รีเซต

ใครบ้าง? มีความเสี่ยงสูงเป็น "ฮีทสโตรก" ช่วงหน้าร้อน

ใครบ้าง? มีความเสี่ยงสูงเป็น "ฮีทสโตรก" ช่วงหน้าร้อน
TNN ช่อง16
14 มีนาคม 2564 ( 08:42 )
107
ใครบ้าง? มีความเสี่ยงสูงเป็น "ฮีทสโตรก" ช่วงหน้าร้อน

หลังจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ทำให้ในตอนกลางวันพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป ซึ่งสภาพอากาศร้อนจัด แดดแรง อาจเกิดอาการป่วยได้ง่าย พบอาการได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่น ผดแดด บวมแดด ตะคริวแดด การเกร็งจากแดด ส่วนอาการที่รุนแรงพบได้ เช่น เพลียแดด ภาวะขาดน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัด ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันทีหากได้รับความร้อนมากเกินไป และไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

Cr. pixabay


กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังมากกว่าคนปกติทั่วไปในสภาพอากาศร้อน แดดแรง ได้แก่  


1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด 


2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ  


3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง 


4.คนอ้วน 


5.ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ 


6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก


ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด สวมใส่เสื้อผ้ามีสีอ่อนไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี สวมแว่นกันแดด สวมหมวก กางร่ม ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หากจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งหรือกลางแดด ไม่ปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำจนรู้สึกกระหายหรือริมฝีปากแห้ง ที่สำคัญให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Cr. Pixabay


สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมแดดมี 5 ขั้นตอนคือ

1. นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก

2. เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด

3. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ

4. ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย

5. รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


Cr.กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง