รีเซต

ทำความรู้จัก ฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM2.5

ทำความรู้จัก ฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM2.5
TrueID
18 พฤศจิกายน 2563 ( 09:52 )
243
ทำความรู้จัก ฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM2.5

จากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ทุกคนคงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ กลุ่มฝุ่นละออง (Ambient airborne particles) ที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ของทุกๆปี

 

ประเทศไทยจะพบกับปัญหาเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว ที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมในบางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ จะพบเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋วมีปริมาณเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศฝุ่นละออง (Ambient airborne particles) ที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002ไมครอน ซึ่งเป็นกลุ่มของโมเลกุล (มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ) ไปจนถึงขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นทรายขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่ 50 ไมครอนขึ้นไป) ฝุ่นละอองนั้นไม่ได้มีแค่ฝุ่นที่เป็นของแข็งเท่านั้นแต่ยังมีสารเคมีต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ ปะปนอยู่ด้วยในบรรยากาศ โดยฝุ่นละอองมีแหล่งที่มาที่สำคัญ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ

 


1. ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Particle)


- เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ า เขม่าควันจากไฟป่า
ฝุ่นเกลือจากทะเล

 


2. ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Particle)


- การคมนาคม เช่น การเผาไหม้จากเครื่องยนต์ รถบรรทุกหิน ดิน ปูน


- โรงงานอุตสาหกรรม เช่น การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากปล่องควัน


- การก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างอาคาร รถไฟฟ้า การทำถนน การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค


- การเผาไหม้จากการทำการเกษตร หรือการเผาในที่โล่งแจ้ง เช่น การเผาขยะ การเผาเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร

 


นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการสะสมของเจ้า ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากในช่วง เดือนพฤศจิกายน – มีนาคมของทุกๆปี ประเทศไทยจะ เข้าสู่หน้าหนาวคือ มีสภาพอากาศหนาวเย็นจาก ความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ปกคลุม เป็นระลอกๆ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น

 

จึงทำให้บริเวณ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเย็น แต่มีบางช่วงความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมมีกำลังอ่อนลง จึงส่งผลให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลงหรือมีลมสงบ จากสภาพอากาศดังกล่าวนั้นส่งผลให้เจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว จากแหล่งกำเนิดต่างๆเกิดเพดานการลอยตัวและการกระจายต่ำ มีการ สะสมปริมาณมากในชั้นบรรยากาศจนเกินค่ามาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไป ซึ่งเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ลดความสามารถในการมองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี

 

เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นอนุภาคของแข็งที่ดูดซับและหักเห แสงได้และยังสร้างความสกปรก เลอะเทอะ แก่บ้านเรือน อาคาร สิ่งก่อสร้างและต้นไม้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์อีกด้วย ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณ ขนาด ความหนาแน่น และองค์ประกอบของฝุ่นละออง ที่ได้รับ โดยเฉพาะเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (ambient airborne particles) ที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป

 

เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ตัวตา สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทำ ให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน จะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำ ให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย

 

เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย เราสามารถป้องกันเจ้าฝุ่นจิ๋วเข้าสู่ร่างกายเราได้โดยการหลีกเลี่ยง สัมผัส การงดทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาที่พบฝุ่นละอองมีค่าสูง หรือสวมใส่หน้ากาก N95 เมื่อต้องอยู่บริเวณภายนอกอาคารหรือบริเวณที่อาจมีค่าฝุ่นละอองสูงทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไป ดังนี้

 


- ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศโดยทั่วไป ใน 24 ชั่วโมง
จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร


- ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในบรรยากาศโดยทั่วไป ใน 24 ชั่วโมง
จะต้องไม่เกิน 0.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร


- ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 100 ไมครอน (PM100) ในบรรยากาศ
โดยทั่วไป ใน 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.33 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 


จะเห็นได้ว่าแหล่งที่มาหลักๆ ที่สำคัญ ในก่อให้เกิด เจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว สะสมในบรรยากาศ เกิดจาก
กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้จากการทำการเกษตร การคมนาคมขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาค เอกชนต่างๆ ได้ช่วยกันออกมารณรงค์และหารือถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา และกำหนดมาตรการต่างๆในการลดปัญหา เจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว

 

เราสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการก่อให้เกิดเจ้าฝุ่นจิ๋วสะสมในบรรยากาศได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การตรวจเช็คสภาพรถยนต์เพื่อลดการปล่อยควันดำ การควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม การไถกลบพื้นที่การเกษตรแทนการเผา การปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

++++++++++

ภาพโดย Foto-Rabe จาก Pixabay 

ข้อมูล 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรมควบคุมมลพิษ
กรมควบคุมมลพิษ. 2562. เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง (ออนไลน์)
Greenpeace Thailand

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง