ส่องหุ้น"ได้-เสียประโยชน์" ปรับเกณฑ์ Free Float คำนวณดัชนี
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีแผนทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำ หลังจากที่ได้ทบทวนล่าสุดในปี 60 และมีแนวคิดปรับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการคำนวณดัชนี จากเดิมที่ใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการ คำนวณ (Full Maket Capialization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วย FreeFloat (Free Float Adjusted Market Capitalization) เพื่อให้ดัชนีสามารถสะท้อนสภาพการณ์ตลาดได้ดีมากขึ้น และเป็นไปในแนวทางเดียวกับสากล
ซึ่งเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยฉพาะในส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการคำนวณดัชนีโคยคำนึงถึงระดับ Free Float ของหุ้นแต่ละตัว ซึ่งจะทำให้ดัชนีนั้นไม่ปรับตัวผันผวนจนเกินไป และยังเป็นหลักกณฑ์ที่ใช้ในดัชนีสำคัญระดับโลก เช่น MSCI, FTSE, S&P เป็นต้น ทั้งนี้หากเกิดขึ้นจริงจะกระทบกับสมาชิกที่อยู่ในดัชนีปัจจุบันพอสมควร โดยเฉพาะดัชนีสำคัญ เช่น SET50 และSET 100
จากการศึกษาอ้างอิงกับราคาปิดของหุ้นแต่ละตัวเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาพร้อมกับสมมติฐานข้อมูลตำง ๆ พบว่า หุ้นที่คาดว่าจะได้รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากสุดหากมีการปรับเปลี่ยนวิธีคำนวณดัชนีใหม่ ได้แก่ BBL,SCC, SCB, KBANK, BDMS, INTUCH, CPALL, PTT, CPN, TISCO
หุ้นที่คาดว่าจะถูกลดน้ำหนักมากที่สุดคือ DELTA,AOT, GULF, ADVANC, GPSC, PTTEP, SCGP, AWC, BJC, CBG
นอกจากนี้จากการคำนวณพบว่า หุ้นที่มีโอกาสถูกลดน้ำหนักส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากในดัชนีปัจจุบัน ซึ่งหากนับเฉพาะ 10 ตัวแรกของดัชนี SET50 และ SET 100 พบว่าเกณฑ์ใหม่จะทำให้หุ้น 10ตัว นี้มีน้ำหนักรวมกันลดลงในดัชนี SET50 ลง 2.4% และ SET 100 ลง 2.5 % หมายความว่า ระหว่างทางที่จะไปคำนวณรอบใหม่นั้น หากนักลงทุนสถาบันบางส่วนตัดสินใจ ทยอยลดน้ำหนักหุ้นเหล่านี้ลง จะส่งผลให้ SET Index ปรับตัวลงโดยสุทธิได้ เนื่องจากยังเป็นช่วงของการคำนวณแบบ Full market cap อยู่ สอดคล้องกับผลการศึกษา Put-Call ratio ก่อนหน้านี้ โดย SET Index มืโอกาสปรับตัว Sideways down หลังจากนี้
สิ่งที่น่าสนใจก็คือตัวหุ้น OR ที่กำลังจะ IPO จะเข้าสู่ตลาดด้วย Free foat เพียงแค่ 22.5-25% เท่านั้น ดังนั้นหลัง OR ถูกบรรจุเข้าสู่ดัชนี SET 50 และ SET 100 ผ่านเกณฑ์ Fast track ในช่วงเดือนหน้า หากตลท.ปรับเปลี่ยนวิธีคำนวณดัชนีใหม่จริงจะทำให้ OR เป็นหนึ่งในหุ้นที่มีโอกาสลดน้ำหนักด้วยเช่นกัน
"มีความเป็นไปได้ต่ำที่ตลท. จะปรับเปลี่ยน Definition ของการคำนวณ Free-float ให้ไม่นับรวมผู้ถือหุ้นอื่นที่ไม่ใช่ Strategic shareholders ของบริษัท เนื่องจากเป็นอะ ไรที่ค่อนข้าง Subjectiveและอาจเป็นการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้การพิจารณานั้น ไม่หมาะสมและเกิด Bias ขึ้นได้
ทั้งนี้หากตลท. มีการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณดัชนี่เป็นรูปแบบ Free-float adjusted market cap จริงคาดว่าตลท.จะ ไม่ปรับเกณฑ์ Free float ขั้นต่ำของหุ้นในดัชนึ SET50 และ SET 100 ที่ 20% เนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาที่เบ็ดเสร็จไปแล้ว แต่หากสุดท้ายแล้วตลท. ตัดสินใจไม่ปลี่ยนวีธีการคำนวณดัชนี ซึ่งมองว่ามีโอกาสสูงที่ ตลท.จะปรับเกณฑ์ Free float ขั้นต่ำขึ้นได้ ซึ่งหากสมมติให้เกณฑ์ใหม่อยู่ที่ 25% จะมีต้วหุ้นที่มีความสี่ยงถูกตัดออกจากการคำนวณดัชนีรอบถัดไปโดยอัตโนมัติ หากสัดส่วนFree float ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากวันนี้ ได้แก่ BPP, ACE, DELTA, CKP,VGI, GPSC, AWC (เรียงตาม Free-float จากน้อยไปหามาก ) ซึ่งหากมีการปรับเกณฑ์ขั้นต่ำจริง อาจส่งผลกระทบไปถึงตัวหุ้น Market cap ขนาดใหญ่ที่มี Float ต่ำและเตรียมถูกคัดเลือกเข้าสู่ดัชนีในรอบถัดไปอย่างเช่น STARK อีกด้วย เนื่องจาก Free float อยู่เพียง 20.8% เท่านั้น
สำหรับหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงสุดไม่ว่าพิจารณาจากเกณฑ์ไหนก็คือตัวของ DELTA เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีน้ำหน้กในดัชนีสูงมาก พร้อมกับ Free float ที่ต่ำมากเช่นกัน หากถูกลดน้ำหนักจริง จะก่อให้เกิดแรงขายในระดับสูง จึงแนะนำหลีกเลี่ยงลงทุนในหุ้น DELTA ทุกกรณี ในทางกลับกัน หากเกณฑ์นี้ถูกนำมาใช้จริงกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยจากการคำนวณ พบว่า หุ้นธนาคารทั้งหมดในดัชนี SET50 จะมีน้ำหนักรวมกันในดัชนีเพิ่มขึ้น5.9% และ SET 100 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5.5%
อย่างไรก็ตาม การคำนวณดัชนีรูปแบบใหม่ หากเกิดขึ้นจริง อาจป็นปัจัยกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ Strategic shareholders มีแนวโน้ำมลดสัดส่วนการถือหุ้นลง และกระจายหุ้น ไปยังผู้ถือหุ้นรายย่อยมากขึ้น หากต้องการให้มีชื่อของบริษัทอยู่ในดัชนีสำคัญอย่าง SET50 และ SET100คาดว่า การปรับเปลี่ยนเกณฑ์การดัคเลือกหลักทรัพย์ หรือ วิธีการคำนาณดัชนีนั้น จะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนก.ค. ซึ่งเป็นรอบถัดไปของการจัดทำด้ชนี
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.comfacebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE