รีเซต

ถอดที่มา 'กิโยติน' จากอดีต สู่ 'พระธรรมกร' พระตัดหัวตัวเอง ที่ อย่าทำตาม!

ถอดที่มา 'กิโยติน' จากอดีต สู่ 'พระธรรมกร' พระตัดหัวตัวเอง ที่ อย่าทำตาม!
TeaC
19 เมษายน 2564 ( 15:14 )
4.1K

 

ข่าววันนี้  สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านต้องการคือ การได้เห็นคนที่ปฏิบัติตามคำสอนของท่านแล้วมีชีวิตที่พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ละความทุกข์ได้มากขึ้น ท่านไม่ต้องการให้ใครมาสละชีวิตหรือถวายหัวเพื่อท่านหรอก

 

“อย่าไปเชื่อว่าการสละชีวิตตัวเองจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ได้ตรัสรู้ ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ธรรมะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องฆ่าตัวตายเพื่อไปรอผลชาติหน้า”

 

ข้อความจากเพจเฟซบุ๊กของ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ระบุถึงกรณีกระแสข่าว พระตัดหัวตัวเอง โดยใช้วิธี กิโยติน อุปกรณ์การประหารชีวิตของชาวฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ภูหินกอง หรือนายธรรมกร วังปรีชา อายุ 68 ปี ชาว ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ได้ใช้วิธีการดังกล่าวปลิดชีพตัวเองตามความเชื่อเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา บนโลกออนไลน์ 

 

 

ย้อนอดีต กิโยติน คืออะไร ?

 

 

จากการค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ กิโยติน เป็นอุปกรณ์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติของชาวฝรั่งเศส เพื่อใช้ ตัดคอนักโทษ ซึ่งโครงสร้างทำจากไม้ มีที่แขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมูอยู่ส่วนบนสุด น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้นักโทษวางศรีษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร 

 

 

กิโยติน พระตัดหัวตัวเอง ใครคิดค้น ?

 

 

โดยคนคิดค้นและออกแบบเครื่องประหารชีวิต กิโยติน นั้นคือ อองตวน หลุยส์ (Antoine Louis) นายแพทย์ขาวฝรั่งเศส ซึ่งเครื่องกิโยตินตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า หลุยซอง (Louison) หรือ หลุยเซท (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยติน" ตามชื่อของ ดร.โฌเซฟ-อินแนซ กิโยแตง (Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยติน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุล เป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต 

 

ขณะที่ แนวคิดการสร้าง กิโยติน นั้น มีจุดมุ่งหมายของการประหารชีวิต คือการยุติชีวิต ไม่ใช่การสร้างความเจ็บปวดทรมาน เนื่องจากวิธีการประหารในอดีตจะมีลักษณะ การแขวนคอ หรือการใช้มีด หรือขวาน อาจเป็นไปได้ว่าการทำการประหารด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้นักโทษรู้สึกทรมาน เพราะหลายครั้งที่ใช้มีด หรือขวานตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรกนั่นเอง 

 

 

 

กิโยติน เครื่องประหารที่ถูกกฎหมาย 

 

 

สมัยช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส  กิโยติน ถือได้ว่าเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย ในยุคนั้นมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วย กิโยติน ราว 20,000 คน  ซึ่งชายคนแรกที่ถูกกิโยตินปลิดชีวิต ในวันที่ 25 เมษายน 1792 (พ.ศ.2335) คือ นีกอลา ฌัก แปลตีแย โจรที่ก่อคดีปล้นต่าง ๆ 

 

 

กิโยติน สิ้นสุดเมื่อไหร่ ?

 


กิโยตีน ถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมายของฝรั่งเศส และคนสุดท้ายที่ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตโดยกิโยติน คือ Hamida Djandoubi ด้วยคดีขมขื่นและฆ่า ในวันที่ 10 กันยายน 1977 (พ.ศ.2520) แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็มีการบันทึกว่านาซีได้นำเครื่องกิโยตีนมาใช้ในการประหารชีวิตผู้ที่ต่อต้านระบอบนาซีในเยอรมนี โดยมีผู้ถูกประหารไปกว่า 16,500 คน ระหว่าง 1933 – 1945 (พ.ศ.2476-2488)

 

ขณะที่ กิโยติน เป็นที่รู้จักในสายตาของชาวโลก เมื่อเครื่องประหาร กิโยติน ใช้บั่นพระเศียรพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อองตัวเน็ต ซึ่งพระองค์ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาทรยศต่อชาติ เนื่องจากพระองค์ทรงวางแผนร่วมมือกับต่างชาติเพื่อต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ ในวันที่ 21 มกราคม 1793

 

นับแต่นั้นมา กิโยติน กลายเป็นสัญลักษณ์ของสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

 

 

อย่าทำตาม พระตัดหัวตัวเอง

 

 

และ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ยังระบุถึงถึงกรณี พระตัดหัวตัวเอง เพื่อเตียนสติว่า

 

"ไม่มีคำสอนไหนที่พระพุทธเจ้าสอนให้คนตัดหัวตัวเองเพื่อถวายเป็นพุทธบูชานะโยม ศึกษาธรรมะต้องระวังให้ดี อย่าไปตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบผิด ๆ"

 

 

เช่นเดียวกับ นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ในฐานะโฆษ กพศ. กล่าวถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คงไม่มีเจตนาเช่นนั้น ในส่วนของคณะสงฆ์ พศ.โดยมหาเถรสมาคม เคยมีมติแจ้ง เรื่อง ห้ามการทำไสยศาสตร์ ความเชื่อ เวทมนต์คาถาที่ไม่ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา รวมถึงกำชับให้พระผู้บังคับบัญชาคอยสอดส่องดูและพระลูกวัด รวมถึงให้คำปรึกษาการปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด

 

 

 

หากเห็น พระตัดหัวตัวเอง คนฆ่าตัวตาย แต่ไม่ห้าม เจอคุก!

 

 

และจากกรณี พระตัดหัวตัวเอง นี้เอง เมื่อค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายในกรณีเห็นคนฆ่าตัวตาย แต่ไม่ห้าม อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตาม

 

 

  • มาตรา ๓๗๔ ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

อย่างไรก็ตาม กรณี พระตัดหัวตัวเอง ไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง เพราะการปลิดชีพตัวเอง หรือการฆ่าตัวตายไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่ยังเป็นการสร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น 

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, เดลินิวส์, มติชน

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง