งานวิจัยเผยโครงข่ายประสาทเทียมอาจต้องใช้พลังงานโลกทั้งใบ
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหลายคนได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับโครงข่ายประสาทเทียม (Neural networks) ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน งานวิจัยนี้ได้มีการเตือนว่า โลกของเราอาจไม่มีพลังงานเพียงพอในการรองรับการทำงานของโครงข่ายประสาทเทียม หรือแม้แต่หาทางยับยั้งการป้องกันได้หากว่าโครงข่ายต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงมีการใช้งานทางระบบออนไลน์ที่เป็นอยู่ทั่วโลก
ทางด้าน Mikkel Abrahamsen ผู้ช่วยอาจารย์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนประจำคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ออกมากล่าวว่า ปัญหาก็คือ การที่โครงข่ายประสาทเทียมมีความสามารถในการใช้พลังงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยที่การทำงานของโครงข่ายประสาทเทียมไม่ได้พุ่งเป้าในเรื่องของการโฆษณาให้ตรงกับผู้ใช้เป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่โครงข่ายมันไม่เคยหยุดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับหลุมอากาศ (Black hole) ที่ได้มีการดูดกลืนพลังงานอะไรก็ตามที่คุณได้โยนลงเข้าไปโดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องของความยั่งยืนแต่อย่างใด
แม้ว่าจะมีการใช้อัลกอริทึมให้ดีแค่ไหน ทางผู้ช่วยอาจารย์ยังคงกล่าวว่า ต่อให้จัดการกับระบบได้ดีแค่ไหน ก็ไม่อาจปรับให้เข้ากับโครงข่ายที่ใช้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ ไปจนถึงการปรับเป้าหมายการโฆษณาให้ตรงกับผู้ใช้งานก็ดี เรื่องนี้มองได้ว่า จะต้องมีการตั้งค่าพารามิเตอร์มากกว่า 1 พันล้านรายการด้วยกัน
ปัจจุบันโครงข่ายประสาทเทียมมีการฝึกฝนที่มีการใช้ทั้งเวลาและพลังงานจำนวนมาก และเมื่อมาดูปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตรงนี้แล้ว ทั้งคณะวิจัยก็ได้ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า การฝึกฝนของโครงข่ายประสาทเทียมอาจต้องใช้พลังงานที่มีอยู่บนโลกทั้งใบ ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่อาจที่จะรับมือได้ โดยที่โครงข่ายค่อย ๆ มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างช้า ๆ จนสามารถจัดการตัวเองได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยที่คนส่วนใหญ่ที่ใช้งานโซเชียลบนโลกออนไลน์ไม่อาจที่จะรับรู้ได้ถึงการใช้พลังงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ตรงนี้ได้เลย
ข้อมูลจาก : futurism.com
ภาพจาก : pinterest.com