แอร์บัสเปิดตัวโครงการ 'รีไซเคิลเครื่องบิน' ระดับโลกแห่งแรกในเฉิงตู
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องบินแอร์บัส เอ321 (A321) ลำแรก ผลิตอยู่ที่โรงงานของสายประกอบขั้นสุดท้ายในเอเชีย (FALA) เทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีน วันที่ 9 พ.ย. 2022)
เฉิงตู, 25 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันพุธ (24 ม.ค.) แอร์บัส (Airbus) เปิดตัวโครงการศูนย์บริการวงจรชีวิตเครื่องบิน (ALSC) ซึ่งเป็นโครงการรีไซเคิลเครื่องบินระดับโลกโครงการแรกของแอร์บัส ในนครเฉิงตู ศูนย์กลางการบินที่สำคัญทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนโครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่กว่า 60 เฮกตาร์ (ราว 375 ไร่) สามารถให้บริการเครื่องบินหลากหลายประเภท และเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายระดับโลกสำหรับชิ้นส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่จากเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานแล้วโครงการนี้สร้างขึ้นด้วยเงินทุนรวม 6 พันล้านหยวน (ราว 3.05 หมื่นล้านบาท) มีเป้าหมายปรับปรุงอัตราการรีไซเคิลส่วนประกอบและวัสดุของเครื่องบิน เพื่อบรรลุการรีไซเคิลเครื่องบินแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 90 ตามน้ำหนักจอร์จ สวี รองประธานบริหารแอร์บัส และซีอีโอแอร์บัส ไชน่า ระบุว่าการเปิดโครงการดังกล่าวจะกลายเป็นจุดสำคัญใหม่ในการขยายความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างจีนและยุโรปซื่อชวน โพรวินซ์ แอร์พอร์ต กรุ๊ป (Sichuan Province Airport Group) ระบุว่าเฉิงตูมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2023 ท่าอากาศยานนานาชาติสองแห่งในเฉิงตู มียอดการเดินทางของผู้โดยสารมากกว่า 74.92 ล้านครั้ง และมีปริมาณการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์รวม 771,000 ตันทั้งนี้ การประมาณการของแอร์บัส ไชน่าเมื่อเดือนธันวาคม 2023 ระบุว่าจีนจะกลายเป็นตลาดบริการด้านการบินที่ใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2042 โดยมูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.93 ล้านล้านบาท)