รีเซต

อันดับการรู้หนังสือไทยขยับขึ้นที่ 37 โลก

อันดับการรู้หนังสือไทยขยับขึ้นที่ 37 โลก
TNN ช่อง16
26 มีนาคม 2568 ( 11:40 )
12

รศ.ประวิต  เอราวรรณ์  เลขาธิการสภาการศึกษา  เปิดผยผลสำรวจการดูหนังสือของประชากรไทยปี 2568 พบว่าอัตราการรู้หนังสือของประชากรไทย  ใน 2 ช่วงอายุ  คือ  อายุ 15 ปีขึ้นไป  และอายุ 7 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 2 แสน 2 หมื่นครัวเรือนทั่วประเทศ หรือกว่า 500,000 คน พบว่าอัตราการรู้หนังสือเพื่มขึ้นจาก ปี 2561ที่อยู่ร้อยละ  94  ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 มาอยู่ที่เกือบร้อยละ 99  ซึ่ง อัตราการรู้หนังสือ ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญ ที่สะท้อนระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ  ทั้งในด้านคุณภาพการศึกษาและการเข้าถึงระบบการศึกษา และเป็นตัวชี้วัดที่หน่วยงานทางการศึกษาในระดับนานาชาติ นิยมนำมาใช้ในการจัดอันดับทางการศึกษาและความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการศึกษา 

สำหรับอัตราการไม่รู้หนังสือของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป  มีเพียงร้อยละ 1.17   และอายุ 7 ปีขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 1.16 ซึ่งกลุ่มที่ไม่รู้หนังสือนั้น อาจจะเป็น กลุ่มเด็กพิเศษ หรือมีภาวะบกพร่องทางร่างกาย ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแล ซึ่งจะร่วมกับสพฐ.ในการเข้าไปดูแล

ขณะที่ ภาพรวม ทั้งประเทศ มีเพียงจังหวัดเดียว ที่มีอัตราการไม่รู้หนังสือสูงกว่าร้อยละ 10 คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน   มีด้วยกันหลายปัจจัย ทั้งสภาพภูมิประเทศ การเดินทางที่ยากลำบาค เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขา การเข้าถึงการเรียนรู้

นอกจากนี้เมื่อนำอัตราการรู้หนังสือดังกล่าวไปเปรียบเทียบในระดับนานาชาติโดยใช้การจัดอันดับ IMD  ในการพิจารณา จะพบว่าอันดับของอัตราการไม่รู้หนังสือของประเทศไทย จะขยับจากอันดับที่ 59 ไปอยู่ที่อันดับ 37

ขณะเดียวกัน พบว่า ภาวะการลืมหนังสือการอ่านน้อยลง หรือการถดถอยของทักษะในการอ่าน ของผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่ไม่มีงานทำกลับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่ทำให้คุณภาพการอ่านของคนไทยลดน้อยลง ทางกรมส่งเสริมการเรียนรู้ จะร่วมกับท้องถิ่นในการฟื้นคืนห้องสมุดประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นกลับมา  เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรู้หนังสือและการอ่านที่มากขึ้น  อีกทั้งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มกัน ของ ชมรมผู้สูงอายุ มีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆด้วย



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง