รีเซต

รู้จัก “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” เพื่อลูกหนี้ยุคโควิด

รู้จัก “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” เพื่อลูกหนี้ยุคโควิด
TrueID
2 กันยายน 2564 ( 20:24 )
246

วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ภาคธุรกิจหลายส่วนได้รับผลกระทบ ต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือไปถึงขั้นปิดกิจการถาวร ส่งผลถึงภาคแรงงานที่ขาดรายได้ หรือต้องตกงานไป แต่ละคนต่างก็มีภาระหนี้สินติดตัว ไม่มีรายได้มาชำระหนี้ ทาง ธปท. กระทรวงการคลัง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อีกรูปแบบหนึ่ง วันนี้ trueID จะพาไปรู้จักโครงการนี้ว่าเป็นอย่างไร

 

 

 

 

“โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” คืออะไร?

 

เป็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นช่องทางให้คำแนะนำ ความรู้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างครบวงจร

 

ตั้งแต่การวิเคราะห์สถานะหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ การเตรียมตัวเจรจาแก้ไขหนี้ การให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง หรือลงทุนปรับปรุงกิจการ การแบ่งปันประสบการณ์การปรับตัวและปรับธุรกิจของผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ

 

ตลอดจนการจัดบรรยายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่ตรงจุดตามสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม รวมทั้งการเผยแพร่คลิป และสื่อการสอนต่างๆ เพื่อให้นำไปศึกษาเพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ ความพิเศษของโครงการหมอหนี้ฯ คือ ลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถติดต่อขอคำแนะนำเชิงลึกเพิ่มเติมจากทีมหมอหนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงินเอสเอ็มอี บสย. (บสย. FA Center) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

หากลูกหนี้รายย่อย และลูกหนี้เอสเอ็มอี เห็นว่ายังต้องการได้รับคำปรึกษาจากหมอหนี้ ก็สามารถลงทะเบียนเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ หลังจากลูกหนี้ที่ได้กรอกข้อมูลครบถ้วนและส่งใบสมัครสำเร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อนัดหมายรอพบหมอหนี้ภายใน 5-7 วันทำการ

 

 

ประเภทหนี้ เพื่อเรียนรู้แนวทางการแก้ไขหนี้ 3 แบบ

 

1.หนี้ธุรกิจ

 

สินเชื่อเพื่อใช้สำหรับประกอบธุรกิจ รวมถึงการปรับปรุงร้าน และการซื้อวัตถุดิบ โดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายส่วนตัว (SMEs/ขนาดใหญ่) คลิก

 

กระบวนการแก้ไขหนี้ธุรกิจ

 

 

2.หนี้รายย่อย

 

สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน คลิก

 

กระบวนการแก้ไขหนี้รายย่อย

 

 

 

 

3.การสร้างรายได้เพิ่ม

 

เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในปัจจุบัน เราควรเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างรายได้เพิ่มในยามที่รายได้ทางเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป คลิก

 

แนวทางการหารายได้เสริม

 

ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด บางธุรกิจถูกจำกัดเวลาการให้บริการ บางธุรกิจถูกสั่งปิดชั่วคราว ทำให้ผู้ประกอบการ พนักงาน หรือลูกจ้างต้องปรับตัวเพื่อประคองธุรกิจ หนึ่งในการปรับตัวที่จำเป็น คือการหารายได้เสริม เพื่อชดเชยรายได้เดิมที่ลดน้อยลง หรือเพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามที่มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ เพิ่มขึ้น  

 

แนวคิดการหารายได้

 

การหารายได้เสริมไม่เพียงจะช่วยให้ลูกหนี้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ แต่ยังอาจใช้เป็นช่องทางการประกอบอาชีพเพิ่มเติมในอนาคต ลูกหนี้หลายรายสามารถต่อยอดทักษะเดิมที่มีอยู่ หรือค้นพบทักษะใหม่ที่ไม่คิดว่าตนสามารถทำได้ ให้กลายเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ยิ่งขึ้นไปอีก

 

หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การสำรวจตัวเอง สำรวจตลาด เลือกสิ่งที่ใช่ และลงมือทำ

 

ซึ่งโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนมีข้อแนะนำเบื้องต้น ดังนี้

 

 

ตัวอย่างแนวคิดการหาอาชีพเสริม 

 

 

ลงทะเบียนได้ที่ไหน?


ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษากับหมอหนี้

  • ผ่านเว็บไซต์โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน
  • ติดต่อสอบถามได้ทั้งที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
  • สำนักงานภาคของ ธปท. ทั้ง 3 แห่งที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา

 

 

โครงการหมอหนี้ฯ แตกต่างจาก ทางด่วนแก้หนี้ ยังไง?

 

โครงการหมอหนี้ฯ แตกต่างจากสายด่วน 1213 และทางด่วนแก้หนี้ ตรงที่ โครงการหมอหนี้ฯ เป็นช่องทางการขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำเรื่องหนี้ มิใช่ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน หรือขอความอนุเคราะห์ของผู้ให้บริการทางการเงิน ครอบคลุมการให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงิน การปรับธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่ม และการเตรียมแผนธุรกิจเพื่อขอกู้เงิน ให้คำปรึกษาโดยพิจารณาภาพรวมของหนี้สินที่มีทั้งหมดกับความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เบ็ดเสร็จ โดยมุ่งหวังให้ลูกหนี้สามารถบริหารหนี้และดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างยั่งยืน

 

 

มีสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการกี่แห่ง?

 

ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ 13 แห่ง เป็นสถาบันการเงินของรัฐ 7 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ได้แก่

1.บสย.

2.ธนาคารอาคารสงเคราะห์

3.ธนาคารออมสิน

4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

5.ธนาคารกรุงไทย

6.EXIM BANK

7.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

9.ธนาคารยูโอบี

10.ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย

11.ธนาคารกสิกรไทย

12.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

13.ธนาคารกรุงเทพ

 

ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ อยู่ระหว่างทยอยเข้าร่วมโครงการ ซึ่งหากมีเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบในระยะต่อไป

 

ข้อมูล : ธปท. , มติชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง