอร์' ลุย 'มทร.อีสาน' ตรวจจุดอับ-ขยายเสาสัญญาณ5G

กมธ.ดีอีเอส ควง 'กสทช-โอเปอเรเตอร์' ลุย 'มทร.อีสาน' ตรวจจุดอับ-ขยายเสาสัญญาณ5G
มติชน
3 พฤษภาคม 2565 ( 10:48 )
52
กมธ.ดีอีเอส ควง 'กสทช-โอเปอเรเตอร์' ลุย 'มทร.อีสาน' ตรวจจุดอับ-ขยายเสาสัญญาณ5G

กมธ.ดีอีเอส ควง ‘กสทช-โอเปอเรเตอร์’ ลุย ‘มทร.อีสาน’ ตรวจจุดอับ-ขยายเสาสัญญาณ5G รองรับการประยุกต์ใช้ IoT – Smart Farming – เทคโนโลยีอวกาศ พร้อมยกระดับการเรียนการสอน

 

น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กมธ.ดีอีเอส ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) จ.นครราชสีมา ซึ่งที่นี่มีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการนำเสนอผลงานด้านสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วยเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุการเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯมีหลักสูตรด้านการเกษตรที่น่าสนใจ เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ, สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ และ วิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ โดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้กับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำไปสู่การเกษตรอุดมสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยี

 

 

“การมาลงพื้นที่ครั้งนี้ เราต้องการมุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยฯ มีแพลตฟอร์ม 5G ที่แข็งแกร่ง เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสำหรับเกษตรอัจฉริยะ อย่างไรก็ตามในพื้นที่ตรงนี้ยังคงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ IoT (Internet of Thing) เพื่อประโยชน์ในการวิจัยในทุกๆด้าน อีกทั้งยังจะเชื่อมโยงเซนเซอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันโดยเทคโนโลยี 5G ซึ่งหากไม่มี 5G ก็จะไม่สามารถทำวิจัยได้เลย นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐาน 5G ยังช่วยพัฒนาด้านการรักษาและบริการสุขภาพด้วยเทคโนโลยีด้วยแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลอัจฉริยะ (Tele Medicine) เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนอีกด้วย ครั้งนี้ทางกรรมาธิการ ได้เชิญ กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั้งหมดมาร่วมตรวจสอบและทดสอบสัญญาณเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาต่อไปด้วย” ประธานกมธ.ดีอีเอส กล่าว

 

ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธานกมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีอาจารย์และนักศึกษาที่เก่งมาก สามารถสร้างระบบรถไฟฟ้า การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์โดยใช้ระบบสมาร์ทเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา ในการศึกษาและวิจัยสภาพอากาศด้วย แต่ยังเจอกับปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่กระทบต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตมีความเร็วไม่พอและไม่มีความเสถียร เราจึงได้นำคณะกมธ.ดีอีเอส พร้อากับ กสทช. และผู้ให้บริการรวมลงพื้นที่ครั้งนี้ ซึ่งหลังจากการตรวจสอบสัญญาณ พบว่ามีหลายจุดที่เป็นจุดบอด สัญญาณไม่แรงพอ เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายค่ายต่างๆ พร้อมที่จะสนับสนุน และติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่มเติม เพื่อให้ระบบสื่อสารสมบูรณ์ ไม่ติดขัด ให้การเรียนการสอน และการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะนำรถทดสอบสัญญาณมาตรวจสอบอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง