รีเซต

เปิด 6 จังหวัด "โอมิครอน" ยังตีไม่แตก - 10 จังหวัดติดเชื้อเกิน 100 ราย!

เปิด 6 จังหวัด "โอมิครอน" ยังตีไม่แตก - 10 จังหวัดติดเชื้อเกิน 100 ราย!
TNN ช่อง16
10 มกราคม 2565 ( 15:15 )
103

วันนี้( 10 ม.ค.65) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถึงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด- 19 ว่า จากการสุ่มตัวอย่างสายพันธุ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ 35 .17 ยอดรวมสะสม ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 5,397 ราย 

 

ทั้งนี้ พบสายพันธุ์โอมิครอน แล้ว 71 จังหวัด โดยมี 6 จังหวัดที่ยังไม่พบการรายงาน ได้แก่ น่าน ตาก ชัยนาท อ่างทอง พังงา นราธิวาส 

ภาพจาก สธ.

 

 

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ โอมิครอน เกิน 100 ราย ได้แก่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น

ทั้งนี้ ย้ำการตรวจ เชื้อโควิด-19 เพื่อดูสายพันธุ์ขณะนี้ยังเป็นการตรวจเฉพาะเจาะจง ซึ่งกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศไทยเข้าไทย แล้วพบติดเชื้อโควิด-19 จะมีการตรวจหาสายพันธุ์ทุกคน  โดยพบร้อยละ 90 เป็นสายพันธุ์ โอมิครอน ซึ่งการตรวจหาสายพันธุ์ไม่ได้แยกผู้ป่วย แต่เพื่อดูสถานการณ์การระบาดภาพรวมของประเทศไม่จำเป็นต้องตรวจค้าสายพันธุ์ทุกคนที่ติดเชื้อ 

ส่วนการรายงานพบ เดลตาครอน นายแพทย์ศุภกิจ  ระบุว่า รายงานจากต่างประเทศ ไซปรัสส่งข้อมูลไปให้ GSAID 24 ตัวอย่าง เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว และพบว่าในจำนวนตัวอย่างนั้น มีการกลายพันธุ์ทั้งเดลตา และ โอมิครอนด้วยกัน เมื่อเอาข้อมูลมาดูพบว่าเป็นจริงตามรายงาน แต่ส่วนที่เป็น โอมิครอน เหมือนกันกับ 24 ตัวอย่าง แต่ส่วนที่เป็นเดลตามีความแตกต่างนัยยะสำคัญ คือ หากเป็นสายพันธุ์ใหม่ เดลตาครอน คงต้องตรวจเชื้อเจอทั้ง 2 ชนิด ดังนั้น 24 ราย ของไซปรัส พบว่า มีรหัสพันธุกรรมแตกต่างกัน แต่มีโอมิครอนเหมือนกันหมด 

โดยทำให้ 24 ราย ยังจัดชั้นการค้นพบอยู่ในสายพันธุ์เดลตา ข้อมูลดังกล่าวน่าจะเกิดจากการปนเปื้อน ในห้องปฏิบัติการ สารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอนในตัวอย่างผู้ติดเชื้อ เดลตา ซึ่งเป็นไปได้มากที่สุดทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน ส่วนการติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ในคนเดียวมีโอกาสน้อยมาก จากข้อมูลโอกาสที่เกิดจากสายพันธุ์ผสมในตัวอย่างเดียวกัน หรือ ไฮบริด หรือสายพันธุ์ใหม่มีความเป็นไปได้ต่ำมาก 

 

ส่วนชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 แอนติเจนเทสคิท กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำชุดตรวจ แอนติเจนเทสคิทที่ผ่านการอนุมัติ อย. 100 กว่าชนิด สุ่มมา 8 ยี่ห้อ พบว่า ผลการทดสอบชุดตรวจจำนวน 8 ยี่ห้อ ชุดตรวจทุกชุดสามารถตรวจจับเชื้อโควิด-19 ได้ และปัจจุบัน ยังไม่มีชุดตรวจคัดกรองโควิด-19หรือ แอนติเจนเทสคิท  ที่ตรวจหาสารพันโอมิครอนเฉพาะ 

 

การวินิจฉัยผู้ติดเชื้อโควิด-19 หากเป็นผู้สงสัยติดเชื้อ จะเริ่มด้วยการตรวจ ชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ แอนติเจนเทสคิทก่อน หากพบผลบวกไม่มีอาการ หรืออาการน้อย และไม่มีความเสี่ยงทางการแพทย์ ก็จะเข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน และศูนย์พักคอยชุมชนแต่หากมีอาการ หรือมีความเสี่ยงทางการแพทย์ ก็จะถูกจับตรวจ rt-pcr และเข้าโรงพยาบาล 

 

หากผลเป็นลบ ไม่มีอาการแต่มีประวัติเสี่ยง ก็จะต้องเฝ้าสังเกตอาการตัวเองกักตัวเอง และให้ตรวจ ATK ทุก 3 วันหรือเมื่อมีอาการ แต่หากไม่มีความเสี่ยงก็ให้ปฏิบัติตนเองตามมาตรการสาธารณสุข

ภาพจาก สธ.

 

 

 

 

ภาพจาก AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง