รีเซต

'นักศึกษาจีน' สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรมไทยผ่าน 'คีตะมวยไทย'

'นักศึกษาจีน' สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรมไทยผ่าน 'คีตะมวยไทย'
Xinhua
22 พฤษภาคม 2565 ( 01:53 )
98
'นักศึกษาจีน' สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรมไทยผ่าน 'คีตะมวยไทย'

ฉงชิ่ง, 20 พ.ค. (ซินหัว) -- ชวนทำความรู้จักฟานซือหยา หลัวอิ่งซิน หลี่เม่ยถง และโจวเจี้ยนฉือ กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศซื่อชวน ซึ่งตั้งอยู่ที่มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

 

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กลุ่มนี้ได้คว้ารางวัลที่ 4 จากการแข่งขัน "คีตะมวยไทย" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู เมื่อไม่นานนี้ โดยการแสดงของพวกเขามีจุดเด่นจากการผสมผสานมวยไทยเข้ากับการเต้นที่มีชีวิตชีวาและสร้างสรรค์ฟานซือหยาหรือศุภรดาเผยว่าในฐานะนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย เราควรเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยอย่างเช่น "มวยไทย" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากเรียนรู้เพื่อสัมผัสเสน่ห์ของวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้งแม้จะไม่คุ้นเคยกับมวยไทยแต่ทั้งสี่คนมีประสบการณ์การเต้น จึงเรียนรู้ท่ามวยไทยพื้นฐานผ่านคลิปวิดีโอ ก่อนนำมาผสมผสานเข้ากับการเต้น ทั้งยังเลือกเพลงไทยติดหูอย่างเพลง "ดี๊ดี" (Unexpected) เป็นเพลงประกอบการแสดงอีกด้วยหลัวอิ่งซินหรือปองภพรับหน้าที่ออกแบบท่าเต้นด้วยประสบการณ์การเต้นมานาน 8 ปี โดยเขามองว่ามวยไทยจะดูผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา และสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากขึ้น หากผสานเข้ากับการเต้นและเพลงดังการแสดงของพวกเขาได้รับคำแนะนำจากหลินลี่เฟยหรือแตงกวา อาจารย์สอนวิชาภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยฯ ผู้เคยเรียนมวยไทยมาก่อน โดยหลินเผยว่านอกจากภาษา นักศึกษาควรเรียนรู้วัฒนธรรม เพื่อเข้าใจภาษาไทยอย่างถ่องแท้"นอกจากเรียนมวยไทยแล้ว ฉันมักจะทำอาหารไทย ร้อยพวงมาลัย ฉลองเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลสำคัญอื่นๆ ของไทยกับนักศึกษา ฉันมักจะแนะนำวัฒนธรรมและประเพณีไทยในชั้นเรียน ซึ่งดึงดูดความสนใจจากทุกคนอย่างมาก" หลินกล่าว[playlist type="video" ids="284059"]แม้นักศึกษาทั้งสี่เพิ่งเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 แต่พวกเขาสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว โดยหลี่เม่ยถงหรือลลิตาเผยว่าภาษาไทยไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะเป็นสิ่งที่พวกเขารัก เพราะจากละครไทยสู่อาหารไทยคลาสสิกอย่างต้มยำกุ้ง วัฒนธรรมไทยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขาด้านโจวเจี้ยนฉือหรือวีรดากล่าวว่าเธอไม่ได้เรียนแค่ภาษา แต่ยังเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนาสังคมของไทย ทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับไทยของเธอเปลี่ยนไปมาก และยิ่งทำให้สนใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้นช่วงครึ่งหลังของปีนี้ พวกเขาทั้งสี่จะเดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่ไทยเป็นเวลา 1 ปี โดยหลัวอิ่งซินเผยว่าเธอเฝ้ารอวันที่จะมาเรียนและใช้ชีวิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงหาที่เรียนมวยไทยด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง