รีเซต

เปรียบเทียบเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐอเมริกา จีนและรัสเซีย

เปรียบเทียบเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐอเมริกา จีนและรัสเซีย
TNN ช่อง16
3 มีนาคม 2565 ( 09:55 )
334
เปรียบเทียบเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐอเมริกา จีนและรัสเซีย

หัวรบนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา จีนและรัสเซีย


รัสเซียเป็นประเทศที่มีหัวรบนิวเคลียร์มากที่สุดโดยข้อมูลในปี 2021 พบว่ารัสเซียอาจมีหัวรบนิวเคลียร์พร้อมใช้งานแล้วมากกว่า 6,257 ลูก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตามมาเป็นลำดับสองมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 5,550 ลูก สำหรับประเทศจีนอยู่ในอันดับสามมีหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 350 ลูก ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ ปากีสถาน อินเดีย อิสราเอลและเกาหลีเหนือมีหัวรบนิวเคลียร์โดยประมาณ 10-300 ลูก


เครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์


สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทันสมัยมากที่สุดในโลกนอกจากบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ได้จำนวนมากยังสามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ เช่น เครื่องบิน B-2A Spitit  เทคโนโลยีล่องหนสามารถบินไปทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทุกที่บนโลกพิสัยการบินประมาณ 11,100 กิโลเมตร ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดในลักษณะใกล้เคียงกับ B-2A Spitit โดยใช้ชื่อว่า B-21 Raider แต่ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าและถูกเก็บเป็นความลับมาจนถึงปัจจุบัน 


สำหรับประเทศจีนอยู่ในช่วงของการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Xian H-20 ติดตั้งเทคโนโลยีล่องหนและสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตามข้อมูลของเครื่องบินรุ่นใหม่ถูกเก็บเป็นความลับ ส่วนประเทศรัสเซียมีโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนคล้ายสหรัฐอเมริกาและจีนแต่ใช้ชื่อว่า Tupolev Pak Da โดยข้อมูลการพัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้ยังถูกเก็บเป็นความลับด้วยเช่นเดียวกัน 


ICBMs ขีปนาวุธข้ามทวีปติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์


Minuteman lll ขีปนาวุธข้ามทวีปของสหรัฐอเมริกาถูกพัฒนาขึ้นมาประมาณ 400 ลูก ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ประมาณ 600 ลูก เนื่องจากขีปนาวุธบางลูกสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้มากกว่า 1 ลูก สามารถยิงได้ไกล 11,000-12,000 กิโลเมตร ส่วนขีปนาวุธรุ่นอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา เช่น Mk-12 และ Mk21/SERV ถูกผลิตออกมาในจำนวนน้อยที่กว่า  Minuteman lll


สำหรับจีนมีขีปนาวุธ Dongfeng 5, Dongfeng 21, Dongfeng 41 สามารถยิงได้ไกล 12,000-15,000 กิโลเมตร ส่วนรัสเซียมีขีปนาวุธ RS-28 Sarmat, R-9 Desna และ R-36 ยิงได้ไกลประมาณ 16,000-18,000 กิโลเมตร


ระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก


สหรัฐอเมริกามีโครงการพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกความเร็วเหนือเสียง HAWC หรือ Hypersonic Air-breathing Weapon Concept  ขีปนาวุธจะติดเครื่องยนต์เจ็ท Scramjet สามารถทำความเร็วระดับมัค 5 หรือประมาณ 6,180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าความเร็วเสียง 5 เท่า ติดหัวรบนิวเคลียร์ เนื่องจากผู้ออกแบบขีปนาวุธรุ่นนี้ต้องการให้สามารถหลบหลีกระบบป้องกันภาคพื้นดินและพุ่งใส่เป้าหมายอย่างแม่นยำ การสอบเกิดขึ้นแบบลับ ๆ ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา


ในช่วงปีเดียวกันรัสเซียได้พัฒนาระบบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกในลักษณะใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาโดยมีชื่อโครงการว่า Zircon ทำความเร็วได้มากกว่าระดับมัค 9.6 หรือประมาณ 11,865 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าความเร็วเสียง 9.6 เท่า อย่างไรก็ตามรัสเซียได้เก็บโครงการนี้เป็นความลับ สำหรับประเทศจีนมีโครงการในลักษณะใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาและรัสเซียพัฒนาโดย Chinese Academy of Sciences แต่ยังไม่ทราบชื่อของโครงการขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก 


ข้อมูลจาก newsweek.com, atomicarchive.com 

ภาพจาก wikipedia.orgdarpa.mil 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง