รีเซต

สรุปให้ฟัง! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน พิธีกรดังเล่าหมด หวังเตือนภัย

สรุปให้ฟัง! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน พิธีกรดังเล่าหมด หวังเตือนภัย
TeaC
12 เมษายน 2565 ( 12:42 )
3.2K

ข่าววันนี้ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน!!! ภัยอันตรายที่ไม่มีใครไม่เคยเจอกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่ปรับเปลี่ยนวิธีเพื่อหลอกให้หลายคน หลากหลายอาชีพต่างตกหลุมพรางกลโกงจนกลายเป็น "เหยื่อ" สูญเสียทรัพย์จำนวนมากที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรง หรือบางคนต้องสูญเสียเงินที่สะสมมาตลอดชีวิต 

 

และหนึ่งในประเด็นร้อนสนั่นโซเชียล เมื่อพิธีกรรายการชื่อดังโพสต์เตือนภัย หลังตกเป็น "เหยื่อแก็งคอลเซ็นเตอร์" เรื่องเป็นอย่างไร สรุปให้ฟัง จะได้รับมือหากต้องเจอแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน 

 

สรุปให้ฟัง! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน

พิธีกรดังโพสต์เตือนภัย

 

1. เหตุการณ์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน เกิดขึ้นกับพิธีกรรายการชื่อดัง คือ คุณต้นอ้อ ภัทธีมา โมลบวรกุล โดยเธอได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Pattima Komolbawonkul" เพื่อเตือนภัย เป็นอุทาหรณ์ให้ทุกคนได้ระวังกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่นับวันมีรูปแบบสารพัด และมีผู้คนต่างต้องตกเป็นเหยื่อมากมาย โดยเธอเองก็ตกเป็น "เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์" เสียเงิน 1 ล้านบาท ที่เป็นเงินเก็บจากการทำงานได้มาด้วยความยากลำบาก พร้อมเธอขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการคนแบบนี้ออกไปจากสังคมไทยให้ได้

 

2. โดยรูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพของแก๊งนี้คือ อ้างตัวเองว่าเป็นตำรวจ สภ.เมืองระนอง แจ้ง "อ้อ" ว่า ตัวเธอเป็นผู้ต้องหาคดีฟอกเงินระดับประเทศ เป็นคดีอาญา เมื่อเธอได้ยินคำนี้ ตกใจมาก เพราะตัวเธอเองไม่เคยทำสิ่งผิดกฎหมายใด ๆ เลย  

 

3. และเธอได้พูดคุยกับมิจฉาชีพไปว่า ไม่เคยทำเรื่องทุจริต แต่มิจฉาชีพบอกว่า มีชื่ออ้อเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาที่ต้องดำเนินคดี จากนั้นเธอได้ถามไปว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า เขา (มิจฉาชีพ) คือ ตำรวจจริง จากนั้นเขาข่มขู่ว่า จะเพิ่มคดีข้อหาหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ ซึ่งรูปแบบที่มิจชาชีพใช้จะทำทุกอย่างให้เหยื่อเกิดความ "กลัว"

 

4. เธอยังโพสต์ต่อว่า  โจร (ปลอมเป็นตำรวจ) บอกว่า ถ้าเธอไม่ได้ทำ และอยากยืนยันความบริสุทธิ์ ต้องให้ความร่วมมือกับตำรวจในการให้ข้อมูลและปากคำทุกอย่าง ห้ามปิดบัง และต้องเป็นข้อมูลจริง หากตรวจพบว่าโกหก บอกไม่ครบ จะโดนคดีให้ความเท็จ โดยโจร (ปลอมเป็นตำรวจ) จะทำการบันทึกเสียงอ้อในการให้ปากคำ หากอ้อไม่ให้ความร่วมมือเขาจะดำเนินคดีและออกหมายจับอ้อ ข้อหาขัดขืนคำสั่งตำรวจ

 

5. ตอนนั้นเธอเกิดความกังวลและกลัว เนื่องจากโจรขู่สารพัดเพื่อให้เธอหลงเชื่อ เธอเลยขอเขาดูบัตรตำรวจก่อนให้ปากคำ โจรเลยแอดไลน์เธอและส่งรูปบัตรตำรวจมาให้เธอทางไลน์ และเขาก็พูดหมายเลขคดี รายละเอียดคดี รวมถึงกลุ่มคนที่แอบอ้างชื่อถึงเรา ส่งรูปผู้ต้องหามาให้เราดู  โจรพูดทุกทางให้เธอหลงเชื่อ

 

และนี่คือกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพที่มักจะสร้างความกลัวให้กับเหยื่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบที่ถูกพบบ่อยและมีเหยื่อหลงกลหลากหลายรายตามที่ปรากฎเป็นข่าวให้เห็น ซึ่งหากเจอกลโกงรูปแบบนี้ต้องตั้งสติ และจำขึ้นใจไว้เสมอว่า "ไม่เชื่อ ไม่โอน" 


6. หลังจากนั้นเขาสอบสวนเธอต่อ ประมาณครึ่งชม. มิจฉาชีพ (ปลอมตำรวจ) บอกต้องยึดเงินของเธอไว้เพื่อเป็นของกลางก่อน เพื่อตรวจสอบกับ ปปง.ก่อนว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์จริง เขาให้เธอโอนเงินไปให้เขาทั้งหมดจำนวนเงินกว่าล้านบาท

 

หมดบัญชีอ้อเลยคะ ตอนนั้นเราคิดว่าเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และให้ความร่วมมือกับตำรวจ เราจึงปฎิบัติตามคำสั่งโจร (ปลอมเป็นตำรวจ)

 

7. หลังจากเขาวางหูไป เธอได้เข้าไปดูในไลน์เขา เขาลบข้อมูลที่ส่งมาให้เธอออกหมด เธอถึงได้ทราบว่า เราโดนหลอกแล้ว


8. แต่เธอได้เก็บหลักฐานไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว และบันทึกเสียงเขาเอาไว้ จากนั้นเธอได้ส่งมอบหลักฐานทั้งหมดให้กับตำรวจเพื่อดำเนินคดีต่อไป ในระหว่างที่เธอรอแจ้งความมีผู้เสียหายที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ชื่อเดียวกันใช้มุกแบบเดียวกัน หลอกให้โอนเงินเหมือนกันเข้ามาแจ้งความอีก 4 คน


9. พิธีกรรายการชื่อดัง ทิ้งท้ายว่า

 

การที่เรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจกับตำรวจ (โจรปลอมเป็นตำรวจ) เราอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้  มิจฉาชีพมีเล่ห์เหลี่ยมเยอะมาก เพื่อทำให้เราหลงเชื่อทุกทาง ทำให้เราสูญเสียเงินมากมาย เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นกับเรา หรือ อาจเกิดกับคนใกล้ตัวเรา หรือคนในครอบครัวเรา อ้อเขียนไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ตัวเองและคนอื่น ๆ ที่อาจโดนหลอกแบบนี้


#ให้สังคมลงโทษคนแบบนี้ #โดยเฉพาะเหตุการณ์แบบนี้  
#บทเรียนครั้งยิ่งใหญ่

 

พิธีกรเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตอบทั้งน้ำตา "เงิน 1 ล้าน ไม่ได้หามาง่าย ๆ"

10. ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 12 เม.ย. 65 ที่ สน.ทองหล่อ ทางด้านผู้เสียหาย ชื่อ น.ส.ภัทธีมา โกมลบวรกุล อายุ 37 ปี อาชีพพิธีกร และขายของออนไลน์ เดินทางเข้ามาให้ปากคำเพิ่มเติมกับตำรวจ เพื่อดำเนินคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน

 

11. โดยเมื่อผู้สื่อข่าวข่าวสเถามว่า "กว่าจะเก็บเงินได้ 1 ล้านบาท ยากหรือไม่" เรื่องนี้เธอให้สัมภาษณ์ตอบทั้งน้ำตาว่า เงิน 1 ล้าน ที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไป กว่าจะได้มาแต่ละบาท ยากลำบากมาก ตนทำงานสุจริต ทั้งขายของออนไลน์ ทำพิธีกร เป็นเสาหลักของบ้าน

 

12. เธอยังเล่าต่อว่า เมื่อวานนี้ร้องให้ตลอด นอนไม่หลับ รู้สึกเสียใจ เงิน 1 ล้าน ไม่ได้หามาง่าย ๆ ตอนนี้เงินหมดทุกบัญชี เครียดมาก คิดว่าจะเอาเงินที่ไหนกินข้าว

 

13. เข้าใจเลยว่าคน ที่ไม่มีเงินเหลือเลย แม้แต่บาทเดียวในบัญชี มีความรู้สึกยังไง ตอนนี้ก็ทำใจไว้บ้าง ว่าอาจจะไม่ได้เงินคืนมา มันจะเป็นบทเรียนสำคัญ แต่ถ้าได้คืนมาก็รู้สึกดีใจ

 

14. ที่ผ่านมาเธอได้ติดตามข่าวบ้าง พอรู้บ้างว่ามิจฉาชีพจะมาในลักษณะไหน แต่เหตุการณ์นี้ เธอเคยเจอมาเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ตอนนั้นมีคนแอบอ้างนำชื่อไปใช้ในทางที่ผิด เธอก็เลยคิดว่าครั้งนี้จะเกิดขึ้นอีกแล้ว จึงทำให้เชื่อไปทั้งหมด อยากให้มิจฉาชีพ ทำงานที่สุจริต

 

14 กลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์  รู้เท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อชัวร์

สำหรับรูปแบบกลโกงที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน ใช้ หากเจอแบบนี้ "ไม่เชื่อ ไม่โอนไว"

 

  1. หลอกขายของออนไลน์ 
  2. Call Center หลอกลวงข่มขู่ อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ให้เหยื่อโอนเงินให้ 
  3. เงินกู้ออนไลน์ดอกเบี้ยโหด 
  4. เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) 
  5. หลอกให้ลงทุนต่างๆ โดยอ้างผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง
  6. หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ 
  7. Romance scam หรือ Hybrid scam หลอกให้รักลวงเอาทรัพย์สิน ลวงให้ลงทุน 
  8. ลิงก์ปลอมหลอกแฮกข้อมูลโทรศัพท์ 
  9. แชท Line/Facebook ปลอม Account ลวงยืมเงิน
  10. หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว - OTP 
  11. ข่าวปลอม (Fake news) - ชัวร์ก่อนแชร์ 
  12. หลอกลวงเอาภาพโป๊เปลือยเพื่อใช้แบล็คเมล์ 
  13. โฆษณาออนไลน์ลวงทำงาน หลอกบังคับทำงานในต่างประทศ
  14. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หรือฟอกเงิน

 

โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน ทําไง?

  • แจ้งความผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
  • นัดหมายเข้าให้ปากคำกับสถานีตำรวจที่มีอำนาจในการสอบสวน 

 

นอกจากแจ้งความผ่านช่องทางออนไลน์แล้วประชาชนยังสามารถเดินทางเข้าแจ้งความได้ที่ศูนย์ศปอส.ตร. เมืองทองธานี จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องรวมถึงสอบปากคำ  ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบจะมีขั้นตอนการอายัดบัญชีคนร้ายในทันที ด้วยการประสานงานร่วมกับ ผู้ประสานงาน ระหว่างสมาคมธนาคาร 21 แห่ง และ ปปง. 

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการรับมือเมื่อเจอแก็งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงิน คือการมีสติและ "ไม่เชื่อ ไม่โอนเงินไว"

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง