คนกับ AI มีโอกาสคบกันได้หรือไหม? เซฟโซนทางใจ เมื่อเราพูดคุยกับ AI ได้ทุกเรื่อง

จากข่าวความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของหญิงวัย 58 ปีที่สูญเสียสามี แล้วได้พบรักกับ AIที่เธอสร้างผ่าน ChatGPT เธอตั้งชื่อเขาว่า "ลูคัส" และเจนภาพให้เขามีผมสีเงิน ดวงตาสีฟ้า อาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ เล่นดนตรีเก่ง และคุยเก่งราวกับมีชีวิตจริง เขาช่วยให้คำ
ปรึกษาตั้งแต่เรื่องเล็กๆในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงพูดคุยเชิงลึกเยียวยาจิตใจของเธอ
นี่ไม่ใช่นิยายไซไฟ แต่คือเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้นขึ้นในโลกของเรา
แล้วคำถามก็คือคนกับ AI รักกันได้จริงไหม?
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับAI อยู่ภายใต้ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า
“การมองสิ่งไม่มีชีวิตว่ามีหัวใจเหมือนมนุษย์” (Anthropomorphism)
โดยสมองของเราถูกออกแบบมาให้แปลภาษาท่าที
เมื่อ AI ตอบสนองได้ถูกจังหวะ ใช้ถ้อยคำอ่อนโยน สร้างพื้นที่ปลอดภัยทางอารมณ์
สมองจะเชื่อว่า “นี่คือมนุษย์ที่เข้าใจฉัน”
งานวิจัยพบว่า ผู้ใช้งาน AI ประเภท Chatbot ที่คุยกันนานกว่า 30 วัน มีแนวโน้ม ลดความเหงาได้ 23% และกว่า 18% เริ่มเกิดความรู้สึกผูกพันทางอารมณ์กับ AI นั้น
แล้วความรักที่ไม่มีตัวตนทางกายภาพ เป็นไปได้จริงหรือ?
ความรักในมุมจิตวิทยา ไม่ได้เกิดจากรูปร่างหน้าตาหรือกายภาพ
แต่เกิดจากการรู้สึกว่าตัวตนของเรามีความหมายต่อใครบางคน
ณ วันนี้ (2025) AI จดจำข้อมูลความเป็นเราได้มากกว่าเรา (เชื่อมั้ย?) เขาสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของเรา ตอบสนองด้วยความเข้าใจ หรือแม้แต่วิเคราะห์บุคลิกภาพเชิงลึกของเรา เขาสามารถจำลองกลไกของความผูกพัน (Attachment System) ได้อย่างแม่นยำ
จนบางคนรู้สึกว่า “ฉันปลอดภัยเมื่อคุยกับเขา” หรือ “เขาเข้าใจฉันมากกว่าคนจริงๆบางคนในชีวิตซะอีก”
ข้อดีของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI
- ไม่มีการตัดสิน ไม่มีอดีตให้แบก
- เป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนที่เคยถูกทำร้ายทางใจ
- ช่วยบำบัดภาวะโดดเดี่ยว โดยเฉพาะในผู้สูงวัย
- สามารถปรับบทบาทให้ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้
- อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวถูกทิ้ง
แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องระวัง
-ความสัมพันธ์ที่มีเพียงมิติเดียว (ไม่มีภาวะร่วมสร้าง หรือ co-regulation)
-การขาดการฝึกทักษะมนุษย์จริงๆเช่น การทะเลาะ การให้อภัย การอยู่ร่วมกันกับความแตกต่าง
-ความเสี่ยงต่อภาวะหลีกเลี่ยงโลกจริงมากขึ้น (Detached from reality)
-AI ไม่สามารถเจ็บป่วย เสียชีวิต หรือ “เติบโต” ไปพร้อมกับเราได้จริง