รีเซต

ก.ล.ต. สั่งปรับปรุงนิยาม "ผู้ลงทุนสถาบัน" เเละ ปรับปรุงเฮียริ่งเกณฑ์การจัดส่งงบการเงินของผู้จัดการกองทรัสต์ฯ

ก.ล.ต. สั่งปรับปรุงนิยาม "ผู้ลงทุนสถาบัน" เเละ ปรับปรุงเฮียริ่งเกณฑ์การจัดส่งงบการเงินของผู้จัดการกองทรัสต์ฯ
TNN ช่อง16
2 พฤษภาคม 2568 ( 18:03 )
10

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดในการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งงบการเงินของผู้จัดการกองทรัสต์ฯ เพื่อลดภาระและความซ้ำซ้อนในการจัดส่งงบการเงินของผู้จัดการกองทรัสต์ฯ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (บลจ.) และปรับปรุงระยะเวลาครบกำหนดการจัดส่งงบการเงินให้สอดคล้องกับ บลจ.

ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ฯ จัดทำและส่งงบการเงินของบริษัทต่อ ก.ล.ต. ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี จากเดิมที่กำหนดจัดส่งภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี

2. ให้ส่งงบการเงินในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้จัดการกองทรัสต์ฯ ที่เป็น บลจ. ให้ส่งผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ จากเดิมให้ส่งผ่านระบบดังกล่าวและส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ ก.ล.ต. จัดไว้ด้วย สำหรับผู้จัดการกองทรัสต์ฯ ที่มิใช่ บลจ. ให้จัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ ก.ล.ต. จัดไว้

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1074 หรือทางอีเมล fundraisingpolicy@sec.or.th จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2568

นอกจากนี้ยังมีการ ปรับปรุงนิยาม "ผู้ลงทุนสถาบัน" โดยให้กองทุนส่วนบุคคล (private fund) เป็นผู้ลงทุนสถาบัน โดยไม่ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทุนรายบุคคลที่ใช้บริการ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับภาคธุรกิจในการดำเนินการ โดยยังมีความคุ้มครองผู้ลงทุนในระดับที่เหมาะสม โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

ก.ล.ต. ปรับปรุงนิยามผู้ลงทุนสถาบันในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund: PF) โดยกำหนดให้กองทุนส่วนบุคคลเป็นผู้ลงทุนสถาบันได้โดยไม่ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทุนที่ใช้บริการ (look through) เนื่องจากกองทุนส่วนบุคคลบริหารจัดการโดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ผู้ประกอบธุรกิจ) ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. 

อีกทั้งผู้ประกอบธุรกิจยังมีหน้าที่ในการจัดประเภทผู้ลงทุนและจัดการลงทุนให้เหมาะสมกับประเภทลูกค้า ซึ่งจะทำให้หลักเกณฑ์สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแล PF และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับภาคธุรกิจในการดำเนินการ ในขณะที่ยังมีความคุ้มครองผู้ลงทุนในระดับที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเผยแพร่ลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง