รีเซต

ธารน้ำแข็งละลายจนถล่ม พังเขื่อนแตก นักวิทย์ขึ้นฮ.ส่อง ปมโลกร้อน

ธารน้ำแข็งละลายจนถล่ม พังเขื่อนแตก นักวิทย์ขึ้นฮ.ส่อง ปมโลกร้อน
ข่าวสด
11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 01:48 )
143

ธารน้ำแข็งละลายจนถล่ม - บีบีซี รายงานว่า จากเหตุภัยพิบัติธารน้ำแข็งถล่มพังเขื่อนแตกจนน้ำหลากท่วมฉับพลันบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำทาโปวัน รัฐอุตตราขัณฑ์ ภาคเหนือของอินเดีย มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและผู้สูญหายกว่า 200 รายนั้น นักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้ธารน้ำแข็งบางส่วนแตก ถล่มลงเขื่อนจนทำให้เกิดคลื่นสูงและน้ำทะลักท่วมอย่างน่าตกใจ

 

ภาพผ่านดาวเทียม Maxar's WorldView-1 เมื่อ 9 ก.พ. แสดงให้เห็นมุมโรงไฟฟ้า the National Thermal Power Corporation's (NTPC) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างตลาดแนวแม่น้ำเธาลีคงคา หลังจากธารน้ำแข็งถล่มลงมาและก่อให้เกิดน้ำทะลักท่วม Satellite image ?2021 Maxar Technologies/Handout via REUTERS

 

นักวิทยาศาสตร์ 5 คนขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจธารน้ำแข็งและถ่ายรูป พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์จากภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณที่เสียหาย โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ธารน้ำแข็งน่าจะแตกแล้วร่วงลงมาใส่แม่น้ำ หรือเป็นเพราะหิมะถล่มลงมาเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าด้านล่าง

ต้นตอของเหตุการณ์น่าสะพรึงครั้งนี้เกิดจากธารน้ำแข็งบนยอดเขา ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 5,600 เมตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าส่วนหนึ่งของธารน้ำแข็งปกคลุมไหล่เขาลาดชันและตรึงไว้ด้วยหินนั้น เป็นส่วนที่เริ่มอ่อนตัวลงไปตามกาลเวลา ผ่านช่วงแช่แข็งและละลาย

 

 

กระทั่งเมื่อธารน้ำแข็งหลอมละลายผ่านกาลเวลาพร้อมกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนอ่อนตัวและพังทลายลงในที่สุด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ก.พ. พัดพาเอาหิมะ ก้อนหิน ตะกอนและน้ำไปตามกระแสน้ำเชี่ยวกรากไปจนถึงตีนเขา

 

General view during a glacial flood in Tapovan, Uttarakhand, India February 7, 2021 Manvar Rawat/Sewa International/via REUTERS

 

เมื่อหินจำนวนมหาศาล หิมะและตะกอนดินไหลลงมาถึงลำธารแคบๆ บนภูเขาที่ระดับความสูง 3,600 เมตร ทำให้ระดับน้ำในลำธารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มวลน้ำมหาศาลและก้อนหินที่ไหลมากับสายน้ำล้นทะลักเขื่อนเบื้องล่างทำให้พื้นที่ด้านล่างถูกน้ำท่วมฉับพลัน

 

 

คาลาชาน เซน ผู้อำนวยการสถาบันวาเดียด้านภูมิศาสตร์หิมาลัยส่งคณะนักวิทยาศาสตร์ไปสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและกล่าวว่าเหตุแบบนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก พร้อมกับชี้ว่าสาเหตุเกิดจากธารน้ำแข็งที่เกาะอยู่เกิดอ่อนตัว หลังจากผ่านกาลเวลามานาน หรือระบุให้ชัดเจนไปเลยว่าสาเหตุหลักเกิดจาก “ภาวะโลกร้อน”

 

ภาพถ่ายผ่านดาวเทียม Maxar's satellite แสดงจุดก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำทาโปวัน วิษณุกฎ เมื่อ 23 พ.ย. 2561 ก่อนเกิดธารน้ำแข็งถล่ม

 

เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้น้ำแข็งละลายและธารน้ำแข็งจึงแตกตัว ธารน้ำแข็งสะสมหิมะในหน้าหนาวและละลายในหน้าร้อน แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งใช้เวลาละลายเร็วกว่าตอนสะสมซึ่งประเมินว่าอาจมีธารน้ำแข็งกว่า 10,000 แห่งบนเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย เฉพาะรัฐอัตตราขัณฑ์ น่าจะมีประมาณ 1,495 แห่งและลดจำนวนลงมากเนื่องจากสภาพอากาศอบอุ่น

 

General view of the place where members of National Disaster Response Force (NDRF) conduct a rescue operation, after a part of a glacier broke away, in Tapovan in the northern state of Uttarakhand, India, February 10, 2021. REUTERS/Anushree Fadnavis

 

ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ก.พ. ถือได้ว่าเกิดขึ้นได้เพียงร้อยละ 10 ของธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย แต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล

สำหรับความคืบหน้าการค้นหาผู้สูญหายในเหตุการณ์นี้นับร้อยชีวิต หน่วยกู้ภัยใช้โดรนค้นหาคนงานที่สูญหายอยู่ในอุโมงค์ที่ถูกน้ำทะลักท่วม จากผู้สูญหาย 204 ราย ส่วนใหญ่เป็นคนงานที่โรงไฟฟ้าทาโปวัน วิษณุกฎ กู้ศพได้แล้ว 32 ราย

 

ความหวังในการค้นหาผู้รอดชีวิตริบหรี่ลงเรื่อยๆ หลังจากโดรนที่ติดตั้งกล้อง 5 ตัวส่งเข้าไปในอุโมงค์ไม่พบร่องรอยทั้งผู้รอดชีวิต หรือร่างผู้เสียชีวิต ขณะที่สภาพอากาศหนาวเย็นจัด ทำให้แทบไม่มีหวังว่าจะมีใครรอดชีวิตได้

ส่วนทีมเคลียร์ดินโคลนที่ขวางอุโมงค์อยู่ เคลื่อนย้ายดินโคลนไปได้มากกว่า 80 เมตร แต่ยังต้องเคลียร์ให้ได้อีก 80 เมตรจึงจะถึงจุดที่คนงานส่วนใหญ่ติดอยู่

 

นอกจากนี้ ชาวบ้านในหมู่บ้านตามเทือกเขา 13 หมู่บ้านยังถูกตัดขาดจากภายนอก เนื่องจากน้ำปนดินโคลนหลากท่วมเส้นทาง เจ้าหน้าที่ต้องส่งเฮลิคอปเตอร์ไปส่งเสบียงให้

///////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ชี้สร้างเขื่อนปมธารน้ำแข็งถล่ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง