วัคซีนโควิดล็อตแรกจาก "แอสตร้าเซนเนก้า" ถึงไทย ปลาย ก.พ.นี้
วันนี้ (23 ม.ค.64) คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ลงนามขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตแรก ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย. ไทยแล้ว หลังจากคณะกรรมการฯได้มีการพิจารณาข้อมูลเอกสารการขอขึ้นทะเบียนก้ามากกว่า 18,000 หน้า โดยเน้นหลัก 3 ข้อหลัก ในการพิจารณา คือเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยการใช้วัคซีน
ทั้งนี้ การอนุญาตขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 เป็นการอนุญาตการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีอายุการของขึ้นทะเบียน 1 ปี
โดยอนุมัติให้ใช้ในบุคคลที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ห้ามใช้ในกลุ่มสตรีมีครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องติดตามผลผู้ที่ได้รับวัคซีน ทั้งผลข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน
วัคซีนดังกล่าวจะถึงไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 50,000 โดส จากนั้นทางบริษัท จะทยอยส่งวัคซีนที่เหลืออีก 150,000 โดส ตามมาภายในเดือน มีนาคม และ เมษายน ส่วนแนวทางการฉีดวัคซีนในประเทศไทยนั้นจะเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงก่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอยู่ด่านหน้า
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว 3 ราย โดยปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้วัคซีนรายใดคือ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ตลาดยังเป็นของผู้ขายทำให้วัคซีนมีราคาสูง แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าวัคซีนที่จะนำมาใช้งานจะมีประสิทธิภาพได้นานแค่ไหน
สำหรับสถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า ทั่วโลกได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 46.2 ล้านโดส ใน 51 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นวันละ 2.35 ล้านโดส โดยสหรัฐอเมริกา ได้รับวัคซีนมากสุด 15.6 ล้านโดส รองลงมา ประเทศจีน 10 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 4.72 ล้านโดส อิสราเอล 2.70 ล้านโดส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2.01 ล้านโดส
นพ.ทวี ระบุว่า วัคซีนเป็นเครื่องมือเสริมในการควบคุมโรค ไม่ได้ฉีดอาทิตย์ สองอาทิตย์ ถึงเห็นผลแต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือน โดยวัคซีนหลังจากฉีดแล้ว ต้องเข้าสู่มาตรการเดิม คือมาตรการป้องกันตัวเองทางด้านสาธารณสุข โดยวัคซีนที่ทั่วโลกยอมรับกัน เป็นวัคซีนที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินไม่ใช่ในภาวะปกติ มีการขึ้นทะเบียนแล้วมี 3 ชนิด รวมถึงมีการศึกษาวิจัยและรอคิวในการขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก
หลักการของวัคซีนโควิด-19 ที่จะนำมาใช้ ในฐานะหมอเด็กที่มีการใช้วัคซีนมากกว่า 30-40 ปี และวิจัยวัคซีนมา 40 กว่าปี ถือว่า วัคซีนเป็นชีววัตถุที่ฉีดเข้าร่างกาย วัคซีนต้องเป็นสิ่งที่ปลอดภัยเป็นอันดับที่ 1 ถ้าไม่ปลอดภัยจะไม่ใช้ อันดับที่ 2 ต้องมีประสิทธิภาพที่รับได้ เช่น องค์การอนามัยโลกมีการระบุว่า วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพร้อยละ 50 ขึ้นไป
อันดับที่ 3 คือราคา เนื่องจากทุกวันนี้วัคซีนเป็นสินค้าที่ผู้ขายมีอำนาจมากกว่าทำให้สินค้ามีราคาสูงมาก แต่หากมีความจำเป็นของประเทศ ฝ่ายรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องซื้อให้กับประชาชน เบื้องต้นไม่สามารถฉีดให้กับทุกคนได้ แต่วางเป้าไว้ที่ร้อยละ 50 ถึง 70 ของประชากร
ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงการฉีดวัคซีนเข้าไปแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันขนาดไหนในการป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ในเรื่องของการเตรียมวัคซีนโควิด-19 ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมและหารือมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจาก ติดขัดในปัญหาหลายอย่าง เช่น ในเรื่องของกฎหมายถ้าเผื่ออยากได้วัคซีนต้องจองก่อน พอจองเสร็จต้องเสียเงิน หากเสียเงินแล้ววัคซีนชนิดนั้นมีการวิจัยไม่สำเร็จต้อง "เสียเงินฟรี"
นอกจากนี้ สำหรับประเด็นที่ว่า ทำไมต้องเป็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เนื่องจาก 1.การขึ้นทะเบียนวัคซีนที่จะใช้ต้องผ่านการขึ้นทะเบียน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการพิจารณาในหลายด้าน ทั้งข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน ทางด้านคลินิก สถานที่ผลิตของวัคซีน เป็นต้น โดยมีการพิจารณาข้อมูลจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า กว่า 18,000 หน้า ที่สำคัญคือ บริษัทมีนโยบายหลัก คือ "บริษัทแม่ไม่เน้นกำไร แต่จะต้องไม่ขาดทุน" โดยตั้งนโยบายว่าจะช่วยประชากรโลก
ประเทศไทยได้มีการเสนอโรงงานที่จะผลิตให้ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือกหลายแห่ง โดยบริษัท แอสตร้าเซเนก้า มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือก บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ ตัวบ่งบอกสำคัญทางวิทยาศาสตร์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ได้เกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐาน ไม่เช่นนั้น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ไม่เลือกบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิต
จากนั้น เมื่อผลิตวัคซีนเสร็จแล้วจะต้องส่งตัวอย่างให้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ตรวจสอบ รวมถึงให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้ประเมินคุณภาพด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำไมต้องเลือกไทย? เป็นฐานผลิตวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
นายกฯ เตรียมลงนามจอง "วัคซีนโควิด" จากแอสตร้าเซนเนกา
ครม.อนุมัติเพิ่ม 166 ล้านบาทจ่ายค่า vat จัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE