รีเซต

สรุปประเด็นบลิงเคนเยือนไทย ย้ำ ไม่กดดันให้เลือกข้าง แค่เสนอทางเลือก

สรุปประเด็นบลิงเคนเยือนไทย ย้ำ ไม่กดดันให้เลือกข้าง แค่เสนอทางเลือก
TNN ช่อง16
11 กรกฎาคม 2565 ( 12:36 )
101

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนไทยครั้งแรก นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง และเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน หลังนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน เยือนไทยช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา การเยือนครั้งนี้ สำคัญอย่างไรและสหรัฐฯ ต้องการอะไรจากไทย 


นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับนายบลิงเคน โดยสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสำคัญของความเป็นพันธมิตรไทย-สหรัฐฯ ที่มีมายาวนาน 


---สองรัฐมนตรีได้ร่วมลงนามในเอกสารสำคัญสองฉบับ คือ---


1. Thailand-United States Communiqué on Strategic Alliance and Partnership


แถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลากหลายมิติ มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ  ที่มีร่วมกันในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เสรี เปิดกว้าง ยั่งยืน และทุกประเทศมีส่วนร่วม 


2. Memorandum of Understanding on Promoting Supply Chain Resilience 


บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน เอกสารดังกล่าวเป็นผลมาจากความสนใจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ในด้านห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น หลากหลาย และมั่นคง นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงผลประโยชน์ร่วมกัน


แก้ไขจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทาน ลดการหยุดชะงักในการผลิตและขนส่ง ตลอดจนทำให้แน่ใจว่าทั้งประชากรของเราสองประเทศและตลาดทั่วโลกสามารถเข้าถึงสินค้าที่สำคัญ  ได้


---หารือเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน---


ก่อนเดินทางกลับ บลิงเคนได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไทยและต่างชาติ โดยกล่าวว่า การเดินทางมาไทยนั้น มีการวางแผนมาหลายเดือนก่อนแล้ว แต่ต้องล่าช้าออกไปเพราะโควิด ดังนั้นเขาจึงยินดีที่ได้มาที่นี่


บลิงเคนกล่าวว่า สหรัฐฯ คือ ตลาดส่งออกที่ใหญ่สุดและเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่สุดอันดับสามของไทย ความพยายามใหม่  ที่เปิดตัวในวันนี้ จะช่วยกระตุ้นห่วงโซ่อุปทาน และทำให้เศรษฐกิจของสองชาติแข็งแกร่งขึ้น รวมถึงจะทำในระดับภูมิภาค ผ่านกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก 


บลิงเคนกล่าวด้วยว่า ระหว่างการเยือน ได้มีการหารือเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนด้วย หนึ่งในจุดแข็งของประชาธิปไตย คือ ความสามารถในการยอมรับจุดด้อย และทำงานเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น  


สะท้อนให้เห็นได้จากการลงนามแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตอกย้ำว่า ทั้งสองชาติจะช่วยกันทำให้สังคมเสรีและเปิดมากขึ้น เช่น มีภาคประชาสังคมที่เป็นอิสระ และมีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม


---ผลักดันให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติห้าข้อของอาเซียน---


นอกจากนี้ ไทยและสหรัฐฯ จะตอบสนองในวิกฤตและความท้าทายของภูมิภาค โดยสหรัฐฯกำลังทำร่วมกับไทยและอาเซียน ในการผลักดันให้เมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติห้าข้อของอาเซียน ยุติการใช้ความรุนแรงแฃะกลับมาสู่เส้นทางประชาธิปไตย


ขณะเดียวกัน บลิงเคนได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า สหรัฐฯ จะช่วยฟื้นฟูประชาธิปไตยในเมียนมาอย่างไร เพราะผ่านไปกว่าปีแล้ว มาตรการคว่ำบาตรเมียนมาของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะไม่ได้ผล


บลิงเคนยอมรับว่า ยังคงเห็นการกดขี่และความรุนแรงในเมียนมาอยู่ ซึ่งส่งผลต่อไทยด้วยเช่นกัน เพราะชาวเมียนมาหนีความรุนแรงเข้ามา 


ที่ผ่านมา ไทยได้ช่วยเหลือที่ชายแดน แต่ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีก คือ ทุกประเทศต้องพูดชัดเจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเมียนมา และการทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาต้องปฏิบัติตามฉันทามติหาข้อนั้นสำคัญ ซึ่งตอนนี้ยังไม่สำเร็จ และยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวในทางบวก


---สหรัฐฯ ยังไม่ระบุว่าใครจะร่วมประชุมเอเปค ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ---


ขณะเดียวกัน ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งทางการจีนยืนยันว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจะมาร่วมประชุมด้วยตนเอง 


อย่างไรก็ตาม ด้านประธานาธบิดีโจ ไบเดน กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่าใครจะมาในนามสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ให้ความสนใจต่อการประชุมเอเปคมาก และได้มีการหารือกับไทยแล้วเกี่ยวกับบทเรียนต่าง  เพราะสหรัฐฯ จะรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพในปีหน้า


---สหรัฐฯ รวมกลุ่มคล้ายนาโตในเอเชียหรือไม่?---


สำหรับอีกประเด็นที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจคือ ข้อกังวลที่ว่า สหรัฐฯ กำลังพยายามสร้างการรวมกลุ่มคล้ายนาโตในเอเชียหรือไม่ ซึ่งบลิงเคนกล่าวว่า สหรัฐฯ มีพันธะสัญญา วิสัยทัศน์และอนาคตร่วมกับประเทศอื่น  ในภูมิภาคนี้


หนึ่งในนั้น คือ ภูมิภาคที่เสรี เปิดกว้างและมั่นคง ซึ่งหมายความว่า ผู้คน สินค้า การลงทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้เสรีและไปไหนก็ได้ที่จำเป็น ประเทศต่าง  สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เกี่ยวกับอนาคตและนโยบายของตนเอง ประชาชนในชาติเหล่านั้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเสรี พูดได้อย่างเสรี และปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต นี่คืออนาคตที่เรากำลังพยายามสร้าง


สหรัฐฯ ได้ดำเนินการเรื่องนี้ในหลายทาง เช่น ร่วมมือกับอาเซียนและเอเปค และทำงานผ่านความริเริ่มใหม่ เช่น ควอด ที่มีอินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลียร่วมด้วย นอกจากนี้ ยังร่วมกันเพื่อผลิตและแจกจ่ายวัคซีนเพื่อรับมือกับโควิด-19 ด้วย โดยทำงานผ่านกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก เพื่อตอบโจทย์ปัจจัยต่าง  ที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 


ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลต่อชีวิตของประชาชนของทุกประเทศ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย  การทำให้ห่วงโซ่อุปทานมั่นคง กฎกติกาสำหรับการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ปกป้องสิทธิส่วนตัวและให้เสรีภาพ ไม่ใช่ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการกดขี่ และต้องทำให้แน่ใจว่า ธรรมาภิบาลนั้น มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ของเรา


ท้ายสุด บลิงเคน ย้ำว่า นี่ไม่ใช่การเรียกร้องหรือย้ำให้แต่ละประเทศต้องเลือก แต่เป็นการเสนอทางเลือกแก่พวกเขามากกว่า

—————

แปล-เรียบเรียงธันย์ชนก จงยศยิ่ง 

ภาพ: Reuters

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง