รีเซต

ขั้นตอนลงทะเบียน "เบี้ยผู้สูงอายุ" เดือนพฤศจิกายน รับเงิน 600-1,000 บาท ทุกเดือน

ขั้นตอนลงทะเบียน "เบี้ยผู้สูงอายุ" เดือนพฤศจิกายน รับเงิน 600-1,000 บาท ทุกเดือน
Ingonn
2 พฤศจิกายน 2564 ( 08:56 )
51.8K

ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะมีการเปิดลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ โดยในปีนี้เปิดให้ผู้ที่เกิดก่อน 2 กันยายน 2506 สามารถลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ 600-1,000 บาทได้ ทุกเดือน ผู้สูงอายุ หรือญาติพี่น้องที่มีอำนาจแทนสามารถลงทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริการส่วนตำบล(อบต.) สำนักงานเขตที่อาศัยอยู่ได้ทันที สามารถเลือกรับเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีได้

 


“เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” หรือ “เบี้ยยังชีพคนชรา”

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคือ สวัสดิการที่รัฐมีไว้เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนับว่าเป็นอีกสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ภาครัฐจัดสรรไว้ให้กับผู้สูงอายุคือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน โดยในแต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่ ๆ มาลงทะเบียน


สำหรับผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเองได้ ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับผู้ที่ต้องไปลงทะเบียนใหม่ในรอบปีนี้คือผู้ที่เกิดก่อน 2 กันยายน 2506 ถ้าเกิดหลัง จากนี้ต้องรอในรอบถัดไปก็คือปีหน้า

 

เกณฑ์การจ่ายเงิน "เบี้ยผู้สูงอายุ"

อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับ 600 บาท

อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับ 700 บาท 

อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับ 800 บาท

อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

 

คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ "เบี้ยผู้สูงอายุ"

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ตัวอย่างการคำนวณอายุ เช่น การลงทะเบียนของปี 2560 ต้องเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2501 ส่วนผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ
  • ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ไปในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ที่รัฐจัดให้เป็นประจำ
  • หากมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเคยลงทะเบียนไว้แล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา จะต้องลงทะเบียนใหม่ในภูมิลำเนาที่ย้ายมาใหม่
  • ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงใหม่ทุกปี เว้นแต่มีการย้ายภูมิลำเนา หรือมีข้อมูลที่ต้องแก้ไขบ้างอย่าง
  • สำหรับผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเองได้ ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน ของทุกปี

 

ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุที่ไหน

สามารถติดต่อได้ที่ เทศบาล องค์การบริการส่วนตำบล(อบต.) สำนักงานเขต ในพื้นที่ที่ผู้รับสิทธิ์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากผู้สูงอายุมีการย้ายภูมิลำเนาไปพื้นที่อื่น จะต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพฯ กับสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่โดยเร็ว เพื่อจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพฯ อย่างต่อเนื่อง


ซึ่งคนที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่แล้ว ก็จะได้รับต่อเนื่องโดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ยกเว้นหากมีการย้ายทะเบียนบ้าน ถ้ามีการย้ายทะเบียนบ้านต้องไปแจ้งลงทะเบียนใหม่

 

ยกตัวอย่างเช่น 

เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่เชียงใหม่ ต่อมาย้ายทะเบียนบ้านมาที่ลำปางก็ต้องไปลงทะเบียนใหม่ในหน่วยงานในจังหวัดลำปาง

 

วิธีการลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ

  • ยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง
  • มอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทน

 

เอกสารใช้ในการลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ

  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จะต้องมีบัตร หรือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา 
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารตัวจริง ที่เป็นประเภทออมทรัพย์และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ

 

เงินผู้สูงอายุเข้าวันไหน

ทางภาครัฐ จะจ่ายให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งถ้าหากวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ตรงกับวันหยุด รัฐจะเลื่อนเวลาการจ่ายเงินเป็นก่อนวันที่ 10 และจะเริ่มได้เงินตั้งแต่เดือนที่ไปลงทะเบียน จะไม่ได้ย้อนหลัง หรือหากต้องการรับเงินสดก็แจ้งกับหน่วยงานได้เลยว่าต้องการรับเงินสด (รับด้วยตัวเอง หรือ รับผ่านคนที่ได้รับมอบอำนาจ)

 

 

 

ข้อมูลจาก เพจ เราชนะ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง