รีเซต

“หมอประสิทธิ์”ชี้โควิดพันธุ์อังกฤษทำคนอายุน้อยเสียชีวิตได้ใน 7-10 วัน

“หมอประสิทธิ์”ชี้โควิดพันธุ์อังกฤษทำคนอายุน้อยเสียชีวิตได้ใน 7-10 วัน
TNN ช่อง16
27 เมษายน 2564 ( 14:23 )
121

วันนี้ ( 27 เม.. 64 )ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล .มหิดล ได้แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 และข้อพึงระวังของประเทศไทย ว่า  ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่สำคัญคือ B.1.1.7 สายพันธุ์สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ที่มีการระบาดแล้วในประเทศไทย  ซึ่งเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น เดิมพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง แต่รายงานล่าสุดจากสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่าอาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 


สถานการณ์ในประเทศไทยสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างศิริราชเองผู้ป่วยที่เข้ามารักษาพบว่า 1 ใน 4 มีอาการปวดอักเสบ จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งไม่ใช่แค่ศิริราชทั่วประเทศก็มีลักษณะเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ปีที่แล้วไม่เคยเจอผู้เสียชีวิต 2 หลักเลย  คาดการได้เลยว่าเมื่อผู้ป่วยหนักมากขึ้นแนวโน้มจะมีผู้เสียชีวิต 2 หลักเพิ่มขึ้น ซึ่งการเสียชีวิตเชื่อมโยงได้จาก 2 ปัจจัยคือ ไวรัสกลายพันธุ์และจำนวนกับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น  และคนไข้ที่อาการรุนแรงจนเสียชีวิตรอบนี้มีอายุน้อยลงและเสียชีวิตภายใน 7-10 วันเท่านั้น


เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นความต้องการหอผู้ป่วยวิกฤตก็เพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลใหญ่ๆต้องขยายเตียงผู้ป่วยวิกฤตเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ แต่จำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จะดูแลผู้ป่วยวิกฤติไม่สามารถเพิ่มได้ในระยะเวลาอันสั้นแม้จะระดมผู้เชี่ยวชาญหลายด้านมาช่วยกัน ถ้าเราไม่ช่วยกันโอกาสการเสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้น ปีที่แล้วทั้งปีศิริราชไม่มีผู้เสียชีวิตเลย แต่รอบมีผู้เสียชีวิตแล้ว  3 ราย 


 ขณะเดียวกันยาที่ใช้ขระนี้ทั่วโลกยังไม่มียาใหม่ๆ มาจัดการกับโควิด 19 จึงเริ่มเกิดปัญหาการแย่งยากันแล้วอย่างยา ฟาวิพิราเวียร์ก็ต้องได้เร็ว จำเป็นไม่จำเป็นก็ต้องให้ทันที ทำให้การใช้ยาเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับทั่วโลกก็ต้องใช้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน บางประเทศเริ่มควบคุมการจ่ายยา


เมื่อผู้ป่วยเยอะขึ้นทรัพยากรจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 


สำหรับการจัดการเรามียุทธศาสตร์ 2 ด้านคือต้นน้ำ และปลายน้ำ ยุทธศาสตร์ปลายน้ำคือการจัดการกับคนป่วยที่มานอนในดรงพยาบาลเพื่อลดการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการหายป่วย มีบุคคลากรแพทย์เป็นคนรับผิดชอบ 


ที่สำคัญคือยุทธศาสตร์ต้นน้ำที่จะทำอย่างไรให้มีผู้ติดเชื้อน้อยลงซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งประเทศ  ที่ต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ 4 เสี่ยง คือ บุคคลเสี่ยง สถานที่เสียง กิจกรรมเสี่ยง ช่วงเวลาเสี่ยง  


ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ ยังระบุถึงบทบาทของคนไทยในการร่วมจัดการกับโควิดรอบใหม่ คือ ต้องเข้ารับการตรวจหากสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 แม้จะยังไม่แสดงอาการเข้ารับการรักษาหากตรวขพบเชื้อในสถานที่ที่กำหนดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และเข้ารับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเพราะวัคซีนมีความสำคัญมากในการลดอัตราความรุนแรงและการเสียชีวิต โดยยืนยันว่า วัคซีนทุกยี่ห้อที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกมีความปลอดภัย ซึ่งผลการศึกษาของอเมริกายังไม่หลักฐานว่ามีคนเสียชีวิตเพราะการฉีดวัคซีน เช่นเดียวกับยุโรปก็ยืนยันผลการศึกษาว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาปลอดภัย 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง