ทำความรู้จัก "สว.พันธ์ใหม่" ทำเพื่อประชาชน ไม่มีใครกดปุ่มสั่งได้ ในมุม อ.นันทนา
ทีมข่าวทีเอ็นเอ็นชวนคุยกับหนึ่งใน สว.ชุดใหม่ ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีมหาวิทยาลัยเกริก ถึงนิยามที่เธอเรียกว่า “สว.พันธ์ใหม่” ที่ทำเพื่อประชาชน และไม่มีใครกดปุ่มสั่งได้
ผู้สื่อข่าว: ทำไมจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอยู่ดี ๆ สบาย ๆ ทำไมจู่ๆ ถึงอยากมาทำหน้าที่ เป็น สว.
อ.นันทนา: ตอนนั้น ไอลอว์ เขาออกคลิปมารณรงค์ว่า คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ท่านควรเสียสละเข้ามาสมัครตรงนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็น สว. ของประชาชนมันเกิดขึ้นจริง
เรารู้สึกว่าบทบาท สว. ที่ผ่านมา มันไม่ตอบโจทย์ประชาชน เราต้องเสีสยสละลงมาเล่นตรงนี้ เป็นผู้เล่นเอง แม้ต้องคลุกโคลน คลุกฝุ่นเราก็ต้องสละ แม้รู้ว่ากติกามันวิปริต
ไม่ใช่กติกาให้ได้มาซึ่งคนที่จะมาทำหน้าที่ นิติบัญญัติเลย มันเป็นกติกาเกมโชว์ที่โหด ที่ท้าทาย เพื่อให้คนเสี่ยงเพื่อไปรับรางวัลใหญ่ บางครั้งก็ต้องหักหลัง เล่นนอกกติกา มันจึงเป็นเรื่องที่เราคิดว่า ต้องเข้าไปเปลี่ยนค่ะ เพราะกติกาแบบนี้ ดิฉันคิดว่ามันจะไม่ได้ตัวแทน
ของปวงชนชาวไทยที่เหมาะสมแน่ ๆ ค่ะ
——
ผู้สื่อข่าว: ในอดีตหรือในต่างประเทศ เคยมีกระบวนการคัดเลือก สว.โดยใช้วิธีการ โหวตเลือกกันเอง แบบนี้ไหมคะ
อ.นันทนา: ในต่างประเทศไม่มี แต่สำหรับประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขาได้ใช้วิธีนี้ ในการคัดเลือก สว.ไปแล้ว ในปี 2562 แต่ว่ามันค่อนข้างเงียบและมีผู้สมัคร 7,000 เขาเลือก 200 เลือกตามกระบวนการแบบนี้เลย จบที่เมืองทอง
แล้วสุดท้าย คสช.เลือก 50 คนไปอยู่ใน สว.ชุดปัจจุบัน ซึ่ง 200 คนของ สว.ชุดรักษาการณ์ คสช.เลือก100% แล้วอีก 50 คน มาจากกระบวนการเดียวกัน และ คสช. ไปเลือกอีก 50 รวมเป็น 250
เคยถูกใช้แล้วแต่ครั้งนั้นไม่เป็นที่รับรู้ เลยเป็นข้อสงสัยว่า จริง ๆ สว.ชุดรักษาการณ์เขารู้อยู่แล้ว ว่ากระบวนการเลือก สว. แบบนี้มันเคยเกิดขึ้นแล้ว ก็น่าจะรู้ว่า ปัญหามันคืออะไร ทำไมไม่ตั้ง กมธ.ตรวจสอบตั้งแต่ตอนนั้น ทำไมพ้นวาระ จึงมาเสนอญัติ เพื่อศึกษา ถอดบทเรียน
ทำไมเพิ่งมาและจะมาขยันอะไรชั่วโมงนี้ เพราะก่อนหน้านี้มันก็เคยมีมาแล้ว และก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยมีใคร อิ๊ อ๊ะ อะไรเลย ตอนนี้มันพ้นหน้าที่ไปแล้ว เพียงแต่ว่า สว. ชุดใหม่ ยังไม่ได้รับการรับรอง
การไปเปิดประเด็นแล้วริเริ่มใหม่ โดยมารยาททางการเมือง เขาไม่ทำกัน เช่นรัฐบาลรักษาการณ์ รอรัฐบาลชุดใหม่ ชุดเดิมจะไม่แตะ งบประมาณแน่นอน เพราะมันเป็นการแทรกแซงรัฐบาลชุดใหม่โดยปริยาย รอส่งมอบอำนาจและไป
——
ผู้สื่อข่าว: คุยกันมาเห็นอาจารย์พูดว่าการเลือก สว.ครั้งนี้ มันไม่โปร่งใส สรุปว่าข้อร้องเรียนต่าง ๆ ในการเลือกสว.ที่เกิดเป็นข่าวขึ้นมา ทั้งการฮั้วกัน โพยโหวตต่าง ๆ เนี่ย มันมีมูลจริง ๆใช่ไหม
อ.นันทนา: จริงค่ะ การเลือกครั้งนี้มีคะแนนที่ไม่ปกติออกมา แล้วผู้สื่อข่าวก็เลยรายงานข่าวว่า ที่เราเห็นคะแนนที่เป็นกลุ่มก้อนไม่ปกติ เราอาจจะเรียกว่า เป็นการ ฮั้วกันก็ไดื
ทีนี้ทั้งกติกา มีการบกพร่องทุกจุดเลย ดิฉันเรียกว่า
โหดเหี้ยม หักหลัง และ ฮั้ว ทำไมพูดแบบนี้ เพราะดิฉันอยู่ในกระบวนการมาทุกรอบ
ในรอบอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะมีวิธีกากรเลือกที่เหมือนกัน คือ รอบเช้า กับ รอบบ่าย เช้าเลือกเองในกลุ่มอาชีพ บ่ายคือ การเลือกไขว้
การเลือกกันเอง คือรอบโหดเหี้ยม เพราะอยู่ในกลุ่มอาชีพเดียวกัน สมมติมมี 10 คน สมัครมาในกลุ่มอาชีพนี้ ในรอบอำเภอ คัดให้เหลือ 5 คน โดยทุกคนจะมี 2 โหวต จะให้ตัวเอง กับ คนอื่น หรือ ให้คนอื่นหมดเลยก็ได้ ที่นี้ธรรมชาติของมนุษย์ มันจะผลักดันให้คนที่อยู่ในเกม ต้องคิดว่า 10 คน ถ้าเราให้คะแนนกับคนที่เด่นกว่าเรา รอบต่อไปหากเรากับเขาได้เข้าไป
รอบเลือกไขว้ต่อไป คนที่เลือก เป็นคนจากกลุ่มอาชีพอื่น
คนที่โดดเด่นในกลุ่มเราก็จะถูกเลือกแทนเรา ดังนั้น ถ้าเราเลือกคนเด่นเข้าไป แม้จะเข้าไปด้วยแต่เราจะไปตกรอบหน้า นี่จึงเรียกว่า รอบสกัดจุดแข็ง ก็คือใครเด่น ใครดังกว่าเรา เราสกัดออกไปก่อนเลย บางทีก็มีการรวมกันว่า ไม่เอาคนนี้ดีกว่า ถ้าพวกเราเข้าไป มีโอกาส แต่ถ้าคนนี้เข้าไปเขาถูกเลือกแน่ ๆ เขาเข้ารอบแน่ ๆ
อันนี้จึงเป็นรอบที่โหด เพราะว่าทุกคนต้องตัดสินใจบนพื้นฐานที่ตัวฉันจะได้เข้ารึเปล่า ไม่ใช่กติกาได้มาซึ่งคนคุณภาพ ไม่ได้เลือกคนที่เป็นประโยชน์กับประเทศ
เราจึงได้เห็นว่า ในรอบนี้ มีคนดังตกรอบกันเยอะมาก เพราะจำเป็นต้องสกัดคนเด่นให้หลุดไปก่อน ก่อนที่รอบบ่ายจะเป็นรอบไขว้ อันนี้เป็นรอบ หักหลัง
หักหลังยังไงคะ คือ ไขว้กัน 5 กลุ่มอาชีพ เราต้องไปจับฉลาก เพื่อเลือกอีก 4 กลุ่ม ที่มาอยู่กลุ่มเดียวกับเรา รวมเป็น 5 กลุ่มอาชีพ อยู่ร่วมกัน ทีนี้เราเลือกพวกเราเองไม่ได้ละ เราต้องไปเลือก 1 กลุ่มอาชีพ 1 คน เราจะมี 4 คะแนน ที่จะไปเลือก 4 กลุ่ม กลุ่มละ 1
แล้วเราไม่รู้จักกันมาก่อนนะ สว. ที่ กกต.ให้แนะนำตัว 5 บรรทัด มันไม่ทำให้เรารู้จักเขา มันต้องไปเดินพูดคุย ทีนี้การคุย และโดยทั่วไป มันต้องมี ข้อแลกเปลี่ยน งั้นเราตกลงแลกกันไหม เพราะในรอบนี้เราเลือกตัวเองไม่ได้ ต้องแลกกันไหม เราเลือกเขา เขาเลือกเรา มี 4 โหวต ไปแลก 4 กลุ่ม
เอาจริง ๆ ถ้าทุกคนแลกกัน 4 โหวต ทุกกลุ่มจะเกิดอะไรขึ้นคะ? คะแนนเท่ากันทุกกลุ่ม ไม่มีผู้ผ่าน ต้องจับฉลากต่อ แต่ทีนี้มันเกิดอะไรขึ้นคะ?
ทีนี้ก็มีคนหัวใส ถ้างั้นเราก็ไปเปิด ดีล 4 คนนี้ ปิดเรียบร้อย เราไปเปิดดีลอีก 4 โหวต แต่รอบสองเราไม่มีโหวตจริงแล้ว แต่เราไปหลอก 4 คนว่า เราจะโหวตเขา แต่เทอก็โหวตให้ฉันนะ ซึ่งกลุ่มใหม่เขาก็ไม่รู้ มันก็จะเกิดปรากฎการณ์ที่มีการหักหลังกัน
เราให้ดีลแรกไปแล้ว 4 ดีลหลังอีก 4 เราไม่มีให้เขา แต่เขาจะไม่รู้ จนกระทั่งมีการเปิดหีบ โหวตเสร็จ ก็จะรู้แล้วว่า ที่เราสัญญากับเขา สุดท้ายเราไม่ได้โหวตให้เขา เพราะว่าคะแนนไม่เยอะ กล่องหนึ่งมี 30 ใบ ถ้ามีการตกลงกัน มันจะรู้เลยว่า ใครเลือก หรือ ใครไม่เลือก เพราะคะแนนในรอบนี้น้อยมาก
ตัวดิฉันได้มา 5 คะแนน เพราะฉะนั้นมันจะรู้เลยว่า ใครที่ตกลงแล้ว ไม่รักษาสัญญา ก็คือ หักหลัง รอบนี้เป็นรอบทีเลือกเสร็จ เปิดห้องออกมา มีการด่าทอ ร้องห่มร้องไห้ หน้าห้องเลย ชี้หน้าด่า เพราะมันรู้ไงคะว่า ที่ตกลงกันไว้ ได้เลือกตามสัญญาหรือเปล่า แปลว่า โดนหักหลังกันถ้วนหน้า รอบนี้ ซึ่งกรณีนี้ ก็อาจจะมีบางส่วนที่แบบโดนหลอก หักหลังและไปร้องเรียน กกต.
เหมือน Hunger Game Squid Game รวมกันเลย คือเอาตัวรอดอย่างเดียวฉันต้องรอดใครจะเป็นอย่างไรช่างมัน แล้วฉันก็ฝ่าฟันเข้าไปชิงรางวัลใหญ่รอบสุดท้าย เป็นการผนึกกำลังกัน เหมือนบางคนมีหน้าที่เข้ามาเพื่อส่งคน
เพราะรอบสุดท้าย รอบไขว้ จะเหลือแค่กลุ่มละ 10 คน เลขสูง ๆ จะอยู่ที่อันดับ 1 - 6 ค่ะ ถ้าไม่หอบหิ้วกันมา รอบบ่ายจะตก ไม่มีคนมาส่ง เขาจึงต้องมาส่งกัน โหวตข้ามสาย เพื่อส่งกัน บางคนที่ถอดรหัสเกมนี้ แล้วทำแค่จังหวัดเราก็จะพบว่ามีใครบางคน ตกในรอบประเทศ
ยกตัวอย่างเช่น ท่านอดีตนายกฯ ก็ตกในรอบประเทศ ถ้าทำเฉพาะในจังหวัดจะรอดมา แล้วเข้ามาถึงรอบเช้า ปริ่ม ๆ ก่อนตก พอรอบบ่ายตกเลย เพราะมันต้องมีกระบวนการส่งกันทุกกลุ่มอาชีพ และทุกจังหวัด
ไม่ใช่แค่จังหวัดใด จังหวัดหนึ่ง 77 จังหวัด
จังหวัดที่เหมือนไม่มีการจัดตั้งเป็นกระบวนการ น่าจะเป็นกรุงเทพฯ เพราะเป็นจังหวัดที่ใหญ่ มี 50 อำเภอ เขตเลือกตั้ง ในขณะที่บางจังหวัด มี 3 อำเภอ แต่ได้จำนวน ผู้แทนของกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่มอาชีพเท่ากัน อาชีพละ 2 คน
เพราะฉะนั้น กทม. มีการแข่งขันสูงมาก เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่า มาจัดตั้งกระบวนการที่กรุงเทพ ไม่คุ้มเลย กกน่าจะตรวจสอบติดตามได้ เพราะเป็นอะไรที่เห็นชัด
——
ผู้สื่อข่าว : อาจารย์มองว่าประชาชน จะได้ประโยชน์อย่างไร จะลบภาพลักษณ์ สว.ที่มาจาก รัฐประหารไหม และ สว.ชุดใหม่ จะช่วยให้การเมืองไทย ดีขึ้นกว่าเดิมยังไง?
อ.นันทนา: เราก็คาดหวังอย่างสูงนะคะก่อนที่จะมีการเลือกเสร็จว่า กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ตรงกัน ในการผลักดันวาระประชาชน เราจะได้มากัน มีจำนวนที่มากพอ 1 ใน 3 ที่จะไปลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญอะไรต่ออะไรตรงนี้
แต่สุดท้ายด้วยวิธีการคัดเลอืกที่มันเป็นแบบนี้ เราก็ได้เพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์กันมาในจำนวนนับไม่มากนัก 20 - 30 คน แต่ถ้าถามว่า เมื่อเทียบกับ สว.ชุดรักษาการณ์อยู่ตอนนี้ มันต่างกันอย่างไร?
ประการแรก คือที่มา สว.รักษาการณ์ มาจาก คสช. เท่านั้น ประชาชนไม่เกี่ยวข้องเลย เพราะฉะนั้นการลงมติ จะไม่แตกแถวเลย แต่ สว.ชุดใหม่ แม้กระบวนการจะมีการฮั้วกัน ปึกแผ่น ความไม่ปกติ แต่ไม่ทั้งหมด มี สว.ที่เข้ามาด้วยคะแนนธรรมชาติ และเป็นอิสระ จากกลุ่มก้อนทางการเมือง
เพราะฉะนั้น ความแตกต่างคือตรงนี้ มันจะไม่ใช่ สว.ที่กดปุ่มได้อีกต่อไป มันจะมี สว.ที่เข้าไปตรวจสอบ ยกมือในการที่จะสอบถาม ตรวจสอบ กลั่นกรองกฎหมายอย่างมมีคุณภาพ เป็นตัวแทนของประชาชน และจะไม่มีการโหวตแบบ 200:0
เพราะว่า สว.อิสระพวกเราเป็น สว.พันธุ์ใหม่ ไม่มีใครมากดปุ่มสั่งพวกเราได้ การโหวตจะแตกต่างกันไป และเราตระหนักถึงความเป็นตัวแทนของประชาชน เพราะฉะนั้นเราตระหนักถึง อะไรก็ตามที่เป็นปัญหา ความต้องการของประชาชน เราจะเข้าไปดูแล และโหวตตามเสียงที่ประชาชนต้องการ
แม้ไม่ชนะ แต่ให้รู้ว่า สว.ชุดนี้ กดปุ่มสั่งไม่ได้ และวาระประชาชน จะถูกผลักดันเข้าไป ไม่โหวตชนะแต่ได้สื่อสาร แล้วได้ทำให้ประชาชนรับรู้ว่า สิ่งที่เป็นปัญหาได้ถูกนำมาพิจารณา
แล้วเราจะตรวจสอบ ฝ่ายบริหารอย่างเข้มข้น กฎหมายต่างๆที่ผ่านมา ถ้าไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน เราไม่โหวตผ่านให้อยู่แล้วค่ะ