รีเซต

KTC ปรับแผนมุ่งรักษากำไร ชูพี่เบิ้มสินเชื่อมีหลักประกัน

KTC ปรับแผนมุ่งรักษากำไร ชูพี่เบิ้มสินเชื่อมีหลักประกัน
ทันหุ้น
10 กันยายน 2563 ( 14:39 )
96
KTC ปรับแผนมุ่งรักษากำไร ชูพี่เบิ้มสินเชื่อมีหลักประกัน

ทันหุ้น - สู้โควิด – KTC ปรับกลยุทธ์ธุรกิจรุกสินเชื่อมีหลักประกันผ่านพิโกไฟแนนซ์ ชู สินเชื่อจำนำทะเบียน “พี่เบิ้ม” เป็นหัวหอกขยายฐานเข้าสู่สินเชื่อประเภทอื่นๆ ควบคู่ปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลให้เหมาะสม และเกณฑ์การชำระเงินให้ยืดหยุ่น ย้ำรักษาศักยภาพการทำกำไรสูงสุด ด้านนักวิเคราะห์คาดทั้งปีกำไร 5 พันล้านบาทแนะ ทยอยสะสม” เป้า 32.50 บาทนายชุติเดช ชยุติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ก็สามารถกลับมาจ่ายค่างวดคงค้างได้ตามปกติแล้ว

 

ขณะเดียวกันบริษัทมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าด้วยการดำเนินโครงการเปลี่ยนการจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดเป็นหนี้เงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคลระยะยาวดอกเบี้ย 22% ต่อปี นาน 48 เดือนอีกด้วยทั้งนี้ บริษัทมีแผนปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ด้วยการรุกตลาด “สินเชื่อมีหลักประกัน” มากขึ้น เริ่มต้นด้วยสินเชื่อจำนำทะเบียน “พี่เบิ้ม” ที่เริ่มขยายฐานการตลาดมากขึ้นตั้งแต่กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ควบคู่กับการขยายฐานเข้าไปไปยังสินเชื่อประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม ผ่านเกณฑ์สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์สำหรับตลาด “บัตรเครดิต” และสินเชื่อบุคคล ยังมีความจำเป็นกับลูกค้าเนื่องจากสามารถใช้เป็นวงเงินฉุกเฉินได้

 

โดยเฉพาะเวลาเจ็บป่วย ทางบริษัทจะพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นเดียวกับการพิจารณากำหนดเกณฑ์การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเข้มปล่อยสินเชื่อนายชุติเดช กล่าวว่า กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ทำให้บริษัทพิจารณาปรับเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับดอกเบี้ยที่ลดลง สำหรับเกณฑ์ที่ช่วยลูกหนี้ มีตั้งแต่การลดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 18% เหลือ 16%, การลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด จาก 28% เหลือ 25%

 

ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด ลดเพดานดอกเบี้ยเหลือ 25% รวมถึงสินเชื่อจำนำทะเบียนรถที่ลดดอกเบี้ยเหลือ 24% เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา“การปรับแผนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และรักษาศักยภาพการทำกำไรของบริษัทให้คงอยู่ในอัตราที่เหมาะสม จึงจะเน้นสินเชื่อที่มีหลักประกันมากขึ้น แต่สินเชื่อไม่มีหลักประกันก็จะต้องทำอย่างเหมาะสมเพราะยังคงมีความจำเป็นกับลูกค้า บริษัทจึงจะยังคงพิจารณาสินเชื่อใหม่อย่างต่อเนื่องไม่ปิดกั้น แต่อาจเรียกเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาเข้มข้นมากขึ้น

 

ส่วนการตั้งสำรองซึ่งบริษัททำมาอย่างรัดกุมมากๆ ก็อาจพิจารณาดำเนินการอย่างรัดกุมในระดับเดียวกับอุตสาหกรรม”แนะ “ทยอยสะสม”บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ ประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2563 ของ KTC ที่ 5,000 ล้านบาท ลดลง 8.9%เมื่อเทียบกับปี 2562 (YoY) โดยคาดว่าบริษัทจะยังคงตั้งสำรองในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และผลกระทบจากมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยของธปท. จึงแนะนำ “ทยอยสะสม” ราคาเหมาะสมที่ 32.50 บาท

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง