รีเซต

เดินหน้าประกาศ สธ.ห้ามขาย-นำเข้า-สูบ"บุหรี่ไฟฟ้า"

เดินหน้าประกาศ สธ.ห้ามขาย-นำเข้า-สูบ"บุหรี่ไฟฟ้า"
TNN ช่อง16
23 กุมภาพันธ์ 2566 ( 21:35 )
146
เดินหน้าประกาศ สธ.ห้ามขาย-นำเข้า-สูบ"บุหรี่ไฟฟ้า"

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งผลักดันประกาศกระทรวงครอบคุลมการห้ามขาย ห้ามนำเข้า และห้ามสูบ"บุหรี่ไฟฟ้า" ซึ่งขณะนี้บุหรีไฟฟ้าเป็นที่นิยมในเยาวชนมากขึ้น แต่ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า ไม่เป็นอันตราย ทั้งที่นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติด ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง 



นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในช่วงหนึ่งระหว่างประธานเปิดการประชุม “มหกรรมวิชาการฟ้าใส 2566” ครั้งที่ 13   เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า  ว่า  บุหรี่ไฟฟ้ากำลังแพร่หลายในกลุ่มเด็กและเยาวชน จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 80,000 คน และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี และมีประชาชนจำนวนมากยังไม่ทราบว่า นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติด ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ก่ออันตราย ไม่ก่อมะเร็ง ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า ก่อให้เกิดอันตรายเหมือนกัน  ซึ่กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามผลักดันกฎกระทรวงสาธารณสุข ที่จะนำมาจำกัดการใช้บุหรี่ไฟฟ้าให้ครอบคลุมในรายละเอียดทั้ง ห้ามจำหน่าย จ่าย แจก ห้ามนำเข้า ห้ามสูบ  ซึ่งได้เสนอเข้าสู่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้วก่อนนำเข้าครม.พิจารณา   คาดว่าน่าจะมีการพิจารณาใน 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนยุบสภา และแม้ประกาศยุบสภาไปแล้วกฎกระทรวงดังกล่าวก็ยังจะมีผลบังคับใช้ และยังเตรียมบรรจุยาเลิกบุหรี่ให้ครอบคลุมในระบบหลักประกันสุขภาพด้วย 


ขณะที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ระบุว่า  ข้อมูลของเครือข่ายวิชาชีพแพทย์แผนไทยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 25 โรค และยังทำให้รัฐบาลต้องเสียค่ารักษาพยาบาลมากกว่าภาษีถึง 3 เท่า และยังพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าคือจุดเริ่มต้นให้หลายคนเริ่มลองสูบบุหรี่ธรรมดามากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเยาวชนที่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 7 เท่า ในจำนวนนี้ร้อยละ 72 หันมาใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย และร้อยละ 53 มีภาวะป่วยซึมเศร้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง