รีเซต

เปิด 5 โรคอันตรายหน้าฝนที่เล่นงานเด็กไทยทุกปี

เปิด 5 โรคอันตรายหน้าฝนที่เล่นงานเด็กไทยทุกปี
TNN ช่อง16
14 พฤษภาคม 2568 ( 11:16 )
2

พญ. สุธิดาชินธเนศกุมารแพทย์แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็กศูนย์กุมารเวชโรงพยาบาลวิมุตจะมาแชร์ข้อมูลของโรคระบาดในเด็กที่พบบ่อยในหน้าฝนพร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปดูแลลูกให้ห่างไกลโรคร้าย

เจาะ 5 โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน พร้อมอาการที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ช่วงหน้าฝนเด็กมักเสี่ยงต่อโรคระบาดเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโรคติดต่อผ่านการสัมผัสรวมไปถึงกลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะพญ. สุธิดาชินธเนศอธิบายถึงลักษณะของแต่ละโรคว่า “โรคที่พบได้บ่อยในช่วงนี้ได้แก่

  • โรคมือเท้าปาก

ที่มักพบในเด็กเล็กวัยก่อนเข้าเรียนหรือในเด็กต่ำกว่า 5 ปีเกิดจากไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงอาการเด่นชัดคือมีไข้สูงมีแผลในปากและมีผื่นที่มือและเท้าบางคนถ้าติดเชื้อสายพันธุ์รุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองกล้ามเนื้อและหัวใจ

  • โรคไข้หวัดใหญ่

ซึ่งรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาเด็กจะมีไข้สูงปวดเมื่อยตัวอ่อนเพลียและอาจมีอาการไอน้ำมูกอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วยหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่นปอดบวมและสมองอักเสบ

  • โรคปอดบวม

เป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างซึ่งอาจพัฒนามาจากไข้หวัดธรรมดาโดยเด็กจะมีอาการไอและมีเสมหะมากหายใจเร็วหรือหายใจหอบเหนื่อยเสียงหายใจผิดปกติและในบางรายอาจมีริมฝีปากเขียวคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอาการรุนแรงแล้วโรคต่อมา

  • โรคตาแดง

จากไวรัสซึ่งแพร่กระจายได้ง่ายเด็กจะมีอาการตาแดงเคืองตาน้ำตาไหลมีขี้ตามาก

  • โรคไข้เลือดออก

ที่มียุงลายเป็นพาหะในระยะแรกเด็กจะมีไข้สูงปวดเมื่อยมีจุดเลือดออกสีแดงตามร่างกายส่วนอีกระยะที่ต้องระวังคือช่วงที่ไข้ลดลงเพราะบางคนอาจเกิดภาวะช็อกได้และอาจมีอาการเลือดออกร่วมด้วยเช่นเลือดกำเดาไหลเลือดออกตามไรฟันอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการของลูกไว้ตลอดเมื่อมีอาการผิดปกติหรืออาการที่เข้าข่ายโรคเหล่านี้จะได้รับมือได้ทันที"

ระวัง! ซื้อยาให้ลูกเอง เสี่ยงทั้งดื้อยาและผลข้างเคียง

เมื่อลูกป่วยคุณพ่อคุณแม่บางคนก็ร้อนใจและไปซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมาให้กินซึ่งจริงๆแล้วโรคระบาดในเด็กส่วนใหญ่มากกว่า80–90% มักเกิดจากไวรัสที่ไม่มียารักษาเฉพาะยกเว้นบางโรคเช่นโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่“นอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ช่วยให้อาการของโรคจากไวรัสดีขึ้นยังอาจทำให้เกิดการดื้อยาในอนาคตหรือเกิดผลข้างเคียงจากยาสิ่งที่พ่อแม่ทำได้เมื่อลูกติดโรคเหล่านี้คือการดูแลตามอาการเช่นหากมีไข้ก็หมั่นเช็ดตัวและกินยาลดไข้และถ้าสังเกตเห็นอาการที่น่าเป็นห่วงก็รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีเพราะแต่ละโรคหากปล่อยไว้อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เกินอันตรายกับลูกของเราได้"พญ. สุธิดาชินธเนศอธิบาย

เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกก่อนโรคจะถามหา

อีกหนึ่งสิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกของเราติดโรคระบาดในช่วงนี้คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงตั้งแต่ต้นพญ. สุธิดาชินธเนศอธิบายต่อว่า"เริ่มจากให้เด็กกินอาหารให้ครบ5 หมู่โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดีส่วนเรื่องการนอนก็สำคัญเด็กๆควรเข้านอนไม่เกิน3-4 ทุ่มและนอนให้ได้อย่างน้อย8-10 ชั่วโมงต่อวันที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนซึ่งตอนนี้มีวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในเด็กเช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ควรฉีดทุกปีวัคซีนไข้เลือดออกที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและอาการรุนแรงได้และวัคซีนมือเท้าปากที่ป้องกันสายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดได้ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะช่วยให้ลูกหลานของเราปลอดภัยมากขึ้นในช่วงฤดูฝน"

“ไม่มีใครอยากให้ลูกเจ็บป่วยแต่ในวันที่เราเลี่ยงความเสี่ยงไม่ได้คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลเด็กๆให้ดีที่สุดให้เขาได้กินอาหารดีๆนอนพักผ่อนให้เพียงพอและถ้าเป็นไปได้แนะนำให้พาไปรับวัคซีนให้ครบถ้วนยิ่งช่วงหน้าฝนที่เชื้อโรคแพร่ระบาดง่ายแบบนี้เวลาไปโรงเรียนหรือสถานที่ที่มีคนเยอะแนะนำให้ลูกน้อยรักษาความสะอาดใช้ช้อนกลางฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์หรือล้างมือบ่อยๆและสวมใส่หน้ากากอนามัยนอกจากนี้พ่อแม่ก็ต้องคอยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยถ้าหากพบอาการเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติที่น่าเป็นห่วงจะได้พาไปพบแพทย์และสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที”พญ. สุธิดาชินธเนศกล่าวทิ้งท้าย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง