รีเซต

ผลวิจัยชี้แบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลต่อความรุนแรงโรคโควิด-19

ผลวิจัยชี้แบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลต่อความรุนแรงโรคโควิด-19
TNN ช่อง16
26 มกราคม 2564 ( 18:35 )
304
ผลวิจัยชี้แบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลต่อความรุนแรงโรคโควิด-19

วันนี้ (26 ม.ค.64) ในร่างกายของมนุษย์ จะมีแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆนับล้านชนิด เรียกว่า ไมโครไบโอม (microbiome) โดยในระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ จะมีจุลชีพเหล่านี้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดาตั้งแต่แรกคลอด รวมถึงจากสิ่งแวดล้อม อาหาร และยาที่แต่ละคนรับเข้าสู่ร่างกาย

นักวิจัยจาก Chinese University of Hong Kong  ค้นพบว่าคนที่มีลำไส้ทำงานไม่ดี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรค Covid-19 ที่รุนแรงเนื่องจากการขาดจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น


นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างจาก 78 คนที่ไม่มี Covid-19 ซึ่งเข้าร่วมการศึกษา ไมโครไบโอม  (microbiome) ก่อนการระบาด ค้นพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโควิด-19 มีลักษณะที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้ออย่างมาก 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด -19 มีระดับแบคทีเรียในลำไส้ลดลง ซึ่งทราบว่าสามารถปรับเปลี่ยนการตอบสนองภูมิคุ้มกันของบุคคลได้ ตัวอย่างเช่น มีหลักฐานการเพิ่มระดับของแบคทีเรียบางชนิด ได้แก่ Ruminococcus gnavus , Ruminococcus torques และ Bacteroides dorei 


นอกจากนี้ ยังมีระดับจุลินทรีย์ที่ลดลงซึ่งเป็นที่รู้กันว่าช่วยระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ Faecalibacterium  prausnitzii และ Bifidobacterium bifidum


การศึกษาสรุปว่า จุลินทรีย์ในลำไส้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "ขนาดของความรุนแรงของโควิด -19 ที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับการตอบสนองภูมิคุ้มกันของโฮสต์"

ทีมวิจัยได้ทดลองพัฒนาสูตรแบคทีเรียชนิดกิน ที่เรียกว่า "โปรไบโอติกส์" และแคปซูลพิเศษ ให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 และพบว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน การวิจัยทางคลินิกนำร่องครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์จะมีอาการทุเลาลงมากกว่า โดยมีร่องรอยการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง มีปริมาณแบคทีเรียชนิดดีในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้แอนติบอดีมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้


นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาวะความไม่สมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย หรือ dysbiosis จะยังคงอยู่หลังจากที่ไวรัสหายไป และอาจมีบทบาทสำคัญต่ออาการป่วยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายของผู้ป่วยบางราย

วารสารการแพทย์ the Lancet  รายงานผลศึกษา ผู้ป่วยโควิด-19 ในจีนที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล พบ 3 ใน 4 หรือ76 % ยังคงมีอาการป่วยต่างๆ ตามมาในระยะเวลา 6 เดือนหลังติดเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อน ที่พบหลังหายป่วยโควิ-19  อาการที่พบมากที่สุด คือ อาการอ่อนเพลีย คิดเป็น 63% และนอนไม่หลับ 26% 

นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจทั้งวิตกกังวล และซึมเศร้า คิดเป็น 23% ของผู้ป่วย ผมร่วง 22% ความผิดปกติของการรับกลิ่น 11% อาการปวดข้อ 9% ใจสั่น 9% เบื่ออาหาร 8% ความผิดปกติของการรับรส 7% เวียนหัว 6% ท้องร่วง5% เจ็บหน้าอก 5% เจ็บคอ 4%





เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง