รีเซต

ถังออกซิเจนราคาเท่าไหร่? สำรวจราคาออกซิเจนช่วงโควิด และวิธีการใช้ออกซิเจนอย่างถูกต้อง

ถังออกซิเจนราคาเท่าไหร่? สำรวจราคาออกซิเจนช่วงโควิด และวิธีการใช้ออกซิเจนอย่างถูกต้อง
Ingonn
9 สิงหาคม 2564 ( 15:19 )
1.5K
ถังออกซิเจนราคาเท่าไหร่? สำรวจราคาออกซิเจนช่วงโควิด และวิธีการใช้ออกซิเจนอย่างถูกต้อง

 

นาทีนี้เครื่องประคองชีพในการรักษาอย่าง “ออกซิเจน (oxygen)” เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ที่ระบบการหายใจไม่แข็งแรง เนื่องจากเชื้อโควิดได้ทำลายปอดไปด้วย แต่ด้วยความต้องการออกซิเจนมากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มขึ้นราคาออกซิเจนมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราช้ำใจไม่ใช่น้อย เพราะคงไม่มีใครอยากจะซื้อออกซิเจนมาใช้เอง

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้ไปสำรวจราคาออกซิเจนในโลกออนไลน์มาว่า แต่ละที่ ขายออกซิเจนราคาเท่าไหร่กันบ้าง เพื่อเป็นการเช็กราคาก่อนซื้อกับผู้ที่ต้องใช้ออกซิเจน

 

 

 

สำรวจราคาออกซิเจนในตลาด

 

ราคาชุดถังออกซิเจน พร้อมอุปกรณ์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 4,500-9,500 บาท


ชุดถังออกซิเจน ขนาด 1.5 คิว ราคาประมาณ 4,300 บาท ขึ้นไป


ชุดถังออกซิเจน ขนาด 2 คิว ราคาประมาณ 4,600 บาท ขึ้นไป


ชุดถังออกซิเจน ขนาด 6 คิว ราคาประมาณ 6,000 บาท ขึ้นไป

 

 


ราคาเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen concentrator) ราคาเริ่มต้น 6,000-50,000 บาท ขึ้นไป ตามขนาด และยี่ห้อ


เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 1 ลิตร ราคาประมาณ 6,000-8,000 บาทขึ้นไป


เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 3 ลิตร ราคาประมาณ 9,000-13,000 บาทขึ้นไป


เครื่องผลิตออกซิเจนยี่ห้อได้รับความนิยม ราคาประมาณ 12,000-60,000 บาท

 

 

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับออกซิเจน


ราคาหน้ากากออกซิเจน เริ่มต้นประมาณ 75 บาทขึ้นไป


ราคาสายยางออกซิเจน nasal cannula เริ่มต้นประมาณ 50 บาทขึ้นไป


ราคาถุงสำรองอากาศออกซิเจน เริ่มต้นประมาณ 135 บาทขึ้นไป

 


ออกซิเจนสำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยโควิด-19

 

ออกซิเจน (oxygen) เป็นก๊าซที่มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต หากร่างกายคนขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน จะทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำ จำเป็นต้องได้รับอากาศที่มีส่วนผสมของก๊าซออกชิเจนมากกว่าอากาศตามธรรมชาติ เรียกว่าเป็นการรักษาด้วยออกชิเจน ซึ่งมีแหล่งที่มาหลายแบบ ส่วนในโรงพยาบาลจะมีถังออกซิเจนเหลว ซึ่งผลิตก๊าซออกชิเจนส่งไปตามท่อใช้ต่อกับอุปกรณ์ให้ออกชิเจนอยู่บริเวณเตียงผู้ป่วย

 

 


การใช้ถังออกซิเจนที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19


ผู้ป่วยตามบ้านพัก จะใช้ออกซิเจนถังที่อัดเป็นก๊าซ ซึ่งสามารถเติมได้เมื่อก๊าซหมด และออกซิเจน 1 ถังจะต่อให้กับผู้ป่วยได้เพียง 1 คนเท่านั้น 

 

 

ถังออกซิเจนที่ผู้ป่วยตามบ้านใช้มักมีขนาด 1.5, 2 และ 6 คิว ระยะเวลาที่สามารถใช้ออกซิเจนได้แต่ละถัง จะขึ้นอยู่กับขนาดถัง ความดันบรรจุ (ซึ่งอ่านได้จากหน้าปัดวัดความดัน หน่วยความต้นเต็มถังเป็น 2000, 1500 หรือ 1000 psi) 

 

 

การเปิดอัตราการไหลของออกซิเจน 


เมื่อเปิดใช้ออกชิเจน ความดันในถังจะค่อยๆ ลดลง เมื่อความดันลดลงจนต่ำกว่า 200 psi จะต้องนำถังไปเติมออกซิเจน เช่น 


- ถังขนาด 1.5 คิวที่มีความดัน 2000 psi หากเปิดอัตราการไหล 3 ลิตรต่อนาที จะใช้ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง 


- ถังขนาด 1.5 คิว ที่ความต้น 1000 psi หากเปิดอัตราการไหล 1 ลิตรต่อนาที จะใช้ได้ประมาณ 9 ชั่วโมง 

 

ทั้งนี้ผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้ถังอย่างละเอียดจากเจ้าหน้าที่ที่นำถังไปให้

 

 


นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือผลิตออกซิเจนแบบพกพา (Oxygen concentrator) เป็นอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาออกซิเจนเป็นเวลานาน โดยเครื่องจะผลิตออกซิเจนจากการกรองอากาศตามธรรมชาติโดยเอาก๊าซชนิดอื่นออกให้เหลือแต่อากาศที่มีปริมาตรของออกซิเจนมากกว่าปกติ

 

 


ข้อบ่งชี้ในการใช้ออกซิเจนในผู้ป่วยโรค โควิด-19


1. ผู้ป่วยที่มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (oxygen saturation) น้อยกว่าปกติ โดยปกติค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนที่วัดจากเครื่องวัดออกชิเจนปลายนิ้ว ขณะพักควรจะอยู่ในช่วง 95-100%

 


2. ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อยหรือหิวอากาศหรือคนที่มีภาวะเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมเบาๆ เช่น เดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

 


3. ผู้ป่วยจะต้องหายใจได้เอง หากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจ

 

 

 

หลักการรักษาด้วยออกซิเจนที่ต้องทำความเข้าใจ

 

1. ให้ออกซิเจนในระดับที่เพิ่มค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 94-98% ในคนที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือประมาณ 88-92% ในผู้ป่วยบางประเภท เช่น คนที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังการให้ออกซิเจนที่มากเกินไปอาจเกิดผลเสีย จึงต้องให้ออกชิเจนในระดับที่น้อยที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

 

การให้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลเกิน 4 ลิตรต่อนาที จะระคายเคืองทางเดินหายใจมาก เพราะทางเดินหายใจจะแห้งเกินไป จำเป็นต้องเพิ่มความชื้นร่วมด้วยทุกครั้ง โดยมักผ่านก๊าซออกซิเจนเข้าไปใต้น้ำสะอาดทำให้เกิดเป็นฟองอากาศเพิ่มความชื้นก่อนเข้าสู่อุปกรณ์ที่ให้ออกชิเจนแก่ผู้ป่วย

 

 

2. การปรับอัตราการไหลของออกชิเจน อัตราการไหลของออกซิเจนจะเป็นตัวกำหนดปริมาตรออกชิเจนในอากาศที่ผู้ป่วยหายใจเข้าไป หลักการเปิดอัตราการไหลสำหรับอุปกรณ์ให้ออกชิเจนแต่ละชนิด มีดังนี้

 

- สายยางคู่เข้าช่องจมูก (nasal cannula) ใช้อัตราการไหลของอากาศได้ตั้งแต่ 0.5-6 ลิตรต่อนาทีการเปิดมากกว่า 6 ลิตรต่อนาทีจะไม่มีประโยชน์ เพราะสายยางไม่สามารถนำส่งออกชิเจนมากกว่านี้ได้ หากเปิดถึง 6 ลิตรต่อนาที แล้วผู้ป่วยยังมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์ ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นหน้ากากออกซิเจน

 

 

- หน้ากากออกซิเจนที่มีถุงสำรองอากาศ สามารถนำออกชิเจนได้มากกว่าสายยางเข้าช่องจมูก ต้องครอบหน้ากากตั้งแต่จมูกลงไปถึงคาง แต่อย่าให้โดนตวงตา รัดสายยางยืดไปด้านหลังศีรษะโดยไม่ให้หน้ากากและสายกตแน่นเกินไปจนเกิดแผล ถุงที่ติตกับหน้ากากจะต้องพองอยู่เสมอ ก่อนใส่หน้ากากให้เปิดให้ออกซิเจนไหลเข้าไปในถุงก่อน อัตราการไหลของอากาศ คือ ตั้งแต่ 6 ลิตรต่อนาทีขึ้นไป หากเปิดต่ำกว่านี้จะทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่พอ เนื่องจากออกชิเจนไหลไม่แรงพอที่จะดันคาร์บอนไตออกไซด์ที่ออกมาจากลมหายใจอกของผู้ป่วยออกไปใด้ ทำให้ต้องหายใจอากาศเดิมกลับเข้าไปอีกครั้ง

 

ค่าอัตราการไหลสูงสุดที่เปิดได้เมื่อใช้หน้ากากพร้อมถุงสำรองอากาศคือ 10-15 ลิตรต่อนาที หากเปิดสูงสุดแล้ว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนยังต่ำกว่าเกณฑ์ จะต้องติดต่อแพทย์ทันที

 


- หน้ากากออกซิเจนแบบไม่มีถุงสำรองอากาศ ให้ออกชิเจนได้มากกว่าสายยางแต่น้อยกว่าหน้ากากที่มีถุงสำรองอากาศ หลักการสวมใส่เหมือนกับหน้ากากที่มีถุงสำรองอากาศ โดยควรเปิดอัตราการไหล 5-8 ลิตรต่อนาที

 

 

 

3. หลังการปรับอัตราการไหลของออกซิเจน หรือเปลี่ยนอุปกรณ์นำออกซิเจนทุกครั้ง จะต้องสังเภตค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอย่างน้อย 5 นาที หากยังไม่ใด้ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนตามที่กำหนด ควรพิจารณาปรับเพิ่มอัตราการไหล หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เหมาะสม

 

 

 

ข้อควรระวังในการใช้ออกซิเจนกับผู้ป่วยโควิด


1.การให้ออกซิเจนที่มากเกินไปหรือนานเกินไปจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นต้องใด้รับออกซิเจนแล้ว ควรหยุดการให้ทันที

 


2.หากผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่มากหรือนานเกินไปอางเกิดภาวะออกซีเจนเป็นพิษ ทำให้ปอตเสียหาย อาจทำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลงกว่าปกติหรือหยุดหายใจ

 


3.นอกจากนั้นออกซิเจนเป็นก๊าซไวไฟ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้มีประกายไฟ ห้ามสูบบุหรี่ใกล้บริเวณที่มีถังออกซิเจน เพราะอาจทำให้เกิดระเบิดหรือไฟไหม้ได้

 

 


ถังออกซิเจน ขาดแคลน เพราะซื้อกักตุน


นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ถังออกซิเจนทางการแพทย์และถังออกซิเจนสำหรับใช้ที่บ้าน กำลังขาดตลาดเนื่องจากมีคนแห่ไปซื้อมากักตุน ส่งผลให้แผนการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชนก่อนส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเกิดความไม่สมบูรณ์ เพราะไม่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการรุนแรงและขาดออกซิเจนได้ การนำถังออกซิเจนไปใช้เมื่อเริ่มป่วยเป็นโรคโควิด-19 โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปราศจากการกำกับดูแลของแพทย์ อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย หากได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากเกินไป ยังไม่รวมถึงเรื่องของความสิ้นเปลืองและการเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

 

 

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับประชาชน พร้อมตรวจสอบความเพียงพอของการผลิตและจัดส่งออกซิเจนในทุกพื้นที่ของประเทศ

 

 

 

ข้อมูลจาก สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศโทย สภากายภาพบำนัด ร่วมกับ กลุ่มอาจารย์กายภาพบำบัดทางระบบหายใจ , เฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง