เตรียมปรับแนวทางรักษาโควิดสู่โรคประถิ่น ล่าสุด "ยาโมลนูพิราเวียร์" ถึงไทยแล้ว
วันนี้( 10 มี.ค.65) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขมีแผนมาตรการในการเปลี่ยนผ่าน โควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่นที่จะเริ่มในเดือนกรกฎาคม ว่า แนวทางการรักษาต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามสถานการณ์ ซึ่งที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จากที่ต้องเข้าโรงพยาบาลทุกรายก็ค่อยๆปรับ มาสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน หรือ รูปแบบอื่น
หากตัวโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่มีความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น ทิศทางการรักษา จะเน้รักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD เป็นหลัก ที่อาจไม่ต้องกักตัวที่บ้าน แต่ต้องมีมาตรการทางสังคมควบคู่ไปด้วย ย้ำหากเชื้อไม่ได้มีการกลายพันธุ์ที่รุนแรงน่ากังวล หรือ ส่งผลต่อการของผู้ป่วยปอดอักเสบเหมือนในช่วงสายพันธุ์เดลต้า ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันก็จะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่จะเป็นการฉีดวัคซีนตามฤดูกาลปีละครั้ง เพื่อลดความรุนแรงของโรค
อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมถึงหลักเกณฑ์ในการรักษาโควิดสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ว่า จะดูจากความรุนแรงของโรคเป็นหลัก อัตราการเสียชีวิต ไม่เกินร้อยละ 0.1 แต่สถานการณ์ความรุนแรงของโรคเหมือนในช่วงที่สายพันธุ์ เดลต้า ที่มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบและปอดบวมจำนวนมาก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หากเป็นไปในแนวทางนี้ก็อาจจะไม่ง่ายนักที่จะสู่โรคประจำถิ่น หรือการรักษาแบบ OPD แต่ในช่วงการระบาดโรคโควิดสายพันธุ์โอมิครอน หรือ มีการแพร่เชื้อเร็ว แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนที่ดีสามารถป้องกันได้ดี แนวโน้มก็จะนำไปสู่โรคประถิ่น
แต่ทั้งนี้ ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย ในการควบคุมโรคที่ยังคงต้องเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีการระบาดเป็นคลัสเตอร์
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในรูปแบบผู้ป่วยนอก OPD 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ทั้งโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ที่มี่ผู้ป่วยเดินเข้ามารักษารวม 1,000 คน พบว่าร้อยละ 70 ร้อยละ 80 เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD ที่เหลือเข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน HI ส่วนการเข้านอนในโรงพยาบาลน้อยมาก
ทั้งนี้ การปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ฉบับล่าสุด จะมีการปรับเพิ่มยาโมลนูพิราเวียร์ และแพกซ์โลวิดเข้าไปด้วย ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608
ความคืบหน้ายาโมลนูพิราเวียร์ ตอนนี้ ยาได้มาถึงประเทศไทยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำฉลากและเตรียมกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆในอาทิตย์หน้า โดยคำแนะนำจาก องค์การอนามัยโลก WHO ในการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ควรใช้ในกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ และ กลุ่มโรคเรื้อรั้ง ส่วนความคืบหน้ายาแพกซ์โลวิดอยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญาซื้อขาย คาดว่ายาแพกซ์โลวิดจะมาถึงไทยในเดือนเมษายนนี้
นพ.สมศักดิ์ ย้ำ หากผู้ป่วยไม่อาการ หรือ อาการน้อย ไม่จำเป็นต้องรับยาเสมอไป โดยเฉพาะยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะอาจจะมีผลข้างเคียงจากยาได้ เช่น ตาสีฟ้า ผิวสีฟ้า เล็บสีฟ้า ซึ่งแพทย์จะใช้ดุลพินิจในการรักษา หากมีอาการก็จะให้ยาตามอาการปกติ
ข้อมูลจาก ผู้สื่อข่าว TNN ช่อง 16
ภาพจาก ผู้สื่อข่าว TNN ช่อง16 / AFP