รีเซต

อังกฤษขึ้นบัญชีปลาหมึกยักษ์-กุ้งล็อบสเตอร์เป็นสัตว์มีความรู้สึก

อังกฤษขึ้นบัญชีปลาหมึกยักษ์-กุ้งล็อบสเตอร์เป็นสัตว์มีความรู้สึก
TNN ช่อง16
23 พฤศจิกายน 2564 ( 12:11 )
53
อังกฤษขึ้นบัญชีปลาหมึกยักษ์-กุ้งล็อบสเตอร์เป็นสัตว์มีความรู้สึก

สำนักข่าว BBC และ CNN รายงานถึงกฎหมายใหม่นี้ของสหราชอาณาจักร ที่หมายความว่า จะไม่สามารถต้มพวกมันทั้งเป็น และต้องฆ่าพวกมันอย่างเหมาะสม ไม่ให้พวกมันเจ็บปวด


---กุ้งและปลาหมึกก็มีหัวใจ เจ็บเป็น---


ผู้เชี่ยวชาญหลายคนของมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน หรือ LSE ได้ตรวจสอบผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 300 ชิ้น เพื่อพิสูจน์ว่าสัตว์จำพวกปลาหมึก (cephalopod) อาทิ ปลาหมึกยักษ์ ปลาหมึก และ หมึกกระดอง และสัตว์จำพวกกุ้ง (decapod) ทั้ง ปู กุ้งล็อบสเตอร์ และกั้ง มีความรู้สึกจริงหรือไม่


ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรได้ขึ้นบัญชี สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ถือเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกภายใต้กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ฉบับใหม่ ที่กำลังพิจารณาอยู่ในตอนนี้


และมาวันนี้ “วิทยาศาสตร์ฟันธงแล้วว่า สัตว์จำพวกปลาหมึกและกุ้ง รู้สึกเจ็บปวดได้ ดังนั้น พวกมันจะได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายนี้ด้วย” รัฐมนตรีสวัสดิภาพสัตว์ ระบุในแถลงการณ์


กฎหมายนี้ มีชื่อว่า สวัสดิภาพสัตว์ที่มีความรู้สึก ยังไม่ผ่านเป็นกฎหมายอย่างเป็นทางการ แต่หากได้รับการอนุมัติ ก็จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการสัตว์ที่มีความรู้สึก เพื่อจัดทำรายงานต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติต่อสัตว์ที่เคาะแล้วว่ามีความรู้สึกเหล่านี้


ในรายงานเบื้องต้น ระบุว่า ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ กุ้งล็อบสเตอร์สัตว์จำพวกปู และปลาหมึกยักษ์ ต้องไม่ถูกต้มทั้งเป็น เพื่อนำไปประกอบอาหาร ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องพิจารณาการขนส่งแบบใหม่ การน็อคน้ำ และการฆ่าที่ให้พวกมันเจ็บปวดน้อยที่สุดด้วย


---แล้วพวกมันมีความรู้สึกได้ยังไง---


คณะผู้เชี่ยวชาญจาก LSE ใช้ 8 วิธีการเพื่อประเมินการมีความรู้สึกของ cephalopod และ decapod รวมถึง การเรียนรู้ การมีประสาทรับความเจ็บปวด, ความเชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความเจ็บปวดกับสมอง, พวกมันตอบสนองต่อการวางยาสลบหรือไม่, พฤติกรรมต่อภัยอันตราย และการป้องกันตัวเองจากอาการบาดเจ็บ


ผลการศึกษาพบ หลักฐาน ‘แข็งแรงมาก’ ว่า สัตว์จำพวกปลาหมึกยักษ์มีความรู้สึก ส่วนสัตว์จำพวกปูส่วนใหญ่ มีหลักฐาน ‘ค่อนข้างแข็งแรง’ ว่ามีความรู้สึก ส่วนสัตว์อย่าง ปลาหมึก หมึกกระทอง และล็อบสเตอร์นั้น มีหลักฐานว่ามีความรู้สึก แต่ยังไม่แน่ชัดมากนัก


หากใครเคยได้รับชมสารคดีบน Netflix ชื่อ ‘My Octopus Teacher’ ที่แสดงให้เห็นว่า ปลาหมึกยักษ์มีพฤติกรรมการเรียนรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ รวมถึงอาจมีความสามารถที่จะฝันได้ แม้ว่าพวกมันจะมีสมองต่างจากมนุษย์มาก

—————

แปล-เรียบเรียง: ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล

ภาพ: Diane Picchiottino


ข่าวที่เกี่ยวข้อง