รีเซต

วิจัยพบโลกอาจเสีย 'ความหลากหลายทางชีวภาพ' กว่า 1 ใน 4 ในปี 2100

วิจัยพบโลกอาจเสีย 'ความหลากหลายทางชีวภาพ' กว่า 1 ใน 4 ในปี 2100
Xinhua
20 ธันวาคม 2565 ( 15:55 )
34
วิจัยพบโลกอาจเสีย 'ความหลากหลายทางชีวภาพ' กว่า 1 ใน 4 ในปี 2100

แคนเบอร์รา, 20 ธ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยออสเตรเลียค้นพบว่าความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่า 1 ใน 4 ของโลกจะสูญหายไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภายในปี 2100 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและการใช้งานที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีการสูญเสียพืชและสัตว์ร้อยละ 10 ในปี 2050 และร้อยละ 27 ในปี 2100 ทำให้อาจเรียกได้ว่าโลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ครั้งที่ 6

ผลวิจัยที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ (17 ธ.ค.) กล่าวว่าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สแห่งรัฐเซาธ์ออสเตรเลีย และคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ใช้เครื่องมือใหม่ในการสร้างแบบจำลองการสูญเสียสายพันธุ์คอรีย์ แบรดชอว์ นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส และจีโอวานนี สโตรนา จากคณะกรรมาธิการยุโรปและมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ สร้างโลกเสมือนจริงเพื่อประเมินวิถีทางการสูญพันธุ์ โดยใช้หนึ่งในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทรงพลังมากที่สุดในโลกแบรดชอว์กล่าวว่าประชากรเด็กที่ถือกำเนิดในวันนี้และมีอายุจนถึงช่วงวัย 70-79 ปี จะได้พบเห็นการสูญหายไปของพืชและสัตว์หลายพันชนิด ตั้งแต่กล้วยไม้ขนาดเล็กและแมลงเล็กจิ๋วที่สุด ไปจนถึงสัตว์อย่างช้างและหมีโคอาลารายงานระบุว่านับเป็นครั้งแรกที่แบบจำลองรูปแบบนี้บันทึกข้อมูลการสูญพันธุ์ร่วม (co-extinctions) หรือการที่สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต้องสูญหายไปเนื่องจากสายพันธุ์อื่นๆ ที่พวกมันพึ่งพาอาศัยล้มตายจนหมดแบรดชอว์ยกตัวอย่างสัตว์นักล่าที่สูญเสียเหยื่อจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยกลุ่มเหยื่อที่สูญหายไปนั้นถือเป็นการสูญพันธุ์ขั้นต้น เพราะได้รับผลกระทบจากสิ่งรบกวนโดยตรง แต่สัตว์นักล่าก็จะสูญพันธุ์ตามไปด้วยเนื่องจากไม่มีอาหารสำหรับดำรงชีวิต"ลองนึกภาพปรสิตสูญเสียโฮสต์ (host) ไปกับการตัดไม้ทำลายป่า หรือพืชดอกที่สูญเสียแมลงผสมเกสรเพราะอากาศอบอุ่นเกินไป สิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ล้วนพึ่งพาอาศัยกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง" แบรดชอว์กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง