รีเซต

Editor’s Pick: ผลทดสอบวัคซีนจีนใน ‘สถานการณ์จริง’ พบว่า แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ

Editor’s Pick: ผลทดสอบวัคซีนจีนใน ‘สถานการณ์จริง’ พบว่า แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ
TNN World
14 กันยายน 2564 ( 10:50 )
37
Editor’s Pick: ผลทดสอบวัคซีนจีนใน ‘สถานการณ์จริง’ พบว่า แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ
Editor’s Pick: ผลทดสอบวัคซีนจีนใน ‘สถานการณ์จริง’ พบว่า แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ แต่ป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ ผู้เชี่ยวชาญจึงชี้ว่า แม้จะไม่ดีเท่า แต่ควรใช้วัคซีนจีนต่อไป เพื่อต่อสู้กับโควิด-19
 
 
 
จีนส่งออกวัคซีนแล้วเกือบ 1 พันล้านโดส
 
ประเทศจีนได้ส่งออกวัคซีนทั้ง Sinovac และ Sinopharm ไปยังกว่า 60 ประเทศทั่วโลก รวมแล้วเกือบ 1 พันล้านโดส และตั้งเป้าส่งออกให้ได้ 2 พันล้านโดสภายในปีนี้
 
 
แต่ข้อมูลในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่างลงความเห็นตรงกันว่า วัคซีนจีน ซึ่งใช้เทคโนโลยี ‘เชื้อตาย’ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะเพื่อการป้องกันโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ Delta
 
 
แต่ข้อมูลวิจัยอาจยังไม่เพียงพอที่จะฟันธงเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนจีน ดังนั้น หลายประเทศที่ใช้วัคซีนแดนมังกร จึงดำเนินการทดสอบในสถานการณ์จริง
 
 
นักวิจัยสรุปว่า ว่าซีนจีนมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ จริง แต่ก็ยังคุ้มครองผู้ฉีดจากอาการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตได้ ดังนั้น วัคซีนจีน คือ Sinovac และ Sinopharm ที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง จึงยังเป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับโควิด
 
 
 
ผลการศึกษาวัคซีนจีนในบาร์เรน
 
เมื่อไม่นานมานี้ บาร์เรนได้เผยแพร่ข้อมูลการทดสอบวัคซีน 4 ชนิด คือ Sinopharm, AstraZeneca, Pfizer และ Sputnik V ที่ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม ถึงกรกฎาคมที่ผ่านมา
 
 
พบว่า วัคซีน Sinopharm ช่วยป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ดี แต่ด้วยประสิทธิภาพที่น้อยกว่าวัคซีนตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อใช้กับประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไป ด้วยตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้
 
 
อัตราเสียชีวิตของประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไป หากติดโควิดหลังฉีดวัคซีน
 
Sinopharm = 1.53%
Sputnik V = 0.79%
Pfizer = 0.69%
AstraZeneca = 0%
อัตราการเข้าห้อง ICU
Sinopharm = 1.7%
Sputnik V = 0%
Pfizer = 0.23%
AstraZeneca = 0.17%
 
 
 
ผลการศึกษาวัคซีนจีนในบราซิล
 
บราซิลเอง เปิดเผยผลการทดสอบในสถานการณ์จริงจากการใช้วัคซีนจีนกับยี่ห้ออื่น ๆ เช่นกัน โดยพบว่าจากประชาชน 76 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว มีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้
 
 
อัตราการป้องกันการเข้าโรงพยาบาล, ICU และเสียชีวิต
 
AstraZeneca = 90%
Sinovac= 75%
 
 
 
ผลการศึกษาในชิลี
 
เผยแพร่ในวารสาร The New England Journal of Medicine ในช่วงเดือนที่ผ่านมา พบว่า วัคซีน Sinovac มีประสิทธิภาพ ดังนี้
 
ป้องกันการติดเชื้อได้ 65.9%
ป้องกันการเข้าโรงพยาบาลได้ 87.5%
ป้องกันการเข้าห้อง ICU ได้ 90.3%
ป้องกันการเสียชีวิตได้ 86.3%
 
 
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลชิลีได้เปิดเผยรายงานที่พบว่า วัคซีน Sinovac ช่วยป้องกันอาการของโควิดได้ 58.5% / Pfizer 87.7% และ AstraZeneca 68.7%
 
 
 
เทียบแบบนี้อาจไม่ยุติธรรมกับจีนนัก
 
เจิ้ง ซ่งเหว่ย เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติ ที่นำทีมพัฒนาวัคซีนโควิดของจีน ระบุว่า การเปรียบเทียบแบบนี้ จะไม่ยุติธรรมกับวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี ‘เชื้อตาย’
 
 
เพราะภูมิคุ้มกันของวัคซีนโควิดจะเริ่มลดลงหลังผ่านไป 3 เดือน แล้วบางประเทศฉีดวัคซีนจีนไป 3 เดือนแล้ว ค่อยมาทำการทดสอบ ซึ่งถึงตอนนี้ ภูมิคุ้มกันของวัคซีนก็ลดลงไปแล้ว
 
 
ขณะที่ องค์การอนามัยโลกเองย้ำว่า วัคซีนที่ WHO รับรองทุกตัว มีประสิทธิภาพต่อสู้กับโควิดได้ แต่ก็ขอให้เร่งศึกษาการผสมวัคซีนต่างชนิดต่างยี่ห้อ ระหว่าง Sinovac-Sinopharm กับวัคซีนชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มภูมิให้ได้มากขึ้น และหากจำเป็นก็ต้องฉีดเข็มสาม
 
 
ซู ลี่ หยาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ชี้ว่า “ประสิทธิภาพระยะยาวของวัคซึน ยังไม่แน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตัวไหน”
 
 
“ตอนนี้ ทุกประเทศควรจะใช้วัคซีนที่ตนเองมีให้มากที่สุด แทนที่จะรอวัคซีน mRNA หรือ ไวรัลเวคเตอร์”

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง