รีเซต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : เปิดแนวคิด “ครูกลางทะเล” โอกาสเด็กสำคัญกว่าโอกาสรวย

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : เปิดแนวคิด “ครูกลางทะเล” โอกาสเด็กสำคัญกว่าโอกาสรวย
TNN ช่อง16
2 กรกฎาคม 2566 ( 06:00 )
100

“แม่ ได้ยินมั้ยคะ จะมารับน้องไปเรียนน่ะค่ะ ทำไมไม่ให้น้องไปเรียนคะ”



และทุกครั้งที่เราไปบ้านเด็ก เราเห็นความลำบาก ความยากจนของเค้านะคะ มันก็ใจหายเหมือนกัน แต่มันก็ไม่เศร้าเท่ากับว่าบางครอบครัวไม่พร้อมที่จะให้ลูกเรียน ยากจน มีลูกเยอะ เราเข้าไปเราไปถามเราไปชวนเค้าเรียน ลูกเค้าเรียนเก่งเรียนดีมาก มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ ช่วยเหลือครอบครัวอย่างดี แต่ว่าพอเราไปชวนให้คำแนะนำเค้าก็บอกว่าโอเคเดี๋ยวให้เรียน ครูไม่ต้องห่วงเค้าเห็นความสำคัญเค้าก็ให้เรียน แต่พอเรากลับออกมาเค้าก็ไม่ได้ปล่อยให้เด็กมาเรียน เราก็กลับย้อนเข้าไปอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าเด็กก็ไม่ได้เรียน ต้องทำงาน ต้องอยู่ที่บ้านแล้วก็ทำงานด้วยอะไรอย่างนี้  


ในขณะที่เด็กบางครั้งแอบจับแขนเราแล้วก็ไลน์หาเราว่าอาจารย์ช่วยหนูหน่อย ช่วยพูดกับคุณพ่อหน่อยให้หนูได้เรียน ก็ไม่ได้เยอะมาก แต่มันทำลายหัวใจเรา  บางครั้งก็สำเร็จ อันที่ไม่สำเร็จครูก็มาแอบร้องไห้กันต่อ






แม่นักเรียนรายหนึ่ง ระบุว่า บ้านก็ติดหนี้ติดสินเค้า แม่ก็บอกว่าแม่ไม่มีจริงๆ บอกแล้วถ้าจะเรียนก็ต้องทนลูก ถ้าไม่ทนแม่ก็ไม่มีให้ ออกไปไปโรงเรียนบางทีก็ไปกินข้าวในโรงเรียน กลับมาก็กินข้าวโรงเรียน ก็ได้ทุนกินอาหารกลางวันฟรี พออาจารย์มาที่บ้าน อาจารย์ได้รู้ว่าบ้านเป็นยังไง


“แม่ไม่ต้องห่วงนะคะ เดี๋ยวครูจะพาลูกของแม่ไปดูแลเอง ให้เขาเติบโตเป็นคนดี” ครูกล่าว


นางเกษร ปะลาวัน  ยังบอกอีกว่า  เด็กของมหาวิทยาลัยชุมชนเนี่ยมาหลากหลายมาก มาลักษณะจนไม่มีเรียนแต่อยากเรียน โทรมาอาจารย์ครับ ผมขออีกรอบหนึ่งได้ไหม พอดีมีลูกค้า คือเค้าขับรถสองแถว ดังนั้นช่วงเช้าเค้าจะวิ่งได้แค่สองเที่ยว ถ้าเที่ยวที่สามแปลว่าเค้ามาสาย เค้าก็โทรหาเราบอกว่าขออีกเที่ยว เราก็โอเคอย่าช้าเกินแล้วกัน ข้อตกลงในการเรียนอะไรอย่างเนี่ยมันไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัย


เด็กยากจนมีรายได้รวมทั้งบ้านไม่ถึง 3,000?


มันดูไม่น่าเป็นไปได้ ตอนรุ่นแรกนะคะรุ่นที่ 1 พอเราได้โครงการนี้มา เราก็ดูคุณสมบัติก็คิดว่าจะมีไหม น่าจะไม่มี คิดกันในทีมงานนะคะ ว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,000 บาท แล้วเรียนเก่ง เกรดต้องไม่ต่ำกว่า 3.00 จะมีไหม แต่เราก็ศึกษาแล้วก็ถามข้อมูลไปเรื่อยๆ เมื่อลงพื้นที่จริงๆ สิ่งที่เราคิดอ่ะมันไม่ใช่


คือเวลาเราทำงานนะคะ เราก็จะแบ่งเป็นทีมลงพื้นที่ไป ทุกคนก็คิดเหมือนกันค่ะว่ามันจะมีความลำบากขนาดนี้จริงไหม และเมื่อเราลงจริงๆ เมื่อเราพบจริงๆ เด็กในครอบครัวมีรายได้น้อยหรือบางคนไม่เพียงแค่จนเงินนะคะ บางครั้งจนตัวอื่นด้วย อย่างเช่นความรักอะไรหลายๆ อย่าง บางคนถูกทอดทิ้ง บางคนปล่อยให้อยู่กับย่า ดังนั้นทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บางครั้งพี่มันอยู่ใกล้บ้านหนูอ่ะแต่หนูไม่รู้ว่ามันมีลำบากอย่างนี้จริงๆ






ความยากลำบากของการลงพื้นที่ที่อาจารย์เจอมาหรือว่าทีมเจอมา มันคืออะไรบ้าง?


ถามว่ายากลำบากไหมมันก็ไม่ได้ยากมากอ่ะนะคะ แต่ว่าของเราในบนบกนะคะก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเพราะว่าเส้นทางระยะทาง ส่วนใหญ่แล้วถนนหนทางก็ดีอยู่ แต่ว่าตามเกาะต่างๆ ที่เราก็จะต้องลงเรือไปเพื่อที่จะไปค้นหาเด็ก เมื่อได้เด็กแล้วก็ต้องไปเยี่ยมเด็ก หรือไปดูบ้านของเด็ก บางครั้งก็อาจจะมีอุปสรรคบ้างนะคะถ้าเราไม่วางแผนการเดินทางให้ดี ก็ดูตามสถานการณ์ มีที่เค้าสนับสนุนช่วยเหลือส่งเสริมมา เราก็เอาของฟรี บางครั้งเราจำเป็นต้องลงแล้ว แต่เราไม่มี เราก็ต้องจ่ายไปด้วย








ความยากลำบากของ “ครู” คือ ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย 


ถ้าถามความยากของครูอ่ะ ลำบากแค่ไหนไม่เป็นไร ยากก็คือผู้ปกครองไม่เห็นด้วย ไม่อยากให้เด็กเรียน นั่นคือพี่ว่ายาก แต่ถ้าเดินทางยาก ไปลำบาก ไปหาทำเยอะๆ เนี่ยไม่ยาก จะเจออุปสรรคอะไรเราไม่ถือว่ายาก


นางเกษร ปะลาวัน  ระบุว่า เราก็รู้ว่ามันไม่พอ ท่านผู้อำนวยการก็เลยเรียกอาจารย์มาพูดคุยกันว่าจะทำยังไง เราก็เสนอกันว่าน่าจะมีครูพ่อครูแม่ ครูหนึ่งคนดูแลเด็ก 3-5 คน ครูพ่อครูแม่ก็คือดูแลเชิงลึก มัน 30 คนถึง 40 คนเราอาจจะดูแลไม่ไหว เริ่มตั้งแต่ในเรื่องของการเงิน ดูแลในเรื่องของการใช้จ่ายเงิน การทำบัญชี ดูแลในเรื่องของสุขภาพ ในเรื่องของปัญหาอะไรของเค้าต่างๆ บางครั้งปัญหามันดูเป็นเรื่องเล็ก แต่บางทีมันก็เรื่องใหญ่ พี่ก็สังเกตบางทีตอนที่เขามาใหม่ๆ บางทีพี่ก็กอดเค้าอะไรเค้า เค้าก็จะฝืนๆ นะ เหมือนว่าไม่ตอบรับการกอดของเรา ก็ไม่เป็นไร ก็เรื่อย ๆ นะ พี่ก็กอดเขาหลายครั้งนะ จนครั้งสุดท้ายเขาก็กอดกลับ เค้าบอกว่าในชีวิตหนูไม่มีใครโดนกอด



ตอนแรกเราก็เอ๊ะ ทำไมเรากอดแล้วมันฝืนๆ แข็งๆ ดังนั้นเมื่อเขารู้สึกว่าไม่มีคนรัก มีคนมาถูกแย่งความรักอะไรอย่างนี้มันยิ่งใหญ่มาก แล้วเค้าก็ปล่อยโฮ พี่ก็ตกใจทำไมร้องดัง เค้าบอกชีวิตเขาไม่เคยโดนกอดอะไรอย่างนี้ แค่การกอดสามารถพลิกชีวิตคนได้


มันเหนือกว่าการสอนเราจะต้องบอกแต่วิชาการว่าอย่างนี้ๆ แต่ที่สำคัญเราต้องรู้เค้า เคยรู้สึกผิดครั้งหนึ่งตอนที่เป็นครูใหม่ๆ นะคะ เค้ามานั่งเรียนแล้วนั่งหลับในห้อง เราก็เอ๊ะทำไมมานั่งหลับ ทำไมถึงไม่สนใจเรียน แล้วเมื่อคืนไปทำอะไรมา ถ้านั่งหลับก็กลับไปนอนดีกว่าไหม อะไรอย่างนี้ พอเรารู้อ่ะวิ่งแล้วเข้าไปร้องในห้องน้ำเลย เด็กต้องทำงานทั้งคืน ได้นอนตอนตีสี่ เค้าต้องมาเรียนอ่ะ เค้าต้องใช้ความพยายามแค่ไหน 


ครั้งนั้นแหละ พี่ได้เรียนรู้ว่า ก่อนที่พี่จะสอน พี่ยอมเสียเวลาที่จะพูดคุยกับเค้าว่า หนูชื่ออะไร บ้านอยู่ที่ไหน พ่อแม่ทำอะไร มีครอบครัวแล้วยัง อาชีพอะไร มีความเป็นอยู่อะไรยังไง เราคุยกับเขาเบื้องต้นแค่นี้นะคะ แล้วเดี๋ยวเราก็จะรู้ว่าคนไหนที่เราต้องเจาะลึก




เงินที่โอนเข้ามาทั้งหมดเข้าบัญชีเด็กหมดเลย 100%


รายละเอียดของทุนที่เค้าจะให้กับนักศึกษาเนี่ย เราจะแจ้งให้กับนักศึกษาและผู้ปกครองและครูทุกคนทราบ มันก็เป็นเรื่องเปิดเผย แล้วคราวนี้การใช้จ่าย เราจะให้เด็กเค้าใช้จ่ายโดยตรง เงินที่โอนเข้ามาทั้งหมดเข้าบัญชีเด็กหมดเลย 100% การจ่ายของเด็กทุกบาททุกสตางค์เด็กจะเป็นผู้ควบคุมเอง ทุกบัญชีที่เปิดขึ้นจะเป็นบัญชีชื่อของเด็ก มันจะเป็นอย่างนี้

แล้วก็ผู้ปกครองก็กำหนดให้เป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่คอยติดตามการใช้จ่ายของลูกด้วยในการคัดเลือกครูคัดเลือกบุคลากร อันดับแรกคือเราต้องคัดคนดีที่มีหัวใจในการทำงาน ครูสอนมากกว่าสอนหนังสือ ครูเป็นครูมากกว่าเป็นครูปกติ ครูต้องทำงานมากกว่าครูทั่วไป แล้วก็ครูก็จะทำในกิจกรรมต่างๆ เป็นผู้นำในเรื่องของความดี อันนี้มันมีอยู่ที่วิทยาลัยชุมชนสตูลอยู่แล้ว




นางเกษร ปะลาวัน  บอกว่า เมื่อสอนเด็กก็มีความสุข  เวลาสอนเด็กอ่ะมีความสุข แต่ว่าภาระงานเราเยอะบางครั้งเรายังรู้สึกเลยว่าเดี๋ยวไปประชุมทำนู่นทำนี่ แล้วเมื่อถึงเวลาสอนถ้าวันไหนที่เราไม่ได้เตรียมการสอนอย่างเต็มที่เราจะรู้สึกเหนื่อย เราจะรู้สึกผิด คือวันไหนที่เราได้เตรียมการสอนเนี่ยเราจะมีความสุข


แม้วันก่อนน่าจะต้องลงพื้นที่เหนื่อยแค่ไหน? 


ใช่! แต่ขอให้มีเวลาเตรียมการสอนบ้าง แต่ครูวิทยาลัยเนี่ยมันเต็มที่มาก ถ้าเวลาเซ็นชื่อก็คือเหมือนคนอื่น 8 โมงถึง 4 โมงครึ่งถึง 5 โมง แต่เวลาเพราะเป็นครูของเรามันไม่ใช่เวลาที่เรามาเซ็นชื่อนะคะ ถ้าเด็กโทรมาบางครั้งเราดูในไลน์ว่า กลางคืนเค้าก็ทักมา ถ้าเค้าทักมาแปลว่าเขาไว้วางใจเราแล้วไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม เราก็ต้องคุยต้องพูดกับเขา พี่ว่านั่นก็คือหน้าที่ของครูเหมือนกัน แต่มันอาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาที่เรามาเซ็นชื่อปฏิบัติงาน




แค่จำ “ครู” ได้ “ครู” ก็ดีใจแล้ว


นางเกษร ปะลาวัน  บอกถึงความภูมิใจของครู ก็คือ บางครั้งเมื่อเราไปเจอเค้า  อาจารย์จำหนูได้ไหม หนูคนที่อาจารย์ให้ข้าว มันเหมือนว่าพี่ก็จำไม่ค่อยได้นะ แต่ว่าเค้าก็เล่าว่า หนูปวดท้องหนูไม่มีข้าวกิน อาจารย์ซื้อข้าวให้ แต่ตอนนั้นพี่ก็อ๋อ พี่ก็นึกขึ้นมาได้ว่าจริงๆ ที่พี่ซื้อข้าวให้ ก็เข้าใจว่าเค้าปวดท้องโดยไม่ได้ทานข้าว ก็เลยซื้อข้าวให้ เพราะหนูจะได้ทานยาอะไรอย่างนี้ แต่จริงๆแล้วเราไม่รู้ว่าเค้าไม่ได้กินข้าวมาสองวันแล้ว มันผ่านมาหลายปี 4-5 ปี เมื่อเขามาเจอเรา เค้าเล่าว่าข้าวหนึ่งมื้อมันช่วยอะไรเค้า เหมือนว่าสิ่งเหล่านั้นก็ใส่อยู่ในหัวใจเรามาตลอดกับการที่ทำ (ช่วยเหลือ) เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้



ข่าวที่เกี่ยวข้อง