รีเซต

ยอดขายคอม PC โตขึ้น 4.8% เกือบ 60 ล้านเครื่อง ผู้เชี่ยวชาญชี้มาจากการตุนสินค้าดักมาตการภาษีนำเข้าของทรัมป์

ยอดขายคอม PC โตขึ้น 4.8% เกือบ 60 ล้านเครื่อง ผู้เชี่ยวชาญชี้มาจากการตุนสินค้าดักมาตการภาษีนำเข้าของทรัมป์
TNN ช่อง16
17 พฤษภาคม 2568 ( 14:26 )
11

การ์ทเนอร์ (Gartner) บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก เผยผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของยอดการจัดส่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกในไตรมาสแรกของปี 2025 พบว่า มียอดส่งมอบรวมเกือบ 60 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากไตรมาสแรกของปี 2024 ส่วนยอดจัดส่งพีซีในสหรัฐฯ ไตรมาสแรกปีนี้เติบโตขึ้นร้อยละ 12.6 ตัวเลขแตะ 16 ล้านเครื่อง ผู้เชี่ยวชาญชี้มาจากการตุนสินค้าเพื่อจำหน่ายมากขึ้นซึ่งเกิดขึ้นมาจากการออกนโยบายภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)


ยอดขายคอมพิวเตอร์ PC ในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

ตารางที่ 1: ข้อมูลสรุปการ์ทเนอร์: การคาดการณ์ยอดจัดส่งพีซีของผู้ขายทั่วโลก ไตรมาส 1 ปี 2025

แบรนด์


ยอดส่งมอบไตรมาสที่ 1/2025 


ส่วนแบ่งตลาดไตรมาสที่ 1/2025 (%)


ยอดส่งมอบไตรมาส 1/2024


ส่วนแบ่งตลาดไตรมาสที่ 1/2024 (%)


ส่วนการการเติบโต


Lenovo


15,275,000


25.9


13,933,000


24.8


9.6


HP Inc.


12,761,000


21.6


12,051,000


21.4


5.9


Dell Technologies


9,621,000


16.3


9,419,000


16.7


2.1


Apple


5,933,000


10.1


5,547,000


9.9


7.0


Acer


3,853,000


6.5


3,780,000


6.7


1.9


ASUS


3,715,000


6.3


3,405,000


6.1


9.1


Others


7,790,000


13.2


8,137,000


14.5


-4.3


Total


58,947,000


100.0


56,272,000


100.0


4.8




หมายเหตุ: ข้อมูลนี้รวมพีซีแบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท็อปพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, macOS และ ChromeOS ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการประมาณการเบื้องต้น การประมาณการขั้นสุดท้ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง สถิติจะขึ้นอยู่กับการจัดส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวเลขต้องไม่เกินจำนวนที่แสดงเนื่องจากการปัดเศษ

ที่มา: การ์ทเนอร์ (เมษายน 2568)

 


 

ตารางที่ 2: ข้อมูลสรุปการ์ทเนอร์: การคาดการณ์ยอดจัดส่งพีซีของผู้ขายในสหรัฐฯ ไตรมาส 1 ปี 2568 (หน่วยพันยูนิต)

 

Company


1Q25 Shipments


1Q25 Market Share (%)


1Q24 Shipments


1Q24 Market Share (%)


1Q25-1Q24 Growth (%)


HP Inc.


4,116


25.1


3,641


25.0


13.1


Dell Technologies


3,923


23.9


3,652


25.1


7.4


Lenovo


3,147


19.2


2,606


17.9


20.7


Apple


2,613


15.9


2,249


15.4


16.2


Acer


944


5.8


811


5.6


16.4


ASUS


464


2.8


399


2.7


16.3


Others


1,185


7.2


1,202


8.3


-1.4


Total


16,391


100.0


14,559


100.0


12.6


หมายเหตุ: ข้อมูลนี้รวมพีซีแบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท็อปพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, macOS และ ChromeOS ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการประมาณการเบื้องต้น การประมาณการขั้นสุดท้ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง สถิติจะขึ้นอยู่กับการจัดส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวเลขต้องไม่เกินจำนวนที่แสดงเนื่องจากการปัดเศษ

ที่มา: การ์ทเนอร์ (เมษายน 2568)


 


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ:


Rishi Padhi ผู้อำนวยการวิจัยที่การ์ทเนอร์ กล่าวว่า "การเติบโตของตลาดพีซีในไตรมาสแรกปีนี้ มีแรงขับเคลื่อนมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดจัดส่งในตลาดสำคัญสองแห่ง คือ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น แต่มีปัจจัยพื้นฐานการเติบโตที่แตกต่างกัน โดยในสหรัฐฯ ตลาดพีซีมียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้ขายเพิ่มสินค้าคงคลังเพื่อรองรับการประกาศภาษีนำเข้า ส่งผลให้เกิดการเติบโต 12.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้จะมีการเพิ่มขึ้นนี้และมีการเติบโตในภาพรวมที่แข็งแกร่ง แต่ความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้ปลายทางยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้จะได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากองค์กรที่อัปเกรดพีซีสำหรับ Windows 11


 


"ส่วนในญี่ปุ่นความต้องการพีซีเพื่อใช้ในธุรกิจนั้นเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มาจากสองปัจจัยหลักคือการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการเป็น Windows 11 ควบคู่ไปกับการนำ Chromebook มาใช้งาน ทำให้ยอดจัดส่งเติบโตถึง 15.6% โดยผู้ขายที่เข้าร่วมในโครงการ GIGA ที่เปลี่ยน Chromebook เพื่อการศึกษา ได้คว้าโอกาสนี้ไว้ โดยเสนอการอัปเกรดให้กับอุปกรณ์รุ่นเก่า ทำให้สามารถรักษาโมเมนตัมการเติบโตในตลาดไว้ได้"


 


ช่วงไตรมาสแรกปี 2568 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับการจัดอันดับผู้ขายชั้นนำ 6 อันดับแรกทั่วโลก (ดูตารางที่ 1) โดย Lenovo มีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาผู้จำหน่าย 6 อันดับแรกที่ 9.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ Acer มีการเติบโตช้าที่สุดที่ 1.9%

HP เป็นผู้นำในตลาดสหรัฐฯ โดยอยู่ในอันดับแรกด้วยส่วนแบ่งตลาด 25.1% (ดูตารางที่ 2) ตามด้วย Dell ที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 23.9%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง