รีเซต

"ครม.สัญจร" แนวทางบริหารของ “ชาติชาย ชุณหะวัณ” เพื่อให้ฝ่ายบริหาใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น | Chronicles

"ครม.สัญจร" แนวทางบริหารของ “ชาติชาย ชุณหะวัณ” เพื่อให้ฝ่ายบริหาใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น | Chronicles
TNN ช่อง16
24 สิงหาคม 2567 ( 10:33 )
16
"ครม.สัญจร" แนวทางบริหารของ “ชาติชาย ชุณหะวัณ” เพื่อให้ฝ่ายบริหาใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น | Chronicles




ย้อนไปสมัย “พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ” เขาพยายามผสานความใกล้ชิดของฝ่ายบริหารเข้ากับประชาชนด้วยวิธีการ “ครม. สัญจร”


ในช่วงแรกของการตั้งคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (คณะที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก) ขึ้นมาเป็นคลังสมองของนายกรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ การต่างประเทศ และการพิจารณากฏหมาย 


พลเอกชาติชาย พบว่า รัฐบาลและทีมงานของเขาขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างมาก แม้เศรษฐกิจ ณ ตอนนั้น (ราว พ.ศ. 2531 - 2532) ของประเทศไทยกำลังขาขึ้น แต่สำหรับประชาชนแล้ว พวกเขากลับรู้สึกส่งเสียงไม่ถึงรัฐบาลได้อย่างแท้จริง


พลเอกชาติชาย จึงริเริ่มวิธีให้ฝ่ายบริหารออกสัญจรไปประชุมยังพื้นที่ต่างจังหวัด แทนที่จะประชุมกันที่ทำเนียบรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงมีชื่อเรียกว่า ครม. สัญจร โดยชี้แจงประโยชน์ 2 ประการ ดังนี้ 


ประการแรก สร้างภาพลักษณ์ว่านโยบายจากฝ่ายบริหารสะท้อนความเป็นจริง เพราะลงพื้นที่ไปรับฟังประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้อยู่ในกระบวนการกำหนดนโยบาย แทนที่จะสั่งการให้ข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้จัดทำซึ่งส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง


ประการต่อมา เป็นกลยุทธ์เพิ่มฐานคะแนนเสียงของนายกรัฐมนตรี เพราะแสดงให้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่แก้ไขปัญหาได้จริง รับฟังประชาชนจริง ๆ 


ตรงนี้ นับว่าได้ผลอย่างมาก และแม้ต่อมา รัฐบาลพลเอกชาติชายจะถูกรัฐประหารในปี พ.ศ. 2534  โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร แต่มรดกของเขา คือ  ครม. สัญจร ก็ยังคงมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน 


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล


แหล่งอ้างอิง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง