รีเซต

รบ.เร่งพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ หลังสหรัฐฯตัดสิทธิการค้า มั่นใจไม่กระทบส่งออก

รบ.เร่งพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ หลังสหรัฐฯตัดสิทธิการค้า มั่นใจไม่กระทบส่งออก
มติชน
5 พฤศจิกายน 2563 ( 09:39 )
100
รบ.เร่งพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ หลังสหรัฐฯตัดสิทธิการค้า มั่นใจไม่กระทบส่งออก

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาพรวมการส่งออกไทยไปสหรัฐ ฯ ในปี 2562 ไทย-สหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวม 48,630.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบไทยเตรียมความพร้อมและมาตรการรองรับไว้แล้ว เช่น กระทรวงพาณิชย์เร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยด้วยการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ เช่น การเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ หรือ Online Business Matching ส่งเสริมสินค้าไทยเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเข้าสู่ผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ โดยตรง รวมทั้ง ร่วมมือกับผู้ประกอบเข้าถึงตลาดใหม่ๆ เพื่อทดแทนตลาดหลักที่เติบโตอย่างอิ่มตัวแล้ว

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยยังสามารถส่งสินค้าออกไปขายในตลาดสหรัฐ ฯ ได้ปกติ เพียงแต่ต้องกลับไปเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP จำนวน 231 รายการนั้น ไทยใช้สิทธิจริงในปี 2562 เพียง 147 รายการ มีการประเมินภาษีที่ไทยต้องเสียอยู่ที่ 600 ล้านบาท ส่วนสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ และเคมีภัณฑ์บางชนิด ซึ่งเป็นสินค้าของไทยที่มีศักยภาพการส่งออกทั้งตลาดสหรัฐ ตลาดยุโรปและเอเชีย

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เคยให้ข้อสังเกตว่า สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของสหรัฐฯนั้น เป็นการให้จากสหรัฐ ฯ เพียงฝ่ายเดียวกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดแล้ว ซึ่งวันหนึ่งอาจจะต้องหมดไป เพราะไทยสามารถเติบโตและพัฒนาสูงขึ้นจนอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางตามการรายงานของธนาคารโลก ดังนั้น รัฐบาลจึงพยายามเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เน้นการเติบโตจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งการส่งเสริมการลงทุนใน 10 + 2 อุตสาหกรรมใหม่ อุตาหกรรมหุ่นยนต์โรโบติกส์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์และสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาการเกษตร BCG สนับสนุนการจดทะเบียนสินค้าเกษตร GI ของไทย เพื่อปรับโหมดสินค้าไทย เพิ่มมูลค่าแต่ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง